Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9060
Title: การเปิดรับและการใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชน ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจของชาวกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Bangkokians' exposure and uses of mass media during the economic crisis
Authors: จรินทร์ทิพย์ แก้วกล่ำ
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: การเปิดรับข่าวสาร -- ไทย -- กรุงเทพฯ
สื่อมวลชน
วิกฤตการณ์การเงิน -- ไทย
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาพฤติกรรมการเปิดรับสื่อมวลชน การใช้ประโยชน์จากสิ่งที่ได้รับจากสื่อมวลชน ของชาวกรุงเทพมหานครในภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ รวมทั้งความสัมพันธ์ระหว่างการเปิดรับและการใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชน กับระดับปัญหาการเงินและความเครียด การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และการวิเคราะห์เอกสารที่เกี่ยวข้อง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยมีจำนวนทั้งสิ้น 446 คน การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำโดยการแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์ความแปรปรวนและค่าสหสัมพันธ์ ซึ่งประมวลผลโดยคอมพิวเตอร์โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS for Windown ผลการวิจัยพบว่า ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ชาวกรุงเทพมหานครมีการเปิดรับสื่อโทรทัศน์มากที่สุด โดยเปิดรับในช่วงเย็นและค่ำ รองลงมาคือฟังวิทยุขณะทำงานหรือกิจกรรมอื่น ใช้เวลาในการชมโทรทัศน์และวิทยุเฉลี่ยวันละ 1.5-3.5 ชั่วโมง และนิยมเปิดรับข่าวพาดหัวในหนังสือพิมพ์ ข่าวประจำวันในโทรทัศน์ เพลงจากวิทยุ สารคดีในนิตยสาร หนังสือการ์ตูน ภาพยนตร์แนวแอคชัน และใช้เว็บไซต์สำหรับค้นหาข้อมูลมากที่สุด เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ที่สำคัญ 5 ด้านเรียงตามลำดับดังนี้ 1) ด้านข้อมูลข่าวสาร 2) ด้านปฏิสัมพันธ์ทางสังคม 3) ด้านการดำรงสถานภาพของบุคคล 4) ด้านภาวะอารมณ์ และ 5) ด้านการผ่อนคลายความตึงเครียด อย่างไรก็ตามการเปิดรับสื่อมวลชนและการใช้ประโยชน์ ในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจไม่แตกต่างกับช่วงปกติ ชาวกรุงเทพมหานครเปิดรับสื่อมวลชนและเนื้อหาแตกต่างกัน ไปตามระดับของปัญหาการเงินและความเครียดนั่นคือ กลุ่มที่มีปัญหาการเงินสูงนิยมเปิดรับข่าวสาร กลุ่มปัญหาการเงินต่ำ นิยมเปิดรับเนื้อหาด้านความบันเทิง ส่วนกลุ่มที่มีความเครียดสูงเปิดรับเนื้อหาบันเทิง กลุ่มที่มีความเครียดต่ำเปิดรับเนื้อหาข่าวสาร การใช้ประโยชน์จากสื่อมวลชน สัมพันธ์กับกลุ่มที่มีปัญหาการเงินต่ำ ในด้านการใช้ประโยชน์เพื่อการประกอบอาชีพการงาน ส่วนกลุ่มที่มีความเครียดสูง จะมีความสัมพันธ์กับการใช้ประโยชน์ด้านการผ่อนคลายความเครียด และใช้สื่อมวลชนแทนเพื่อน อันเป็นการทดแทนการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคมโดยตรง ส่วนกลุ่มความเครียดต่ำมีความสัมพันธ์กับ การใช้ประโยชน์ด้านการติดตามข่าวสารความรู้ และการนำเอาข่าวสารที่ได้ไปใช้พูดคุยกับบุคคลอื่น เพื่อเสริมสร้างปฏิสัมพันธ์กับสังคม
Other Abstract: To study the Bangkokians' exposure, uses of mass media during the economic crisis categorised by financial problems and stress. The research methodology are survey employing questionnaire to gather data and document analysis. The respondents were 446 Bangkokians. Statistical techniques used for data analysis were frequency, percentage, mean, one-way ANOVA and correlation coefficient by SPSS for windows program. The results of the study are follow: During the economic crisis, television was the mass medium that Bangkokians exposed to the most during the prime time. Second, Bangkokians listened to radio during the working time. Bangkokians spent about 1.5-3.5 hours per day. Bangkokians exposed themselves to headline news in newspapers, daily news programs in television, songs from radio, features in magazines, comic books, action films and search engine web-sites. Mass media exposure of Bangkians occurred from the needs which, following the level of uses, was firstly cognitive needs, secondly social integrative needs, thirdly personal integrative needs, fourthly affective needs, and finally tension release needs. However, Bangkokians' exposure and uses of mass media during the economic crisis were not differen from the normal period. There was a significant difference in mass media and contents exposure to respond the financial problem and stress. The high financial problem exposed information contents and the low one exposed entertainment contents. The high stress groups exposed entertainment contents and the low one exposed information contents. Media uses of the low financial problem groups relate to occupational utility. Media uses of high stress groups relate to tension release and substituted the social integrative need. Then, Media uses of the low stress groups relate to cognitive and social integrative need.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9060
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2000.348
ISBN: 9741301774
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2000.348
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jarintip.pdf6.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.