Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8950
Title: การควบคุมเวอร์ชันของข้อมูลเชิงวัตถุในระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงวัตถุสัมพันธ์
Other Titles: Version control of data objects in an object-relational database management system
Authors: จารุวรรณ สุขุมลักษณ์
Advisors: จารุมาตร ปิ่นทอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: pinthong@cp.eng.chula.ac.th
Subjects: ฐานข้อมูลเชิงวัตถุ
ฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์
การจัดการฐานข้อมูล
การควบคุมเวอร์ชัน
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมีการนำข้อมูลหลายประเภทมาใช้ในระบบสารสนเทศ รวมทั้งเอนทิตีที่มีหลายค่าหรือหลายเวอร์ชัน โดยสามารถเลือกใช้งานเวอร์ชันใดของเอนทิตีก็ได้ตามต้องการ ถ้านำแนวคิดของฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ซึ่งแพร่หลายในปัจจุบันมาใช้ จะได้ฐานข้อมูลที่ซับซ้อนยากต่อการพัฒนาและดูแลระบบ วิทยานิพนธ์นี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อออกแบบและพัฒนากลไกในการเก็บและใช้งานเวอร์ชันข้อมูลเชิงวัตถุบนระบบจัดการฐานข้อมูลเชิงวัตถุสัมพันธ์ โดยการนำแนวคิดเชิงวัตถุและแนวคิดเกี่ยวกับเวอร์ชันมาประยุกต์ใช้สามารถกำหนดโครงสร้างความสัมพันธ์ของข้อมูลในระบบงานดังกล่าวได้ในรูปโครงสร้างลำดับชั้นของต้นไม้ที่เจาะจงเฉพาะความสัมพันธ์แบบคอมโพซิชัน งานวิจัยนี้กำหนดให้ใช้ตัวระบุออบเจคต์ในการเข้าถึงข้อมูลของออบเจคต์ และตัวระบุเวอร์ชันในการเข้าถึงข้อมูลของเวอร์ชัน รวมทั้งระบุว่าเวอร์ชันนั้นเป็นของออบเจคต์ใด และได้เสนอแบบจำลองข้อมูลเชิงวัตถุที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ สกีมาออบเจคต์ของระบบงานวิจัยและสกีมาออบเจคต์ที่ผู้ใช้นิยาม การพัฒนาระบบงานทำโดยใช้ซอฟต์แวร์เจเดฟเวอลอปเปอร์ เวอร์ชัน 3.0 ร่วมกับระบบปฏิบัติการฐานข้อมูลเชิงวัตถุสัมพันธ์ออราเคิล เวอร์ชัน 8.1.6 โปรแกรมของระบบงานสนับสนุนฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ที่เกี่ยวกับการเก็บเวอร์ชันข้อมูลเชิงวัตถุของกระบวนการออกแบบในฐานข้อมูล เช่น ฟังก์ชันในการกำหนดลำดับชั้นโครงสร้างต้นไม้ของโครงงานหนึ่งๆ ฟังก์ชันสำหรับกำหนดคุณลักษณะทางโครงสร้างของคลาสที่ผู้ใช้นิยามฟังก์ชันในการสร้างหรือดรอปคลาสที่ผู้ใช้นิยมในฐานข้อมูล ฟังก์ชันการแทรกแถวข้อมูล การแก้ไขค่าข้อมูลและการลบข้อมูลจากคลาสที่ผู้ใช้นิยาม ฟังก์ชันเกี่ยวกับการกำหนดเวอร์ชันของออบเจคต์ และฟังก์ชันที่แสดงโครงสร้างความสัมพันธ์แบบคอมโพซิชันของแต่ละโครงงาน เป็นต้น ระบบงานที่พัฒนาขึ้นนี้สามารถเก็บเวอร์ชันข้อมูลได้ 9,999,999,999,999 เวอร์ชัน จากการทดสอบระบบงานวิจัยโดยใช้ตัวอย่างข้อมูลของการแต่งหนังสือ พบว่า แต่ละโครงงานจะประกอบด้วยลำดับชั้นโครงสร้างต้นไม้จำนวนเท่าไรก็ได้ และออบเจคต์รวมอาจประกอบด้วยออบเจคต์ย่อยจากต่างระดับกันหรือระดับเดียวกัน โดยออบเจคต์รวมต้องอยู่ในระดับชั้นที่สูงกว่าออบเจคต์ย่อย และออบเจคต์การออกแบบต้องอยู่ระดับที่ 1 ของโครงสร้างต้นไม้
Other Abstract: At present, many kinds of data are used in information systems, including data entities with multiple values or versions. A version of an entity can be selected for used by a user as required. However, maintaining versions of entities using the widely accepted relational database concept may result in a database that is both complex and difficult to maintain. The objective of this thesis is to design and develop a mechanism for storing and accessing versions of data objects in an ORDBMS. Using concepts of objects and versions, this thesis focuses on the composition relationship between data objects which is represented as a tree. In this model, an object identification specifies a data object to be accessed and a version identification indicates the version of a particular object. The model comprises 2 schemas: schema of system objects and schema of user-defined objects. An implementation is developed using JDeveloper version 3.0 with Oracle ORDBMS release 8.1.6 and provides several functions for storing versioned objects of a design process. The functions include specifying the depth of the tree for a particular design project, defining the structure for user-defined classes, creating or dropping a user-defined class, inserting, updating, or deleting a data object, creating a new version of an object, and viewing of the composition hierarchy. This implementation can accommodate for 9,999,999,999,999 data versions. The system has been tested with an example of a book composition project. The project can be modeled as a tree of any depth. A composite object may contain either other composite objects or elementary objects of a lower lever. The object representing the project must be at the first level of the tree.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8950
ISBN: 9743470034
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jaruwan.pdf19.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.