Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9128
Title: การศึกษาเกณฑ์การสร้างตำราเรียนวิชาวัสดุและเทคนิคศิลปะสำหรับโปรแกรมวิชาศิลปกรรม ระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏ
Other Titles: A study of criteria for construction of text book for materials and techniques course in art programme of Bachelor Degree Rajabhat Institute
Authors: อนันต์ ประภาโส
Advisors: ปิยะชาติ แสงอรุณ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Piyacharti.s@chula.ac.th
Subjects: ศิลปกรรม -- การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา)
ตำรา
ศิลปกรรม
Issue Date: 2543
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาเกณฑ์การสร้างตำราเรียนวิชาวัสดุและเทคนิคศิลปะ สำหรับโปรแกรมวิชาศิลปกรรม ระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏ ประชากรที่ใช้เป็นกลุ่มประชากรแบบเจาะจงโดยได้กำหนดคุณสมบัติไว้ดังนี้คือ 1. ผู้ที่มีผลงานทางวิชาการ หนังสือ ตำรา หรืองานวิจัยที่เกี่ยวกับศิลปะที่เผยแพร่ในวงวิชาการ 2. เป็นผู้สอนวิชาวัสดุและเทคนิคศิลปะในสถาบันราชภัฏ 3. เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่มีตำแหน่งบริหาร รวมทั้งสิ้น 12 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ส่วน คือ 1. เกณฑ์การสร้างตำราเรียนสำหรับรายวิชาวัสดุและเทคนิคศิลปะ สำหรับโปรแกรมวิชาศิลปกรรม ระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น 2. แบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของเกณฑ์การสร้างตำราเรียนสำหรับรายวิชาวัสดุและเทคนิคศิลปะ สำหรับโปรแกรมวิชาศิลปกรรม ระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏ จำนวน 4ด้านคือ 1. ด้านคุณลักษณะตำราเรียนที่ดี 2. ด้านความตรงตามหลักสูตรของตำรา 3. ด้านความตรงตามวัตถุประสงค์รายวิชาและ 4. ด้านความเหมาะสมของเนื้อหาตำรา วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่ามัชฌิมเลขคณิต และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อ ความเหมาะสมของเกณฑ์การสร้างตำราเรียนวิชาวัสดุและเทคนิคศิลปะสำหรับโปรแกรมวิชาศิลปกรรม ระดับปริญญาตรี สถาบันราชภัฏ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น ว่ามีความเหมาะสมในระดบมาก ทั้งในด้านคุณลักษณะตำราเรียนที่ดี (X = 4.48) ้านความตรงตามหลักสูตรของตำรา (X = 4.22) ด้านความตรงตามวัตถุประสงค์รายวิชา (X = 4.23) และด้านความเหมาะสมของเนื้อหาตำรา (X = 4.32)
Other Abstract: The objective of this research was studying the criteria for the construction of a text book for a materials and techniques course in art at the Bachelor's Degree level a Rajabhat Institue. The population of this research was divided into group type 1) those who have produced research materials, i.e. books, curricula or research concerning art 2) those who teach materials and techniques courses in art programs at Rajabhat Institute 3) those with the qualifications of administrators, 12 people in all. The survey instruments used in this research consist of two types: 1. criteria for construction of a text book for a materials and techniques course in art at the Bachelor's Degree level at Rajabhat Institute which the researcher has developed 2. a questionnaire for use in the construction of a text book for materials and techniques course in art program at the Bachelor's Degree level at Rajabhat Institute. 4 areas of research investigation include: 1) characteristics of a good text book 2) the exactness with which the textbook follows the designed curriculum 3) the exactness with which the text follows the objective of the set course 4) the suitability of subject matter in the textbook. The obtained data were analyze by frequency, percentile, mean and standard deviation. The finding were found that the suitability was high in the positive characteristics of the text book (X = 4.48) in the area of consistency with the set curriculum (X = 4.22) in the area of consistency with the set course objective (X = 4.23) and in the area of suitability of the subject matter of the text book (x = 4.32).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ศิลปศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9128
ISBN: 9741305591
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Anan.pdf8.36 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.