Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/925
Title: หน้าที่และอัตลักษณ์ของเพลงละครโทรทัศน์
Other Titles: Functions and identity of television drama songs
Authors: มนทกานติ ธีรนันทวัฒน์, 2519-
Advisors: กิตติ กันภัย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kitti.G@chula.ac.th
Subjects: ละครโทรทัศน์
เพลงไทยสากล
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงหน้าที่และอัตลักษณ์ของเพลงละครโทรทัศน์ รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างเพลงละครโทรทัศน์กับละครโทรทัศน์ โดยวิเคราะห์ละครโทรทัศน์ที่ออกอากาศช่วงหลังข่าวภาคค่ำในปี พ.ศ. 2542 จำนวน 17 เรื่อง และเพลงละครโทรทัศน์ที่เป็นเพลงนำละคร เพลงท้ายละคร และเพลง "Theme song" จากละครดังกล่าว เป็นจำนวน 28 เพลง ภายใต้กรอบแนวคิดของกระบวนทัศน์ Hermeneutics และ ทฤษฎีสัญญวิทยา ผลการวิจัยพบว่า เพลงละครโทรทัศน์มีหน้าที่ในการเล่าเรื่องเพื่อสื่อความหมายถึงเนื้อหาของละครโทรทัศน์และช่วยเสริมสร้างอารมณ์และความรู้สึกของตัวละคร อีกทั้งยังมีหน้าที่ในการประกอบไตเติ้ลนำรายการและไตเติ้ลท้ายรายการเพื่อช่วยเสริมให้ผู้ชมเข้าใจเรื่องราวของละครและเป็นการประชาสัมพันธ์ละครโดยการทำให้ผู้ชมรู้สึกอยากดูละครมากยิ่งขึ้น ในส่วนของความสัมพันธ์ระหว่างเพลงละครโทรทัศน์กับละครโทรทัศน์นั้น ผู้วิจัยพบว่าเพลงละครโทรทัศน์เป็นตัวแทนในการสื่อความหมายเรื่องราวโดยรวมของละครซึ่งเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของการถ่ายทอดความหมายโดยใช้ความหมายส่วนย่อยแทนความหมายของส่วนรวม และข้อค้นพบสุดท้าย คือ อัตลักษณ์ของเพลงละครโทรทัศน์ ได้แก่ เพลงละครโทรทัศน์มีการเล่าเรื่องที่สื่อความหมายถึงเนื้อหาและเรื่องราวของละครโทรทัศน์ทั้งที่เป็นความหมายเปิดเผยและความหมายแฝงเร้น ทำนอง จังหวะ และ อารมณ์ของเพลงละครโทรทัศน์จะสัมพันธ์กับอารมณ์โดยรวมของละครโทรทัศน์ ทั้งนี้เพลงละครโทรทัศน์จะถูกนำเสนอควบคู่กับไตเติ้ลนำรายการและไตเติ้ลท้ายรายการแต่ไม่จำเป็นต้องมีการระบุชื่อเรื่องละครลงในคำร้องของเพลง และที่สำคัญที่สุด คือ เพลงละครโทรทัศน์มีคุณลักษณะพิเศษที่สามารถแยกจากเพลงไทยสากลทั่วๆ ไปได้อย่างชัดเจนทั้งในส่วนของคำร้อง จังหวะ ทำนองเพลง นักร้อง รูปแบบในการนำเสนอ สื่อชี้นำ รวมถึงขั้นตอนในการผลิตด้วย
Other Abstract: The purpose of the research focuses on the functions and identity of television drama songs including its relationship with television drama. The research methods comprise an analysis of 28 television drama songs selected from 17 television drama stories, which were broadcasted on channel 3, 5 and 7 during primetine of year 1999 under the framework of Hermeneutics and Semiology. The major findings from this research are: the functions of television drama songs are to narrate or imply the plot of a particular television drama as well as to support and express the mood or feelings of characters. Furthermore, television drama song has to be presented together with main title and end title of television drama for the purpose of emphasizing plot narration and television drama promotion. For its relationship with television drama, television drama song represents television drama as using a part (television drama song) to represent the whole (television drama). Last but not least, the identity of television dramasong can be object identifier in order to separate television drama song from pop music. The object identifiers of television drama song are its narration, melody, rhythm and mood which related with television drama plot in both manifest and latent meaning. The presentation of television drama songs is associated with main title and end title of television drama but not necessarily requires the name of television drama in the lyric. The most important finding is television drama songs is different from pop music not only in lyric, rhythm, melody, singer, and presentation but also in the production process.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/925
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.123
ISBN: 9741701667
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.123
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
monthakan.pdf1.61 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.