Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8897
Title: เอกสารในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรม
Other Titles: Documentation on architectural design service
Authors: ทยาพร จีรชัยมงคล
Advisors: ไตรวัฒน์ วิรยศิริ
พรพรหม แม้นนนทรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์
Advisor's Email: vtraiwat@chula.ac.th
pornprom.m@chula.ac.th
Subjects: การออกแบบสถาปัตยกรรม
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เอกสารในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรม เป็นเครื่องมือที่สถาปนิกใช้ติดต่อสื่อสารกับเจ้าของโครงการ และผู้เกี่ยวข้องในโครงการ แต่เอกสารที่มีอยู่ในปัจจุบันมีความหลากหลายตามความเข้าใจของสถาปนิกบางครั้งทำให้เกิดปัญหาในการทำงาน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพและปัญหาเกี่ยวกับเอกสารในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมของสำนักงานสถาปนิกในประเทศไทย โดยอาศัยข้อมูลทุติยภูมิจากเอกสารงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเอกสารในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมของประเทศไทยและสากล และข้อมูลปฐมภูมิจากการสัมภาษณ์กลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง โดยแบ่งเป็น 3 กลุ่ม คือ 1) สำนักงานขนาดเล็ก บุคลากรน้อยกว่า 15 คน 2) สำนักงานขนาดกลาง บุคลากร 15-30 คน 3) สำนักงานขนาดใหญ่ บุคลากรมากว่า 30 คน และจึงทำการสรุปรายการเอกสารที่ควรจัดทำ จากการศึกษาสรุปได้ว่า เอกสารในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมของสำนักงานสถาปนิกไทยในปัจจุบัน แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) เอกสารในการดำเนินโครงการ (Project Document) ได้แก่ เอกสารสัญญา เช่น เอกสารเสนอแผนงาน สัญญาว่าจ้างออกแบบ เอกสารการติดต่อสื่อสาร เช่น บันทึกข้อความ จดหมาย โทรสาร E-mail ฯลฯ เอกสารการบริหารโครงการ เช่น แผนการทำงาน บันทึกความก้าวหน้าของงาน ฯลฯ และเอกสารการเงิน เช่น ใบเบิกจ่าย บันทึกค่าใช้จ่ายและเวลาในการทำงาน ฯลฯ 2) เอกสารในการออกแบบ (Design Document) ได้แก่ ข้อมูลเพื่อการออกแบบ เช่น สรุปความต้องการลูกค้า รายละเอียดโครงการ ข้อมูลที่ตั้งโครงการ ฯลฯ และผลงานการออกแบบ เช่น แบบร่างในขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ แปลน รูปด้าน รูปตัด ทัศนียภาพ ฯลฯ แบบก่อสร้างและรายการประกอบแบบ การจัดทำเอกสารในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรมของแต่ละสำนักงานมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้ 1) โครงการ ได้แก่ ประเภท ขนาดและงบประมาณ และที่ตั้งโครงการ 2) เจ้าของโครงการ ได้แก่ ลักษณะ เป้าหมาย ประสบการณ์ความรู้ วิธีการทำงานของเจ้าของโครงการและความสัมพันธ์ของเจ้าของโครงการกับสถาปนิก 3) สำนักงานสถาปนิก ได้แก่ ขนาด ลักษณะและวิธีการทำงาน ประสบการณ์ความรู้ความสามารถ และทรัพยากรภายในสำนักงาน 4) ปัจจัยอื่นๆ ได้แก่ รูปแบบการจ้างความต้องการที่จะได้งาน จำนวนผู้ที่เกี่ยวข้องกับโครงการ เป็นต้น ซึ่งเอกสารในการออกแบบจะขึ้นอยู่กับขนาดและประเภทของโครงการ แต่เอกสารในการบริหารโครงการขึ้นอยู่กับขนาดสำนักงานหรือขนาดโครงการ โดยสำนักงานหรือโครงการขนาดใหญ่จะมีเอกสารในการบริหารโครงการมากกว่าสำนักงานหรือโครงการขนาดเล็ก ข้อเสนอแนะควรให้องค์กรวิชาชีพจัดทำคู่มือเอกสารในการให้บริการออกแบบสถาปัตยกรรม ทั้งเอกสารในการออกแบบและเอกสารในการดำเนินโครงการ และเผยแพร่ให้แก่สถาปนิกทั้งหลายนำไปใช้ เพื่อพัฒนามาตรฐานการปฏิบัติวิชาชีพให้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: In architectural design service, Documentation is a tool architects use to communicate with the project owners and those related. However, various forms of documentation are used, depending on the architects' understanding, which can cause problems. The objective of this study was to investigate the state and problems of documentation on architectural design service of the Architect's offices in Thailand. The study was carried out using two kinds of data: secondary source data obtained from local and international papers and research studies and primary source data collected from interviews with purposefully selected subjects. The subjects can be divided into three groups: 1) small offices with fewer than 15 people, 2) medium offices with 15-30 people, and 3) large offices with more than 30 people. After analyzing the two sources of data, a list of items to be included in the documentation was made. The findings revealed that there were two kinds of documentation on architectural design service. The first was project documents, which include contracts such as proposals and hiring contracts, correspondence such as memos, letters, faxes, and E-mail, administration documents such as work schedules and progress reports, and finance documents such as invoices and expense and time record reports. The second kind of documentation was design documents, which include information for designing such as client’s briefs, programming, site information, and designing work such as floor plans, elevation, section, perspective, and so on. Furthermore, the findings showed that different offices prepared documentation on architectural design service differently depending on several factors: 1) projects (type, size, budget, and location), 2) project owners (characteristics, goals, experience and knowledge, working style, and the relationship between the project owner and the architect). 3) architects' offices (size, working style, experience, knowledge and expertise, and office resources), and 4) other factors including contract types, architects' motivation to get the contract, and the number of involved parties in the project and so on. The preparation of design documents was found to depend on the project size and type while project documents depended on the office size or the project size. More project documents were prepared in larger offices of for bigger projects than in smaller offices or for smaller projects. The findings suggest that a professional organization should circulate a handbook describing what design documents and project documents should be prepared in order to create a professional standard for architects to follow.
Description: วิทยานิพนธ์ (สถ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถาปัตยกรรม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8897
ISBN: 9745328332
Type: Thesis
Appears in Collections:Arch - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
thayaporn.pdf3.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.