Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9017
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อรพรรณ พนัสพัฒนา | - |
dc.contributor.author | มธุรส เจิมจันทร์โสภณ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-06-11T02:25:08Z | - |
dc.date.available | 2009-06-11T02:25:08Z | - |
dc.date.issued | 2543 | - |
dc.identifier.isbn | 9741305559 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9017 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 | en |
dc.description.abstract | วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์ในการศึกษาหลักเกณฑ์การพิจารณาการให้ความคุ้มครองส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการ (Trade dress) ของต่างประเทศ และนำมาเปรียบเทียบกับบทบัญญัติที่บังคับใช้อยู่ของไทยเพื่อนำมาใช้เป็นเกณฑ์ในการแก้ไขกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า หลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการของต่างประเทศนั้นได้มีการให้ความคุ้มครองไว้ในกฎหมายเครื่องหมายการค้า ทั้งที่มีการบัญญัติไว้โดยตรงในกฎหมายและโดยการตีความของศาลยุติธรรม ไม่ว่าการให้ความคุ้มครองส่วนประกอบดังกล่าวจะอาศัยวิธีการใด คุณลักษณะประการหนึ่งที่ส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการต้องพึงมีเพื่อแสดงถึงการทำหน้าที่ของการเป็นเครื่องหมายการค้าก็คือ การมีคุณลักษณะบ่งเฉพาะ และนอกจากการมีคุณลักษณะบ่งเฉพาะแล้ว ในหลักเกณฑ์การให้ความคุ้มครองส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการของต่างประเทศยังให้มีการคำนึงถึงคุณลักษณะด้านประโยชน์ใช้สอยของส่วนประกอบนั้นด้วยเพราะคุณลักษณะนี้มีผลกระทบต่อโอกาสในการแข่งขันในตลาดการค้าของผู้ประกอบการรายอื่น สำหรับประเทศไทย พบว่าส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการสามารถได้รับความคุ้มครองภายใต้กฎหมายหลายฉบับ เช่น พระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543) พระราชบัญญัติสิทธิบัตร พ.ศ. 2522 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2542) พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 เป็นต้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าส่วนประกอบนั้นได้มีคุณสมบัติตามที่กฎหมายนั้นๆ ประสงค์จะให้ความคุ้มครองหรือไม่ ในส่วนของพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543) ได้มีการให้ความคุ้มครองส่วนประกอบของสินค้าประเภทกลุ่มของสีและรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุไว้ แต่ไม่ปรากฎว่าได้มีการบัญญัติให้มีการพิจารณาเรื่องลักษณะประโยชน์ใช้สอยของส่วนประกอบประเภทดังกล่าวไว้ต่างหากนอกเหนือไปจากลักษณะบ่งเฉพาะ ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรมีการแก้ไขพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 (แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543) ให้มีการขยายความคุ้มครองรวมไปถึงเรื่องการไม่มีลักษณะการใช้สอยของรูปร่างหรือรูปทรงของวัตถุด้วย โดยให้มีการแก้ไขคำนิยามคำว่า "เครื่องหมาย" เสียใหม่เพื่อเอื้อประโยชน์ต่อการคุ้มครองส่วนประกอบอื่นของสินค้าหรือบริการที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่อาจเกิดขึ้นในอนาคตด้วย | en |
dc.description.abstractalternative | This thesis is concerned with the study of foreign legal provisions for the protection of trade dress in order to compare with those of Thai laws for the purpose of appropriately amending them. The study shows that protection of trade dress under foreign legal provisions is subjected to trademark law both by statutory provisions and by judicial decisions. There are two compulsory elements to be met in order to meet to qualify for trade dress protection. Firstly, a trade dress, functioning as a trademark, must be distinctive. Secondly, a trade dress must be non-functional in character. The study indicates that there are various Thai laws related to trade dress protection, for instance, the Trademark Act B.E. 2534 (as amended (No.2) B.E. 2543), the Patent Act B.E. 2522 (as amended (No.3) B.E. 2542) and the Copyright Act B.E. 2537. The protection is granted pursuant to the characteristic prescribed by law applicable to the case. In the case of the Trademark Act B.E. 2534, the Act protects two kinds of trade dress, i.e. combination of colors and shapes of things. While distinctiveness is a major essential element to gain protection under the Act, non-functionality of trade dress is not a requirement. The Trademark Act B.E. 2534 should, therefore, be amended to include the requirement of the non-functionality characteristic to be one of the two essential elements for a trade dress in order to qualify for protection as well as to broaden the definition of "mark" by extending its scope to cover trade dress. | en |
dc.format.extent | 2049371 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | เครื่องหมายการค้า -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ | en |
dc.title | การคุ้มครองส่วนประกอบของสินค้าหรือบริการ (Trade dress) | en |
dc.title.alternative | Protection of trade dress | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | นิติศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | นิติศาสตร์ | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | ไม่มีข้อมูล | - |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Maturos.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.