Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84721
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Relationship between online social media usage behaviors and self - care behaviors among the elderly in Bangkok
Authors: สุรัชฎา จิรสุจริตธรรม
Advisors: ศิริพงศ์ ปาลกะวงศ์ ณ อยุธยา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Issue Date: 2566
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานคร ผู้วิจัยเลือกใช้รูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลของผู้สูงอายุในกรุงเทพมหานครจำนวน 400 คน ทั้งในโรงเรียนผู้สูงอายุและช่องทางออนไลน์ จากนั้นจึงนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ SPSS โดยใช้สถิติการแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์ความแปรปรวน ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างผู้สูงอายุในกรุงเทพฯ ส่วนใหญ่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ คิดเป็นร้อยละ 93.8 และพบว่ามีระดับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองในระดับปฏิบัติบ่อยครั้ง ทั้งนี้เมื่อพิจารณาถึงความสัมพันธ์ระหว่างพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเอง ผลการวิเคราะห์พบว่าพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ ได้แก่ สถานที่ที่ใช้สื่อสังคมออนไลน์ ความถี่ในการใช้สื่อสังคมออนไลน์ และสื่อสังคมออนไลน์ที่นิยมใช้ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในส่วนของภูมิหลังทางประชากร พบว่า สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสิทธิในการรักษาพยาบาล มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ดังนั้นภาครัฐจึงควรให้ความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเกี่ยวกับการเตรียมการด้านสาธารณสุขออนไลน์ เพื่อส่งเสริมให้ผู้สูงอายุในสังคมเมืองของประเทศไทยซึ่งเป็นกลุ่มประชากรที่มีความเปราะบาง และมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพสามารถนำความรู้ด้านการดูแลสุขภาพตนเองไปปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง อีกทั้งการที่ผู้สูงอายุสามารถดูแลสุขภาพตนเองโดยเรียนรู้ผ่านการใช้สื่อสังคมออนไลน์ได้อย่างเหมาะสม ก็จะสามารถช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายของรัฐบาล และลดภาระงานที่หนักเกินไปของระบบสาธารณสุขได้เช่นกัน
Other Abstract: This research aims to investigate the relationship between online social media usage behaviors and self-care behaviors among the elderly in Bangkok. The researchers opted for a quantitative research approach, employing a questionnaire to collect data from 400 elderly individuals in Bangkok, including those in senior schools and online channels. Subsequently, the gathered data were analyzed using the statistical software SPSS, utilizing statistical methods such as frequency distribution, mean, percentage, standard deviation, Test for Difference of Means, and Analysis of Variance. The study results revealed that the majority of the elderly sample in Bangkok, approximately 93.8%, predominantly use online social media. Additionally, a frequent practice of self-care behaviors was found among this group. When considering the relationship between online social media usage behaviors and self-care behaviors among the elderly, the analysis showed that aspects such as the location of online social media use, the frequency of online social media use, and the preferred online social media platforms are statistically significant in relation to self-care behaviors. In terms of demographic backgrounds, it was found that factors such as marital status, occupation, average monthly income, and healthcare entitlement are statistically significant in relation to self-care behaviors among the elderly. Therefore, the government should place particular emphasis on preparing online public health initiatives to promote proper self-care practices among the elderly in the urban communities of Thailand, a population group that is vulnerable and at risk of health issues. This would enable the dissemination of accurate knowledge regarding self-care practices. Moreover, the ability of the elderly to take care of their health by learning through appropriate online social media usage can help reduce the financial burden on the government and alleviate the excessive workload on the public healthcare system.
Description: สารนิพนธ์ (รป.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
Degree Name: รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: รัฐประศาสนศาสตร์
URI: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84721
Type: Independent Study
Appears in Collections:FACULTY OF POLITICAL SCIENCE - INDEPENDENT STUDY

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
6482059024.pdf1.85 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.