Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8844
Title: แนวคิดในการอนุรักษ์บนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบกายภาพเมือง : กรณีศึกษา บริเวณถนนข้าวสาร
Other Titles: Urban transformation as a basis for conservation concept : the case of Khaosarn road area
Authors: มนสินี อรรถวานิช
Advisors: ปิ่นรัชฎ์ กาญจนัษฐิติ
บัณฑิต จุลาสัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: kpinraj@chula.ac.th
cbundit@yahoo.com, Bundit.C@chula.ac.th
Subjects: ถนนข้าวสาร (กรุงเทพฯ)
สถาปัตยกรรม -- การอนุรักษ์และการบำรุงรักษา
Issue Date: 2549
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ถนนข้าวสาร ส่วนหนึ่งของเมืองเก่า กรุงรัตนโกสินทร์ ถนนที่มีความเป็นมาและประวัติศาสตร์อันยาวนาน จากแหล่ง ค้าข้าวสารของพระนคร เป็นที่ตั้งของวังเจ้านายจากการขยายวังหน้ามาทางด้านเหนือข้ามคลองเมืองเดิม เช่น กลุ่มวังสะพานเสี้ยว หรือวังในสมเด็จพระปิ่นเกล้าและบ้านข้าราชการ ด้วยทำเลที่ตั้งที่อยู่ใกล้วังหลวงและ แหล่งท่องเที่ยวในเมืองเก่า ทำให้บริเวณถนนข้าวสารมีการพัฒนาการเป็นแหล่งที่พักราคาถูกของนักท่องเที่ยว ชาวต่างชาติหรือที่เรียกกันว่า เกสต์เฮ้าส์ จนปัจจุบันถนนข้าวสารได้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของ นักท่องเที่ยวทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย สีสันและบรรยากาศในยามค่ำคืน แหล่งสถานบันเทิง ถนนคนเดิน ตรอกซอย และที่ว่างภายใน ได้กลายเป็นลักษณะเฉพาะของถนนข้าวสาร งานวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอ แนวคิดในการอนุรักษ์ถนนข้าวสาร ซึ่งเกิดจากการพัฒนาขึ้น จากพื้นฐานทางประวัติศาสตร์ของเมืองเก่า โดยเริ่ม จากการศึกษา หลักการ ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องกับการอนุรักษ์ การเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบกายภาพใน บริเวณพื้นที่ศึกษา จากแผนที่ในช่วงเวลาต่างๆ ร่วมกับข้อมูลทางประวัติศาสตร์รวมไปถึงการลงพื้นที่ในการ สำรวจ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาจากการวิเคราะห์การเปลียนแปลงองค์ประกอบกายภาพ รวมไปถึงวิเคราะห์ปัญหาของพื้นที่เพื่อนำมาสรุปเป็นแนวคิดในการอนุรักษ์พื้นที่บริเวณถนนข้าวสารบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบกาย ภาพเมือง ผลการวิจัยพบว่า การเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบกายภาพของพื้นที่ มีการเปลี่ยนแปลงการสัญจรจากทางน้ำ เป็นทางบก องค์ประกอบทางด้านอาคารที่มีการรื้อถอนเป็นรูปแบบของอาคารสมัยใหม่ อาคารเก่าที่ยังคงอยู่ใน พื้นที่และการแบ่งแปลงที่ดินจากแปลงที่ดินขนาดใหญ่เป็นแปลงที่ดินขนาดเล็ก การศึกษาทำให้พบองค์ประกอบที่มี ความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ส่วนการเปรียบเทียบแผนที่ในแปลงที่ดินทำให้พบรูปแบบการเปลี่ยนแปลง องค์ประกอบกายภาพ ที่ส่งผลให้ถนนข้าวสารมีลักษณะเฉพาะตัว การเสนอแนวคิดในการอนุรักษ์ถนนข้าวสาร จึงพิจารณาบนพื้นฐานการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบกายภาพบริเวณถนนข้าวสาร เป็นแนวคิดในการยอมรับความ เปลี่ยนแปลงของเมืองในปัจจุบันเพื่อรักษาคุณค่าที่เกิดขึ้นและบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ของพื้นที่ โดยการ ศึกษานี้มุ่งหวังให้เป็นประโยชน์ในการนำไปใช้กับพื้นที่อื่นๆ ที่มีการเปลี่ยนแปลงในลักษณะใกล้เคียงกับบริเวณ ถนนข้าวสารได้ต่อไปและเพื่อรักษาองค์ประกอบกายภาพในฐานะเมืองเก่ารัตนโกสินทร์
Other Abstract: Khaosarn Road, in Rattanakosin, is an area with a long historical development. In the past, Khaosarn Road was the main rice commerce centre of old Bangkok. There were many groups of royal residences situated on this ancient road. for example Wang Sapan Seaw, which was constructed after the city was expanded north across the old city moat. During the reing of King Rama IV, this road was also the site of government officials' residences. As time past, because of the area is situated near th Royal Palace and famous tourist sites, Khaosarn Road has become an area for two-cost guesthouses for foreign tourist. It is presently known as being a night life distric in Bangkok as well as other entertainment activities. The walking street, small alleys and open spaces between buildings contribute to the unique charactistics of Khaosarn Road. The aim of this study is to propose a conservation concept for Khaosarm Road area based on the physical transformation of the urban structure. The research started from the study of conservation theories and the study of the physical changes of the area from maps of different periods, as well as historic data, and site survey. The accumulated data in terms of urban transformatiom is analyzed and problems of the case study are identified. Finally, the conservation of the Khaosarn Road area on the basis of urban transformation is proposed The research findings suggest that the physical changes of khaoarn Road have been based on its own original topography. Transportation has changed from the water based to land based. The old buildings have been demolished and rebuilt in newer styles and the large land blocks were divided into small blocks. This study indicates singificant historic elements. The urban transformation within these land blocks leads to an understanding of the unique characteristic of Khaosarn Road. The proposed conservation concept and guidelines are based on the transformation and will promote the value and identity of the area of Khaosarn Road. The concept of conservation is to accept modern development and to integrate the development into the existing historical fabric.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2549
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8844
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2006.132
ISBN: 9741426178
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2006.132
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Monsine.pdf10.75 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.