Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84560
Title: ความไว้วางใจของประชาชนในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย : กรณีศึกษา การให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี
Other Titles: People's trust in the work process of Damrongdhama center ministry of interior : a case study of service providing to the people of Damrongdhama center Pathum Thani province
Authors: จิรัชญา บุรุษพัฒน์
Advisors: ปกรณ์ ศิริประกอบ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2565
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความไว้วางใจของประชาชนในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม กระทรวงมหาดไทย: กรณีศึกษา การให้บริการประชาชนของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Methods) โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปและเคยใช้บริการของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 263 คนสำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างทำการสัมภาษณ์เชิงลึกจากประชาชนในจังหวัดปทุมธานีที่เคยใช้บริการศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี จำนวน 10 คน ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติการวิเคราะห์ความแตกต่างของค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวและการวิเคราะห์ถดถอยเชิงเส้นพหุ กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษาพบว่า ระดับความความไว้วางใจในการดำเนินงานของศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยปัจจัยส่วนบุคคล ด้านระดับการศึกษา และรายได้เฉลี่ยที่แตกต่างกันมีผลต่อระดับความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานี แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ประกอบกับปัจจัยด้านความซื่อสัตย์ การตอบสนอง ความน่าเชื่อถือ ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง และความเป็นธรรม ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 และปัจจัยที่ส่งผลต่อความไว้วางใจของประชาชนที่มีต่อศูนย์ดำรงธรรม จังหวัดปทุมธานีที่สำคัญมากที่สุด คือ ด้านการตอบสนอง (Beta = 0.299) รองลงมาคือ ด้านความน่าเชื่อถือ (Beta = 0.266) ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง (Beta = 0.232) ด้านความเป็นธรรม (Beta = 0.186) และด้านความซื่อสัตย์ (Beta = 0.130) ตามลำดับ ผู้วิจัยจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อเพิ่มการต่อยอดในการพัฒนาความไว้วางใจผ่านปัจจัย 5 ด้าน ได้แก่ 1.ด้านการตอบสนอง ควรเพิ่มเจ้าหน้าที่ให้พอเพียงกับปริมาณงาน 2.ด้านความน่าเชื่อถือ เจ้าหน้าที่ต้องมีองค์ความรู้และความชำนาญในการแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะความรู้ด้านกฎหมาย และเก็บข้อมูลของผู้มาร้องเรียนเป็นความลับ 3. ด้านการรับฟัง/เปิดกว้าง เจ้าหน้าที่ต้องมีความตั้งใจและเปิดกว้างรับฟังในทุกปัญหาความเดือดร้อน 4. ด้านความเป็นธรรม ปลูกฝังความเท่าเทียมทั้งในองค์กรและปฏิบัติภายใต้อำนาจหน้าที่อย่างยุติธรรม และ 5.ด้านความซื่อสัตย์ ปลูกฝังค่านิยมความซื่อสัตย์ในองค์กร ส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรปฏิบัติตามกฎ ระเบียบ ข้อบังคับขององค์กรอย่างเคร่งครัด
Other Abstract: This research the purpose of this study was to study the factors influencing people's trust in the Damrongtham Center Pathum Thani Province It is a mixed research method. The quantitative research used a questionnaire as a tool to collect data from a sample of people in Pathum Thani Province aged 18 years and over and had used the services of the Damrongtham Center Pathum Thani Province, 263 people and use qualitative research a semi-structured interview form was used to conduct in-depth interviews from 10 people in Pathum Thani Province who had used the Damrongtham Center service in Pathum Thani Province. In analyzing the data, Independent sample t-test, One-way ANOVA and Multiple Linear Regression Analysis. Statistical significance was set at the 0.05 level. The study found that level of trust in the operation of the Damrongdhama Center Pathum Thani Province as a whole was at a high level. Personal factors level of education and different average incomes affect the trust towards the Damrongtham Center Pathum Thani Province, the difference was statistically significant 0.05. And factors of Integrity, Responsiveness, Reliability, Openness and Fairness This affects the trust of the people in the Damrongtham Center Pathum Thani Province with statistical significance 0.05, the factors affecting public trust in the Damrongtham Center Pathum Thani province that was most important was response (Beta = 0.299), followed by Reliability (Beta = 0.266), Openness (Beta = 0.232), Fairness (Beta = 0.186). and Integrity (Beta = 0.130), respectively. The proposals for increasing trust through 5 factors 1. Responsiveness : Staff should be added to be sufficient for the amount of work 2. Reliability : Staff must have knowledge and expertise in problem solving. Especially law and keeping the information of the complainant confidential 3. Openness : Staff must be willing and open to Listening complains and feedback 4. Fairness : Cultivate equality in the organization and act fairly under authority and 5. Integrity : Cultivate the value of honesty in the organization. Encourage and support staff to strictly comply with rules and regulations.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2565
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84560
Type: Independent Study
Appears in Collections:FACULTY OF POLITICAL SCIENCE - INDEPENDENT STUDY

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6480022324.pdf1.89 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.