Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/932
Title: การวิเคราะห์เนื้อหาภาพยนต์การ์ตูนของไทยทางโทรทัศน์ ในด้านการขัดเกลาทางสังคม
Other Titles: Content analysis of Thai cartoon series in aspect of socialization
Authors: จุฑามาส ศรีโมรา, 2522-
Advisors: อุบลวรรณ ปิติพัฒนะโฆษิต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Ubolwan.P@chula.ac.th
Subjects: ภาพยนตร์การ์ตูน--ไทย
การวิเคราะห์เนื้อหา
สังคมประกิต
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาลักษณะพื้นฐานและเนื้อหาการขัดเกลาทางสังคม ในภาพยนตร์การ์ตูนของไทยทางโทรทัศน์เรื่อง ป.ปลาตากลม โลกนิทาน สุดสาคร และปังปอนด์ ดิ แอนิเมชั่น โดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหาทั้งการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ ผลการวิจัยพบว่า ลักษณะพื้นฐานของภาพยนตร์การ์ตูนของไทยทางโทรทัศน์ มีโครงเรื่องที่ไม่สลับซับซ้อน และเหตุการณ์เกิดขึ้นเรียงตามลำดับเวลา แก่นเรื่องนำเสนอถึงศีลธรรมจรรยา ทัศนคติ/ความคิดเห็น แรงบันดาลใจ ความรู้/การใช้สติปัญญา กฎเกณฑ์/ระเบียบแบบแผน และบทบาททางสังคม ตัวละครส่วนใหญ่เป็นตัวละครมิติเดียว และฉากที่ปรากฏในเรื่องสอดคล้องกับสภาพสังคมไทย ในภาพยนตร์การ์ตูนของไทยทางโทรทัศน์ ปรากฏเนื้อหาการขัดเกลาทางสังคมด้านต่างๆ ดังนี้ เนื้อหาการขัดเกลาทางสังคมด้านจิตใจปรากฏมากที่สุดถึง 46.43% รองลงมาได้แก่ เนื้อหาการขัดเกลาทางสังคมด้านพฤติกรรม 43.36% ส่วนเนื้อหาการขัดเกลาทางสังคมด้านสติปัญญาปรากฏน้อยที่สุดคือ 10.21% เนื้อหาการขัดเกลาทางสังคมด้านจิตใจ ที่ปรากฏในภาพยนตร์การ์ตูนของไทยทางโทรทัศน์ประกอบด้วย เนื้อหาประเภทศีลธรรรมจรรยา ค่านิยม/ประเพณี แรงบันดาลใจ และทัศนคติ/ความคิดเห็น เนื้อหาการขัดเกลาทางสังคมด้านพฤติกรรมประกอบด้วย เนื้อหาประเภทกฎเกณฑ์/ระเบียบแบบแผน และบทบาททางสังคม ส่วนเนื้อหาการขัดเกลาทางสังคมด้านสติปัญญา ประกอบด้วยเนื้อหาประเภทความรู้/การใช้สติปัญญา และทักษะ/ความชำนาญ
Other Abstract: To study basic character and overall content, and also content in aspect of socialization of thai cartoon series on television by using content analysis method. Research findings show that the thai cartoon series contain time serie and non-complicated plots. The themes present social value, attitude/view, encouragement, knowledge/intelligence, social norm and social role. Flat characters play their parts mainly in the cartoon series. Furthermore, the scenes show scenery, time and cultural background of the story. In addition, analytical results indicate that socialization content appears in the cartoon series in various aspects. Spiritual socialization content mostly appears at 46.43%, followed by behavioral socialization content at 43.36% and intellectual socialization content at 10.21% respectively. Among these proportions are spiritual content regarding ethic, social value, encouragement and attitude/view, and behavioral content regarding social norm and social role, including intellectual content regarding knowledge/intelligence and social skill.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิเทศศาสตรพัฒนาการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/932
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.479
ISBN: 9741798067
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.479
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chutamas.pdf1.53 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.