Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8974
Title: | การแสวงหาข่าวสาร ทัศนคติและพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพฯ |
Other Titles: | Information-seeking, attitudes and Bangkok's consumer behavior of health products |
Authors: | อัญชนี วิชยาภัย บุนนาค |
Advisors: | ปาริชาต สถาปิตานนท์ สโรบล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | Parichart.S@chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสาร สุขภาพ ผลิตภัณฑ์สุขภาพ พฤติกรรมผู้บริโภค การแสวงหาสารสนเทศ |
Issue Date: | 2540 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | ศึกษาพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของผู้บริโภคในกรุงเทพฯ กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 450 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และค่าความแปรปรวนแบบทางเดียว ซึ่งประมวลผลโดยใช้คอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคส่วนใหญ่มีทัศนคติเป็นกลางต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ และมีพฤติกรรมการบริโภคในระดับต่ำ โดยผู้บริโภคเห็นว่าผลิตภัณฑ์มีความสะดวกและมีประโยชน์ต่อสุขภาพ แต่ยังจัดเป็นสิ่งที่ฟุ่มเฟือย และเกินจำเป็น และอาจมีความเสี่ยงจากการบริโภค ผลิตภัณฑ์ที่มีการบริโภคมากที่สุดคือ วิตามิน อาหารเสริมและเครื่องสำอางต่างๆ ผู้บริโภคส่วนใหญ่ซื้อสินค้าเพื่อบริโภคเอง และมีจำนวนไม่น้อยที่ได้รับเป็นของขวัญ เศรษฐกิจมีผลต่อการตัดสินใจซื้อของผู้บริโภค ในด้านการแสวงหาข่าวสาร ผู้บริโภคส่วนใหญ่แสวงหาข่าวสารในระดับต่ำ โดยนิยมแสวงหาข่าวสารจากสื่อมวลชนและบริโภคข่าวสารประเภทใกล้ตัวมากที่สุด ผลการทดสอบสมมติฐานปรากฏดังนี้ 1. พฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพแตกต่างกันตามลักษณะประชากร ได้แก่ เพศ อาชีพ รายได้ และระดับการดูแลสุขภาพ แต่ไม่แตกต่างกันตามอายุ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา และสถานะสุขภาพ 2. การกระทำกิจกรรมที่ส่งเสริมสุขภาพ ได้แก่ การบริโภคอาหาร การพักผ่อน การออกกำลัง และพฤติกรรมสุขภาพอื่นๆ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 3. ทัศนคติต่อผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ 4. การแสวงหาข่าวสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ ได้แก่ ข่าวสารประเภทวิชาการ การค้า บันเทิงและใกล้ตัว และสื่อประเภทสื่อมวลชน สื่อบุคคลและสื่ออื่นๆ มีความสัมพันธ์ในเชิงบวกกับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยข่าวสารใกล้ตัวและสื่ออื่นๆ มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพสูงที่สุด |
Other Abstract: | To study Bangkok's consumer behavior of health products. Questionnaires were used to collect the data from a total of 450 samples. Frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson product-moment correlation coefficient, and one-way analysis of variance (ANOVA) were employed to analyze data. SPSS programme was used for data processing. It was found that most consumers have neutral attitudes towards health products and have low level consumer behavior. They think health products are practical, good for health but rather risky and unnecessary. Vitamins, health food, and cosmetics are most consumed products. More than half of the consumers buy products for themselves and some receive them as gift. Economic conditions have an effect upon their purchasing decision making. Besides, consumers have low level information-seeking ; they seek information mostly from mass media and consume mostly familiar news. The results of hypothesis testing are as follows : 1. Sex, profession, income level and health care level significantly different effect on consumer behavior of health products. However, other factors as age, marital status, education level, and health status do not have significantly different effect on consumer behavior of health products. 2. Health-promoting lifestyles : food taking, rest, exercise and other health behavior are positively correlated with consumer behavior of health products. 3. Attitudes toward health products are positively correlated with consumer behavior of health products. 4. Information-seeking, through academic, entertainment, advertising and familiar news, and through mass media, interpersonal and other related media, is positively correlated with consumer behavior of health products. Familiar news and other related media are mostly correlated with consumer behavior of health products. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตรพัฒนาการ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8974 |
ISBN: | 9746388045 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Anchanee_Vi_front.pdf | 963.61 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchanee_Vi_ch1.pdf | 841.95 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchanee_Vi_ch2.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchanee_Vi_ch3.pdf | 794.63 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchanee_Vi_ch4.pdf | 993.05 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchanee_Vi_ch5.pdf | 946.22 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Anchanee_Vi_back.pdf | 1.04 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.