Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9276
Title: บทบาทของชาวจีนในไทยตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2172-2394
Other Titles: The role of the Chinese in Thailand from the late Ayutthaya period to the Reign of King Rama III, 1629-1851
Authors: ศุภวรรณ ชวรัตนวงศ์
Advisors: ธีรวัต ณ ป้อมเพชร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: ไม่มีข้อมูล
Subjects: ชาวจีน -- ไทย
ไทย -- การค้ากับต่างประเทศ -- จีน
ไทย -- ประวัติศาสตร์
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาถึงบทบาทของชาวจีนในเมืองไทยในด้านต่างๆ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลายจนถึงสมัยรัชกาลที่ 3 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2172-2394 ตลอดจนศึกษาถึงผลกระทบของบทบาทดังกล่าว ที่มีต่อสังคมไทยในด้านเศรษฐกิจ การเมืองการปกครองในช่วงเวลาดังกล่าว ผลของการศึกษาพบว่า ภาวะความอดอยากและสถานการณ์ทางการเมืองในจีน รวมทั้งบริบททางสังคมและเศรษฐกิจของไทยตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 22 เป็นต้นมา เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวจีนเดินทางเข้ามาในเมืองไทยเป็นระลอกๆ อย่างต่อเนื่อง ชาวจีนเหล่านี้อาศัยความรู้ ความสามารถ และความชำนาญส่วนตัวเป็นใบเบิกทางที่สำคัญในการเข้ามามีบทบาทในด้านต่างๆ บทบาทที่สำคัญของชาวจีนที่มีต่อสังคมไทยมีด้วยกันหลายด้านคือ ชาวจีนเข้ามามีบทบาทอย่างสูงต่อเศรษฐกิจของไทยในด้านการค้า ทั้งการค้าภายในและการค้ากับต่างประเทศ ซึ่งการเข้ามามีบทบาทดังกล่าว ก็เพื่อแสวงหาผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจเป็นสำคัญ แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นการเพิ่มพูนรายได้ให้กับราชสำนักไทย เพื่อนำไปใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินในด้านต่างๆ ในด้านการเมืองการปกครองพบว่า ชาวจีนเข้ารับราชการเป็นขุนนางในกรมกองต่างๆ ของไทย ชาวจีนเหล่านี้ได้รับแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งต่างๆ ซึ่งในบางกรณีมีฐานะเทียบเท่ากับชนชั้นปกครองของไทย และเป็นอีกวิธีหนึ่งในการควบคุมชาวจีน โดยที่ทางการไทยจะแต่งตั้งชาวจีนที่มีชื่อเสียง ความสามารถ และเป็นที่เคารพนับถือของชาวจีนทั่วไป เข้ามาทำหน้าที่ควบคุมดูแลชาวจีนให้อยู่รวมกันอย่างสงบสุข และมิให้ก่อความวุ่นวายขึ้นในสังคม นอกจากความมั่นคงทางเศรษฐกิจพบว่าชาวจีนต้องการการยอมรับทางสังคมด้วย โดยการแต่งงานกับชาวไทย ซึ่งจะทำให้ชาวจีนกลายเป็นสมาชิกของไทยไปโดยปริยาย แต่ในบางครั้งก็พบว่าชาวจีนได้ก่อความวุ่นวายในสังคมไทย เช่น การก่อตั้งสมาคมลับอั้งยี่ การลักลอบการค้าฝิ่น ฯลฯ เป็นต้น แต่ทางการไทยก็สามารถแก้ไขปัญหาเหล่านี้ได้
Other Abstract: Economic hardship, political strife, and demographic factors in China, along with the social and economic context in Thailand, wereimportant factors in the migration of the Chinese into Thailand in several waves, from the 17th century onwards. These Chinese used their particular expertise and abilities to play various role in Thailand. They had a prominent role in the Thai economy, especially in trade both internal and external. The Chinese wanted commercal benefits from their participation in the Thai economy and society, but the Thai court also derived added revenues to use for other, administrative purpose. Chinese became khunnang in many krom, thus becoming titled officials and members of the ruling elite. Respected and able Chinese were appointed to oversee the orderly administration of the affairs of the Chinese communities in Thailand. Apart from economic security, the Chinese also wanted social recognition, which could come from marriage with a Thai. Sometimes the Chinese caused problems, such as the formation of triad societies or the smuggling of opium, but these problems were dealt with by the Thai authorities.
Description: วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: อักษรศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ประวัติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9276
ISBN: 9746382462
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supawan_Ch_front.pdf569.08 kBAdobe PDFView/Open
Supawan_Ch_ch1.pdf367.05 kBAdobe PDFView/Open
Supawan_Ch_ch2.pdf3.77 MBAdobe PDFView/Open
Supawan_Ch_ch3.pdf2.29 MBAdobe PDFView/Open
Supawan_Ch_ch4.pdf5.72 MBAdobe PDFView/Open
Supawan_Ch_ch5.pdf491.23 kBAdobe PDFView/Open
Supawan_Ch_back.pdf1.23 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.