Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9236
Title: ผลของการใช้อ่างน้ำอุ่นวนอย่างต่อเนื่อง ต่อระดับคอร์ติซอลในเลือด ความดันเลือด ชีพจร ระดับความผ่อนคลายทางจิตใจ และรีแอคชั่นไทม์
Other Titles: Effect of continuous jacuzzi on serum cortisol level, blood pressure, pulse rate, mental stress level and reaction time
Authors: อรพินท์ จิตตวิสุทธิกุล
Advisors: ชาญวิทย์ โคธีรานุรักษ์
ราตรี สุดทรวง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: kcharnvit@hotmail.com
ไม่มีข้อมูล
Subjects: อ่างน้ำอุ่นวน
คอร์ตอซอล
ความดันเลือด
ชีพจร
ความผ่อนคลายความเครียด
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้การแช่น้ำอุ่นวนเพื่อลดความเครียด ผู้วิจัยจึงมีความประสงค์ที่จะศึกษาผลการเปลี่ยนแปลงของระดับคอร์ติซอลในเลือด ความดันเลือด ชีพจร ระดับความผ่อนคลายทางจิตใจ และรีแอคชั่นไทม์ เมื่อให้กลุ่มตัวอย่างลงแช่ในน้ำอุ่นวน เปรียบเทียบกับการแช่ในน้ำธรรมดา ที่อุณหภูมิปกติ (เฉลี่ย 32.30+_0.74 ํซ) และศึกษาเปรียบเทียบผลการลงแช่น้ำ 1 ครั้ง กับการลงแช่น้ำต่อเนื่อง โดยศึกษาในนักศึกษาอุดมศึกษาชายอายุ 18-22 ปี เฉลี่ย 19.23+_1.23 ปี) จำนวน 30 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มหนึ่งแช่ในน้ำอุ่นวน (อุณหภูมิ 36 ํซ) อีกกลุ่มหนึ่งแช่ในน้ำธรรมดา ในวิธีการระยะเวลาและการปฏิบัติที่เหมือนกัน คือให้กลุ่มตัวอย่างลงแช่น้ำต่อเนื่อง 18 ครั้งใน 6 สัปดาห์ โดยใน 3 ครั้งแรกจะลงแช่น้ำนานครั้งละ 10 นาที ต่อจากนั้น ให้ลงแช่นานครั้งละ 15 นาที จะทำการบันทึกข้อมูลในการลงแช่น้ำครั้งที่ 1, 9 และ 18 เท่านั้นโดยจะบันทึกใน 2 ลักษณะคือ ความดันเลือด และชีพจร จะบันทึกก่อนลงน้ำและหลังขึ้นจากน้ำทุกๆ 3 นาทีจนถึงนาทีที่ 30 และ การเจาะเลือดเพื่อตรวจวัดปริมาณคอร์ติซอลในเลือด การวัดรีแอคชั่นไทม์ และการวัดระดับความเครียด จะทำการวัดเฉพาะก่อนและหลังจากขึ้นจากน้ำแล้วเพียง 1 ครั้งเท่านั้น ผลการศึกษาพบว่าการแช่น้ำ 1 ครั้งจะสามารถทำให้ ความดันเลือดซิสโตลิค ปริมาณคอร์ติซอลในเลือด รีแอคชั่นไทม์ และระดับความเครียดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ในขณะที่การลงน้ำซ้ำอย่างต่อเนื่องจะทำให้ ความดันเลือดซิสโตลิค ชีพจร และรีแอคชั่นไทม์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) ในขณะที่ลักษณะของน้ำ คือการแช่น้ำอุ่นวนจะมีผลทำให้ ความดันเลือดซิสโตลิคและไดแอสโตลิคและชีพจรเปลี่ยนแปลงไปจากการแช่น้ำธรรมดาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P<0.05) เมื่อศึกษาค่าปฏิสัมพันธ์พบว่า ลักษณะของน้ำกล่าวคือน้ำอุ่นวนและน้ำธรรมดา หรือจำนวนครั้งในการลงแช่น้ำไม่ได้มีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงของข้อมูลที่ได้จากการแช่น้ำครั้งเดียวเลย ฉะนั้นการที่จะลดความเครียดด้วยการแช่น้ำอุ่นวนนั้นเป็นการลดความเครียดซึ่งเป็นผลเฉพาะครั้งของการแช่น้ำเท่านั้น การแช่น้ำต่อเนื่องไม่ได้มีผลให้ระดับความเครียดลดลงมากขึ้นแต่อย่างใด และถ้าพิจารณาจากคอร์ติซอล หรือระดับความเครียดจะพบว่า ไม่ว่าการแช่น้ำธรรมดา หรือน้ำอุ่นวน จะให้ผลในการลดความเครียดได้เหมือนกัน
Other Abstract: The objectives of this study are to evaluate the effect of immersion in jacuzzi on serum cortisol level, blood pressure (BP), heart rate (HR), relaxation score (measured by VAS) and reaction time. The research was conducted in 30 male university students, 18-25 years of age (average 19.23+_1.23). The students were divided into 2 groups. The first group was asked to immerse themselves in the jacuzzi water (36 ํC) and the second group in the normal water (32.30+_0.74 ํC). Both groups had to follow the same procedures. They had to immerse continuously for 18 times in 6 weeks, 10 minutes each for the first 3 times then 15 minutes the rest 15 times. The parameters were chosen to record for this research in the first, ninth and eighteenth times of immersion. The BP and HR were recorded before immersion and every 3 minutes after getting off, until 30 minutes. Also the serum cortisol, reaction time and relaxation score were recorded only 1 time each before and after immersion. The result indicated that immersion in both jacuzzi and normal water at only 1 time can significantly reduce systolic blood pressure (SBP) serum cortisol level, reaction time and relaxation score (<0.05). While a continuous immersion can significantly reduce only the SBP, HR and reaction time (P<0.05). However immersion in jacuzzi when compared to immersion in normal water can significantly reduce SBP, diastolic blood pressure (DBP) and HR (P<0.05). When the interaction is looked at, immersion in either jacuzzi or normal water and the number of immersing times do not have any impacts to pattern when compared to the information received from only 1 time of immersion. It was concluded therefore that the immersion in jacuzzi can reduce the stress for a short period of time right after immersion only. Continuous immersion does not show the impacts to the level of stress. And when the serum cortisol level and relaxation score are concerned, immersion either in jacuzzi or in normal water can reduce the stress similarly.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การแพทย์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9236
ISBN: 9746386093
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Orapin_Ji_front.pdf801.8 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_Ji_ch1.pdf704.09 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_Ji_ch2.pdf800.74 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_Ji_ch3.pdf727.29 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_Ji_ch4.pdf891.83 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_Ji_ch5.pdf747.99 kBAdobe PDFView/Open
Orapin_Ji_back.pdf995.04 kBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.