Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9056
Title: | การเล่าเรื่องในข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทย |
Other Titles: | The narration of political news in Thai newspapers |
Authors: | อดิสา วงศ์ลักษณพันธ์ |
Advisors: | พีระ จิรโสภณ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | หนังสือพิมพ์ -- ไทย การสื่อข่าวและการเขียนข่าว ข่าวการเมือง |
Issue Date: | 2542 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | วิเคราะห์การรายงานข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทย ตามโครงสร้างการเล่าเรื่อง วิเคราะห์ลักษณะการสร้างความหมายของการเล่าเรื่อง ในข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทย และศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อแนวทางการเขียน และการเล่าเรื่องในข่าวการเมืองของหนังสือพิมพ์ไทย ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะการรายงานข่าวการเมืองที่เจาะจงนำมาศึกษาทั้ง 8 เหตุการณ์ ในหนังสือพิมพ์ประเภทเน้นเสนอสาระ อันได้แก่ มติชน และไทยโพสต์ และหนังสือพิมพ์ประเภทเน้นสนองอารมณ์ อันได้แก่ ไทยรัฐ และข่าวสด มีแนวโน้มในการนำเสนอไปตามแบบแผนการเล่าเรื่อง โดยมีการกำหนดแก่นเรื่องขึ้นมาเป็นแนวทางในการรายงานข่าว ซึ่งมีผลต่อการวางโครงเรื่องในข่าว ทั้งนี้ยังพบว่า หนังสือพิมพ์มีการให้สีสันกับบุคคลในข่าว จนทำให้บุคคลในข่าวมีสถานภาพเหมือนตัวละคร ที่ทำให้เรื่องราวของข่าวสามารถดำเนินไปได้อย่างมีอรรถรส นอกจากนี้แก่นเรื่องยังมีส่วนในการกำหนดแนวทางในการใช้ภาษา ซึ่งพบว่า การเลือกสรรภาษามาใช้ในข่าว เป็นการกำหนดขึ้นเพื่อนำมาใช้ตอกย้ำความหมายที่แฝงมากับแก่นเรื่อง สะท้อนให้เห็นว่า ด้วยกระบวนการของการเล่าเรื่อง และด้วยกระบวนการในการใช้ภาษามีผลอย่างมากต่อการสร้างภาพ และสร้างความหมายให้กับข่าวการเมืองที่หนังสือพิมพ์นำมาเสนอ นอกจากนี้ยังพบว่า หนังสือพิมพ์ที่เลือกศึกษาทั้ง 4 ฉบับ ได้มีส่วนในการสร้างความหมายให้กับข่าวการเมืองไปในแนวความขัดแย้ง ซึ่งหนังสือพิมพ์ประเภทสนองอารมณ์มักนำเสนอในรูปแบบความขัดแย้งล้วนๆ ในขณะที่หนังสือพิมพ์ประเภทเน้นเสนอสาระ มักนำเสนอในรูปแบบที่ผสมผสานความขัดแย้งเข้ากับแก่นเรื่องประเภทอื่น และยังพบอีกว่า แบบแผนการเล่าเรื่องในส่วนตัวข่าวของหนังสือพิมพ์มติชน มีการปรับรูปแบบการนำเสนอโดยการใช้เทคนิคการเล่าเรื่อง ที่มุ่งพรรณนาแบบใช้โวหาร ภาพพจน์ และการบรรยายถึงอากัปกิริยา น้ำเสียง และสีหน้าของตัวละคร ไปแนวเดียวกับหนังสือพิมพ์ประเภทสนองอารมณ์ ในขณะที่ไทยโพสต์ยังคงยึดถือแบบแผนการรายงานข่าวแบบตรงไปตรงมา แต่การใช้ภาษาในส่วนหัวข่าว กลับพบว่า หนังสือพิมพ์ทั้ง 4 ฉบับ มีแนวทางการใช้ภาษาในระดับที่รุนแรงเหมือนกัน เนื่องจากหนังสือพิมพ์ยังคงตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขทางการตลาดเป็นสำคัญ |
Other Abstract: | Analysing political news reporting in Thai newspaper in terms of the narrative structure, analysing the construction of meaning in the narration of political news in Thai newspapers and examining the factors influencing the trend in writing and narrating political news story in Thai newspapers. In all 8 cases of political news reporting chosen from quality newspapers, i.e. Matichon and Thai Post and sensational newspapers, i.e. Thai Rath and Khao Sod, it is found that there is a tendency for all 8 newspapers to follow a certain narrative structure. First, a theme is set as a guideline for news reporting. This in turn affects the outline of the plot as well as the specific roles given to the persons involved in the news story. The newspapers have a way of coloring these people so that they are the equivalent of characters in a play. In this way the news story can progress with an intense flare. The theme also plays an important part in the use of language. It is found that the choice of language used in the news reinforces the message embedded in the theme in a prominent way. This implies that the entire process of narration and use of language has a direct effect upon the construction of story and meaning in the political news presented by the newspapers. In addition, it is found that all 4 newspapers deliberately create conflict in their attempt to construct meaning for political news story. Sensational newspapers present news in terms of solid conflict while quality newspapers combine conflict with other themes. Moreover, Matichon adjusts its narrative pattern in much the same way as sensational newspapers by emphasizing descriptive language to visually present the physical moverment, tone of voice and facial expression of characters. Thai Post, by contrast, maintain the conventional straightforward news reporting. As far as the use of language in news headlines, it is found that all 4 newspapers resort to equally violent language due to the fact they are subject to marketing constraints. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วารสารสนเทศ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9056 |
ISBN: | 9743331263 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Adisa_Wo_front.pdf | 791.19 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Adisa_Wo_ch1.pdf | 898.26 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Adisa_Wo_ch2.pdf | 1.34 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Adisa_Wo_ch3.pdf | 790.77 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Adisa_Wo_ch4.pdf | 2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Adisa_Wo_ch5.pdf | 1.24 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Adisa_Wo_back.pdf | 4.38 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.