Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8803
Title: | การใช้จีเอฟพีเป็นเครื่องหมายติดตามโพรไบโอติก Bacillus S11 ในกุ้งกุลาดำ Penaeus monodon |
Other Titles: | The use of green fluorescent protein (GFP) as a marker for monitoring a probiotic Bacillus S11 in black tiger shrimp Penaeus monodon |
Authors: | นิสา วงศ์ทางประเสริฐ |
Advisors: | ศิริรัตน์ เร่งพิพัฒน์ ธนาภัทร ปาลกะ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | sirirat@sc.chula.ac.th ptanapat01@yahoo.com |
Subjects: | โปรตีนเรืองแสงสีเขียว โพรไบโอติก กุ้งกุลาดำ |
Issue Date: | 2549 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ติดฉลาก BS11 ด้วยโปรตีนจีเอฟพีเพื่อใช้ในการติดตาม BS11 โดยการนำพลาสมิด pAD44-12 ที่มียืน gfpmut3a เข้าสู่คอมพีเทนท์ BS11 ด้วยวิธีอิเล็กโทรพอเรชัน ได้ BS11-GFP ซึ่งจะเห็นการเรืองแสงสีเขียวภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ หลังจากการเลี้ยง BS11-GFP ไป 50 รุ่น ในอาหารเหลวที่ไม่มียาปฏิชีวนะเป็นตัวคัดเลือก พบว่าความเสถียรของพลาสมิดใน BS11 เท่ากับ 77.85 เปอร์เซ็นต์ เมื่อผสม BS11-GFP ในอาหารกุ้งในอัตราส่วนเซลล์สดต่ออาหารกุ้ง เท่ากับ 1:3 ได้ปริมาณแบคทีเรียประมาณ 10[superscript 5] CFU/กรัม และเมื่อนำอาหารกุ้งไปตรวจดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์พบ BS11-GFP ซึ่งเป็นเซลล์ที่มีการเรืองแสงสีเขียว การเลี้ยงกุ้งด้วยอาหารที่ผสม BS11-GFP ในระดับบ่อปูนซีเมนต์ขนาด 400 ลิตร เป็นเวลา 9 สัปดาห์ พบว่าการเจริญของกุ้ง ปริมาณ BS11 ในน้ำและปริมาณ BS11 ในลำไส้ ไม่มีความแตกต่างจากกุ้งที่เลี้ยงด้วย BS11 แสดงว่ายีน gfpmut3a ไม่มีผลต่อคุณสมบัติของ BS11 และเมื่อตัดเนื้อเยื่อลำไส้กุ้งไปตรวจดูภายใต้กล้องจุลทรรศน์ฟลูออเรสเซนต์ พบ BS11-GFP ที่มีการเรืองแสงสีเขียวบริเวณผนังลำไส้กุ้งกุลาดำกลุ่มที่เลี้ยงด้วยอาหารผสม BS11-GFP แสดงว่า BS11-GFP แสดงว่า BS11-GFP สามารถอยู่รอดได้ในระบบทางเดินอาหาร และสามารถเข้าไปยึดเกาะกับผนังลำไส้กุ้งกุลาดำได้ |
Other Abstract: | A green fluorescent protein (GFP) expressing plasmid, pAD44-12 carrying gfpmut3a gene, was introduced into competent Bacillus S11 (BS11) by electroporation for labeling BS11 in order to allow in vivo detection. Electrotransformation of BS11 resulted in clone BS11-GFP which fluoresce green under fluorescence microscope. Plasmid stability, during approximately 50 generations of growth without antibiotic selection, was 77.85 percent. BS11-GFP was mixed into shrimp feed at the ratio of 1:3 (wet cell weight per shrimp feed) to get final concentration 10[superscript 5] CFU g[superscript -1] Detectability of green fluoresce cells under fluorescence microscope from BS11-GFP mixed-feed shrimp was observed. After feeding shrimp 3 times daily in 400 liters cement tanks for 9 weeks, average shrimp weight, number of BS11 in cultured water and in shrimp's gut showed no difference between BS11-GFP treatment and BS11 treatment. These results suggest that gfpmut3a gene has no effect on BS11 properties and shrimp growth. Sections of shrimp's intestines prepared by following the procedure of histological techniques were examined under fluorescence microscope. Detection of green fluoresce BS11-GFP on the surface of intestines demonstrated that BS11-GFP in shrimp feed survived and adhered on shrimp intestines' surface. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,2549 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีชีวภาพ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8803 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.726 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2006.726 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.