Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8867
Title: ตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ในอดีตของประเทศไทย : หลักฐานจากการประยุกต์ใช้ภาพดาวเทียมและสภาวะสนามแม่เหล็กบรรพกาล บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย : รายงานผลการวิจัย
Other Titles: Paleogeographical location of Thailand : evidences from Landsat and paleomagnetic syntheses, northern part of NE Thailand
Authors: ปัญญา จารุศิริ
สุวภาคย์ อิ่มสมุทร
วิโรจน์ ดาวฤกษ์
รัศมี สุวรรณวีระกำจร
สงัด พันธุ์โอภาส
Email: cpunya@chula.ac.th
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
ไม่มีข้อมูล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์
มหาวิทยาลัยขอนแก่น. คณะวิทยาศาสตร์
ไม่มีข้อมูล
Subjects: หิน -- อายุ
ภาวะแม่เหล็กบรรพกาล
ภูมิศาสตร์บรรพกาล
ภูทอก (หนองคาย)
ภูวัว (หนองคาย)
ภูพาน (หนองบัวลำภู)
ภูพานคำ (หนองบัวลำภู)
ภูผาผึ้ง (กาฬสินธุ์)
บ้านห้วยลาด (ขอนแก่น)
บ้านห้วยตาดฟ้า (ขอนแก่น)
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ; กองสำรวจทรัพยากรธรรมชาติด้วยดาวเทียม
Abstract: ตัวอย่างหินจำนวน 446 ตัวอย่างของกลุ่มหินโคราชที่ใช้ศึกษาลักษณะสนามแม่เหล็กบรรพกาลเพื่อหาตำแหน่งที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ละติจูดโบราณในช่วงมหายุคเมโสโซอิกได้จากพื้นที่ศึกษาย่อย 4 พื้นที่ในเขตที่ราบสูงโคราช ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย โดยการเลือกพื้นที่ในการเก็บตัวอย่างได้จากการใช้ข้อมูลโทรสัมผัสซึ่งบ่งชี้ถึงแนว lineament ที่มีผลต่อการเก็บตัวอย่างในแต่ละพื้นที่ฯ ผลการศึกษาทางศิลาวรรณาโดยใช้แผ่นหินขัดจำนวน 40 แผ่นพบว่า กลุ่มแร่ที่เก็บแม่เหล็กปฐมภูมิพบเป็น matrix ในเนื้อหิน ได้แก่เม็ดแร่ฮีมาไทต์ แมกนีไทต์และอิลเมไนต์ และกลุ่มแร่ที่เก็บแม่เหล็กทุติยภูมิพบเป็นตัวเชื่อมประสานในเนื้อหิน ได้แก่ผลึกแร่เกอไทต์และฮีมาไทต์ทุติยภูมิ ตัวอย่างจำนวน 382 ตัวอย่างแสดงค่า NRM > 0.6 mA/m ซึ่งเพียงพอที่จะนำไปเผาตัวอย่าง ณ อุณหภูมิตั้งแต่ 100° – 730° C และภายหลังการเผาตัวอย่างด้วยความร้อนสามารถสรุปได้ว่าลักษณะของสนามแม่เหล็กปฐมภูมิมีทิศทางอยู่ในแนว NE-SW ถูกทำลายเมื่อเผาถึงอุณหภูมิที่ 350° – 550° C หรือมากกว่า 600° C 202 ตัวอย่างที่มีค่ายอมรับได้ใช้ในการคำนวณทิศทางสนามแม่เหล็กเฉลี่ยของหมวดหินต่างๆ ในกลุ่มหินโคราช ให้ค่ามุมเบี่ยงเบนที่ใกล้เคียงกันคือ 29.6° – 31.8° C และให้ค่ามุมเอียงเทต่างกันเล็กน้อย ซึ่งอยู่ระหว่าง 27.1° – 39.6° C ซึ่งสามารถหาค่าเฉลี่ยของ VGPs pole ของกลุ่มหินโคราชอายุไทรแอสซิกตอนต้นถึงครีเตเชียสอยู่ที่ละติจูดประมาณ 58.7° – 61.6° N และลองจิจูดประมาณ 176.9°- 192.7° E และมีค่าละติจูดโบราณประมาณ 14.4° - 22.5° N ข้อมูลทั้งหมดแปลความหมายได้ว่าภายหลังจากยุคเพอร์เมียน ประเทศไทยได้เคลื่อนที่ขึ้นมาจากเส้นศูนย์สูตรอย่างรวดเร็ว โดยมีแนววางตัวเบี่ยงเบนทวนเข็มนาฬิกาไปจากปัจจุบัน 29° - 31° C จนอยู่ในละติจูดประมาณ 15° - 16° N ในยุคไทรแอสซิกตอนปลาย และที่ละติจูด 22° - 23° N ในยุคจูแรสซิกตอนกลาง ต่อมาประเทศไทยค่อยๆ เลื่อนลงไปตามรอยเลื่อน Red River Fault จนถึงละติจูดประมาณ 14° - 16° N ในยุคครีเทเซียสตอนกลางและเคลื่อนไหวในบริเวณแคบๆ จนถึงปัจจุบัน
Other Abstract: The 446 paleomagnetic samples are used to determine the paleolatitude of Thailand during Mesozoic Era. They were collected from 4 separated areas within the northern part of the Khorat Plateau, Northeastern Thailand. Those areas were carefully selected by using remote sensing interpretation particularly in locating the lineament lines that can affect the collection of samples. The petrographic study of 40 polish-sections indicated the primary magnetism filled in hematite, magnetite and ilmenite grains which belong to matrix in rock texture whereas the secondary magnetism is observed in goethite and secondary hematite which form cementing material. There are 382 samples which have enough natural remanent magnetism value (NRM > 0.6 mA/m) for the treatment by thermal demagnetization at the range of 100° – 730° C. The results indicated the NE-SW direction of primary magnetism which were destroyed within the range of 350° – 550° C or up to 600° C. For the calculation of the magnetic direction of each formation of the Khorat Group, 202 samples were selected to analyses. The mean declination and inclination are obtained at about 29.6° – 31.8° C and 27.1° – 39.6° C respectively. The results are further calculated to VGPs of the Triassic to Cretaceous of Khorat Group yielding an average of 58.7° – 61.6° N, 176.9°- 192.7° E and the paleolatitude obtained is fluctuated from 14.4° to 22.5° N. The results of the studies indicated that since Permian, Thailand rapidly moved from the equater northwards and were declined from the present position at 29° - 31° C. Continuously, it had moved to the latitude of 15° - 16° N in Late Triassic and later on to 22° - 23° N in Middle Jurassic. After that, Thailand moved downwards along the Red River Fault to the latitude of 14° - 16° N during Lower Cretaceous and had a slight fluctuated movement in this place till present time.
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8867
Type: Technical Report
Appears in Collections:Sci - Research Reports

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Punya_pal.pdf12.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.