Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8995
Title: ผลของการฝึกด้วยการใช้น้ำหนักต่อสมรรถภาพอนากาศนิยม และสมรรถภาพด้านความอดทนในพลทหารเรือ
Other Titles: Effects of weight training on anaerobic and endurance performance in the seamen
Authors: เฉลิม รุ่งโรจน์
Advisors: ชาญวิทย์ โคธีรานุรักษ์
สมพล สงวนรังศิริกุล
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: kcharnvit@hotmail.com
Sompol.S@Chula.ac.th
Subjects: การฝึกกำลังกล้ามเนื้อ
กำลังกล้ามเนื้อ
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาผลของการฝึกกล้ามเนื้อด้วยการใช้น้ำหนักเป็นเวลา 10 สัปดาห์ในกลุ่มนักเรียนจ่าทหารเรือ เหล่าแพทย์ เพศชาย อายุ ระหว่าง 18-20 ปี จำนวน 49 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่าง แบ่งกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง (N = 27) และกลุ่มควบคุม (N = 22) จากการทดลอง พบว่าค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดที่ร่างกายยังออกกำลังกายได้ โดยไม่เกิดการสะสมของกรดแลคติค ค่าความทนทานจากการปั่นจักรยาน ค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ค่าพลังแบบแอนแอโรบิค และค่าสมรรถวิสัยแบบแอนแอโรบิค หลังการฝึกมีค่าสูงกว่าก่อนฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.01, P<0.01, P<0.001, P<0.01 และ P<0.01 ตามลำดับ) และไม่มีผลทำให้ค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดเกิดการเปลี่ยนแปลง ส่วนกลุ่มควบคุมไม่มีการเปลี่ยนแปลง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในทุกพารามิเตอร์ที่ศึกษา ค่าความทนทานจากการปั่นจักรยานที่เพิ่มขึ้น มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของค่าความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา ค่าพลังแบบแอนแอโรบิค ค่าสมรรถวิสัยแบบแอนแอโรบิค และค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดที่ร่างกายออกกำลังได้ โดยไม่เกิดการสะสมของกรดแลคติค (P<0.01) จากการศึกษาครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การฝึกกล้ามเนื้อขาด้วยการใช้น้ำหนักมีผลต่อการเพิ่มขึ้น ของสมรรถภาพอนากาศนิยม และสมรรถภาพด้านความอดทน และค่าความทนทานจากการปั่นจักรยานที่เพิ่มขึ้น ไม่อยู่ภายใต้การเปลี่ยนแปลงของค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุด แต่ปรากฏว่า มีความสัมพันธ์กับการเพิ่มขึ้นของ ค่าอัตราการใช้ออกซิเจนสูงสุดที่ร่างกายออกกำลังได้ โดยไม่เกิดการสะสมของกรดแลคติค ค่าพลังแบบแอนแอโรบิค ค่าสมรรถวิสัยแบบแอนแอโรบิค และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อขา
Other Abstract: To determine the effects of 10 weeks of weight training, 49 healthy men of Thai Naval Medical students between 18-20 year of age were randomly assigned to either weight training (N = 27) or control (N = 22) group. Despite no changes in maximal aerobic consumption (VO2max.), but significant increase in anaerobic threshold (AT), cycle time to exhausion at 95% VO2max., leg strength (one repetitive maximum), anaerobic power (AP), and aerobic capacity were observed following training (P<0.01, P<0.01, P<0.001, P<0.01, and P<0.01, respectively). No significant change in all parameter were observed in the control group. The improved cycle endurance performance was associated with increase in leg strength, AP, AC, and AT. (P<0.01) These finding indicated that weight training improve anaerobic performance and endurance performance. This improved cycle performance appears to be related to increase in AT, AP, AC, and leg strength.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สรีรวิทยา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/8995
ISBN: 9746386352
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chalerm_Ru_front.pdf864.3 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ru_ch1.pdf796.67 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ru_ch2.pdf1.13 MBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ru_ch3.pdf802.78 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ru_ch4.pdf761.83 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ru_ch5.pdf719.1 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ru_ch6.pdf727.51 kBAdobe PDFView/Open
Chalerm_Ru_back.pdf1.46 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.