Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9149
Title: อิทธิพลของปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะครูและการวิจัยปฏิบัติการของครูที่มีต่อโอกาสการเพิ่มสมรรถภาพการวิจัย
Other Titles: Effects of factors related to teachers' characteristics and classroom action research on the opportunity to increase research competency
Authors: กาญจนา ตระกูลวรกุล
Advisors: นงลักษณ์ วิรัชชัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Nonglak.W@chula.ac.th
Subjects: วิจัย
ครู
Issue Date: 2548
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะครูและการวิจัยปฏิบัติการของครูที่มีต่อโอกาสการเพิ่มสมรรถภาพการวิจัยโดยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (logistic regression analysis) และศึกษาผลจาการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกที่สามารถอธิบายเสริมเพิ่มเติมผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณและผลการวิเคราะห์จำแนกกลุ่มตัวอย่างเป็นครูผู้สอนในโรงเรียนโครงการวิจัยและพัฒนาเพื่อปฏิรูปการเรียนรู้ทั้งระบบ (วพร.) ของสำนักงานสนับสนุนกองทุนสำหรับการวิจัย ปีการศึกษา 2547 ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 264 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ตัวแปรทำนายในการวิจัย ได้แก่ ตัวแปรปัจจัยเกี่ยวกับลักษณะครู ประกอบด้วยตัวแปร 5 ตัวแปร ตัวแปรการวิจัยปฏิบัติการของครู ประกอบด้วย ตัวแปรสภาพแวดล้อมในการทำวิจัย และตัวแปรการสนับสนุนการทำวิจัย ตัวแปรตามเป็นตัวแปรชั้นแฝงของ สมรรถภาพการวิจัย ซึ่งประกอบด้วยสมรรถภาพด้านความรู้ความสามารถในการวิจัยและสมรรถภาพด้านจิตอารมณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีการวิเคราะห์กลุ่มแฝงสำหรับสมรรถภาพการวิจัย และวเิคราะห์อิทธิพลของลักษณะครู และการวิจัยปฏิบัติการของครูที่มีต่อโอกาสการเพิ่มสมรรถภาพการวิจัยโดยการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก (logistic regression analysis) การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ (multiple regression analysis) และการวิเคราะห์จำแนก (discriminant analysis) ผลการวิจัยสรุปได้ ดังนี้ 1. ผลการวิเคราะห์กลุ่มแฝงได้ผลจำแนกครูตามระดับสมรรถภาพการวิจัยออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มครูที่มีสมรรถภาพการวิจัยสูงมาก 100 คน และกลุ่มครูที่มีสมรรถภาพการวิจัยปกติ 164 คน 2. ผลการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ พบว่า ตัวแปรทำนายสามารถอธิบายความแปรปรวนในกลุ่มครูจำแนกตามระดับสมรรถภาพการวิจัยได้ร้อยละ 71.3 มีความคลาดเคลื่อนในการทำนาย 0.264 ผลการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติก พบว่า ตัวแปรทำนายสามารถอธิบายความแปรปรวนอัตราส่วนแต้มต่อของการมีสมรรถภาพการวิจัยในระดับสูงมากได้ร้อยละ 28.7 จำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 91.3 ส่วนผลการวิเคราะห์จำแนก พบว่า ตัวแปรทำนายสามารถอธิยายความแปรปรวนได้ร้อยละ 24.90 จำแนกกลุ่มได้ถูกต้องร้อยละ 90.5 และตัวแปรที่เป็นตัวทำนายสมรรถภาพการวิจัยได้ดีที่สุดในการวิเคราะห์ทั้ง 2 รูปแบบ คือ ตัวแปรดัมมี่ความเป็นครูในสังกัดกรุงเทพมหานคร 3. จากการวิเคราะห์เปรียบเทียบ พบว่า การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิเคราะห์จำแนก สามารถบอกได้แต่อิทธิพลของตัวแปรอิสระที่มีต่อตัวแปรตามส่วนการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกนอกจากจะให้ขนาดอิทธิพลแล้วยังให้ค่าความน่าจะเป็นที่ครูจะอยู่ในกลุ่มครูที่มีสมรรถภาพการวิจัยสูงด้วย นอกจากนี้กระบวนการวิเคราะห์ถดถอยโลจิสติกยังทำได้ในขอบเขตที่กว้างขวางเนื่องจากมีข้อตกลงเบื้องต้นน้อย
Other Abstract: The objectives of this research were to study the effects of factors related to teachers' characteristics and classroom action research on the opportunity to increase research competency by using logistic regression analysis and to study the results of logistic regression analysis supplemented to multiple regression and discriminanat analysis. The sample consisted of 264 teachers in the Research and Development Project for Whole School Reform in the academic year 2547 in Bangkok. The data were collected by questionnaire. The predictors in this research consisted of 5 variables measuring factors pertaining to teachers' characteristics, and 2 variables measuring teachers' classroom action research: namely research environment and research supports. The dependent variable, research competency was a latent class variable consisted of research ability and affective competency. Data analyses were latent class analysis for measuring research competency. The effects of teachers' characteristics and classroom action research on the opportunity to increase research competency were analyzed by logistic regression analysis, multiple regression analysis and discriminant analysis. The research result were: 1. The latent class analysis classified the teachers based on research competency into two groups: the very high research competency group of 100 teachers and the normal research competency group of 164 teachers. 2. The multiple regression analysis result indicated that the predictors could explain 71.3 percent of variance in teacher latent classes classified on research competency, with standard error of estimate of 2.264. The logistic regression analysis indicated that the predictors could explain 28.7 percent of odds ratio of the high research competency group, and could correctly classified for 91.5 percent. The discriminant analysis indicated that the predictors could explain 24.90 percent of variance in the teachers' research competency groups, and could correctly classified for 90.5 percent. The best predictor of research competency in both analysis were the dummy variable of being teachers in Bangkok Metropolis. 3. From the comparison, it was found that multiple regression analysis and discriminant analysis yielded only the effects of predictor on dependent variable. The logistic regression analysis, not only yielded the effects, but also yielded the probability of being in the high competency research group. Moreover, the logistic regression analysis process could be applied in a more general scope because of its assumptions.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิจัยการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9149
ISBN: 9741438397
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kanjana.pdf2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.