Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9015
Title: การนำเสนอระบบการฝึกอบรมสำหรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนตะวันออกในอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ
Other Titles: A proposed training system for tambon training unit of Sangha eastern region, supported by Department of Religious Affairs, Ministry of Education
Authors: อนุทิน อินทร์งาม
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: การฝึกอบรม
หน่วยอบรมประชาชนประจำตำบล
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพ ปัญหาและความต้องการของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนตะวันออก ในอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ 2. ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับระบบการฝึกอบรมสำหรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนตะวันออก ในอุปถัมภ์ของกรมการศาสนากระทรวงศึกษาธิการ 3. เพื่อนำเสนอระบบการฝึกอบรมที่มีความเหมาะสมสำหรับหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนตะวันออก ในอุปถัมภ์ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ คณะกรรมการ 150 คน ประชาชน จำนวน 500 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านการฝึกอบรมจำนวน 19 คน ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้เทคนิคเดลฟายจำนวน 3 รอบ วิเคราะห์ข้อมูลแบบสอบถามด้วยการหาค่าร้อยละ ค่ามัธยฐานและค่าพิสัยระหว่างควอไทล์ ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนตะวันออกในปัจจุบันพบว่า การดำเนินงานฝึกอบรมยังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประชาชนสามารถนำความรู้ที่ได้จากการอบรมในเรื่องต่างๆ โดยเฉพาะการอบรมเรื่องศีลธรรมจริยธรรม การอบรมเรื่องอาชีพ การปลูกพืชสมุนไพร การทำเครื่องทองเหลือง ฯลฯ ไปใช้ประโยชน์ได้ แต่ยังพบปัญหาอยู่ คือ การขาดงบประมาณในการจัดดำเนินการ การขาดระบบในการดำเนินงานฝึกอบรม ประชาชนมีความต้องการ คือ ต้องการงบประมาณเพิ่มขึ้น และต้องการระบบในการดำเนินงานที่ชัดเจน เพื่อให้การฝึกอบรมมีประสิทธิภาพบรรลุตามวัตถุประสงค์ในการจัดตั้ง 2. ระบบการฝึกอบรม ของหน่วยอบรมประชาชนประจำตำบลของคณะสงฆ์หนตะวันออกที่ได้ ประกอบด้วยองค์ประกอบ 7 องค์ประกอบ คือ (1) ปรัชญา ปณิธาน และนโยบายการฝึกอบรมโดยมุ่งให้ ประชาชนมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นส่งเสริมอาชีพในท้องถิ่น ให้สามารถใช้ชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขและสามารถพึ่งพาตนเองได้ (2) ผู้เข้าอบรม ได้แสดงความต้องการจำเป็นในการฝึกอบรมว่า ต้องการความรู้ในเรื่องใด และไม่ควรจำกัดคุณลักษณะผู้เข้าอบรมแต่ควรจัดให้สำหรับทุกคน (3) วัตถุประสงค์การฝึกอบรม เน้นในด้านการส่งเสริมและฟื้นฟูศิลปวัตนธรรมท้องถิ่น (4) หลักสูตรและโครงการที่ใช้ในการฝึกอบรม ควรมีการเพิ่มเนื้อหาจากเดิม ให้ทันสมัยกับปัจจุบัน แต่ยังเน้นที่เกี่ยวกับจารีตประเพณี วัตถุธรรมท้องถิ่น (5) เทคนิคที่ใช้ในการฝึกอบรมคือ การบรรยายประกอบการสาธิตให้ปฏิบัติตาม (6) วิทยากรที่ใช้ในการฝึกอบรม ควรมีการเชิญวิทยากรที่ประสบความสำเร็จในศาสตร์สาขาต่างๆ หรือขอความร่วมมือจากหน่วยงานต่างๆ เพื่อขอวิทยากรที่มีความสามารถตามที่ต้องการ และควรเป็นผู้ที่สามารถพูดภาษาท้องถิ่นอีสานได้ สื่อที่ใช้ในการฝึกอบรม คือ สื่อพื้นฐานทั่วไป เช่น ไมโครโฟน เครื่องขยายเสียงและสื่อท้องถิ่นที่ควรนำมาใช้ เช่น แคน เครื่องทองเหลือง (7) ระยะเวลาในการฝึกอบรมที่เหมาะสมขึ้นอยู่กับลักษณะของเนื้อหาหลักสูตร โดยจำนวนวันที่เหมาะสม คือ 3-5 วัน และควรจัดอบรมในช่วงตอนเย็นหลังประชาชนเสร็จกิจธุระการงาน สถานที่ควรจัดอบรมในวัด หรือใช้ที่ทำการขององค์การบริหารส่วนตำบล งบประมาณควรบริหารหน่วยในรูปของสหกรณ์แล้วนำผลกำไรมาดำเนินการ
Other Abstract: The purpose of this research were (1) to study the status, problems and needs of tambon training unit of Sangha Eastern Region, (2) to study specialists' opinions concerning a training system for tambon training unit of Sangha Eastern Region, and (3) to propose a training system for tambon training unit of Sangha Eastern Region supported by Department of Religious Affairs, Ministry of Education. The sample were 150 tambon training unit committees, 500 local people in Sangha Eastern Region and 19 specialists in training. The researcher used three-rounds of delphi technique to collect data. The data were analyzed by percentage, median and interquartile range. The research findings were as follows: 1. Most of tambon training units in Sangha Eastern Region managed training uneffectively; local people could implement their knowledge from training program, especially moral and ethics, occupations, herb farming and brassware. Problems mostly found were lack of budget for training and lack of a system for conducting training; tambon training units need sufficient budget and need an effective system to produce training results that were intended. 2. The tambon training system for Sangha Eastern Region comprised of seven components: (1) philosophy, aspiration and policy : people should have better quality of life, promote local occupation, be able to share happy life and support oneself (2) trainees should be able to express their training needs and do not limit trainee qualifications, training should be for all people (3) training objectives focus on promoting and resurrecting local art and culture (4) training curriculum and program focus on traditions and local culture with update content (5) training technique should be lecture with demonstration and practice (6) resource person should have experience in various disciplines and can speak northeast dialect, be person from other organizations, media should include microphones, amplifiers and local media such as reed organ and brassware (7) training duration bases on curriculum within 3-5 days and conducting in the evening after work; location should be in temples or tambon administration organization's office, budget should obtain from profits of co-op.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9015
ISBN: 9741308361
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
anutin.pdf6.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.