Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9352
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorนิศา ชูโต-
dc.contributor.authorสุภา อินทร์มณี-
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์-
dc.coverage.spatialบุรีรัมย์-
dc.date.accessioned2009-07-27T07:56:23Z-
dc.date.available2009-07-27T07:56:23Z-
dc.date.issued2542-
dc.identifier.isbn9743334262-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9352-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542en
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลของความยากจนที่มีต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ ในพื้นที่ยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์ โดยใช้วิธีการเชิงคุณภาพในการศึกษา เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วม สัมภาษณ์อย่างไม่เป็นทางการ และการวิเคราะห์เอกสาร ผู้วิจัยใช้ระยะเวลาอยู่ในสนามนาน 11 เดือน โดยเข้าไปศึกษาชุมชนและโรงเรียน การวิเคราะห์ใช้การวิเคราะห์แบบอุปนัย และนำเสนอข้อมูลโดยการพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพแวดล้อมในชุมชน ชุมชนอยู่ในพื้นที่แห้งแล้งกันดาร ชาวบ้านส่วนใหญ่มีการศึกษาต่ำกว่าระดับประถมศึกษา ประกอบอาชีพทำนาและรับจ้าง หารายได้ยังชีพจากการอพยพออกไปทำงานต่างถิ่นและเผาถ่านขาย ชาวบ้านที่ยากจนมักจะอยู่อย่างโดดเดี่ยว และถูกกำจัดโอกาสในการรับสิทธิประโยชน์ ขาดแบบอย่างและผู้นำเข้มแข็ง ชาวบ้านยังมีความเชื่อและค่านิยมเชื่อโดยไม่ได้พิสูจน์ เชื่อเรื่องไสยศาสตร์ ชอบการดื่มสุรา และค่านิยมที่เน้นการบริโภควัตถุ ใช้จ่ายเกินตัว ต้องพึ่งพิงอาหารจากร้านค้า ทำให้ชาวบ้านดำรงชีวิตประจำวันด้วยความอัตคัดฝืดเคือง การอพยพไปทำงานต่างถิ่นของผู้ปกครองเป็นอุปสรรคต่อการเรียนของนักเรียน 2) ในด้านความสัมพันธ์ของโรงเรียนกับชุมชน โรงเรียนตั้งอยู่หางจากชุมชน ไม่มีครูอยู่ประจำในท้องที่ ครูมีทัศนคติเชิงลบกับชาวบ้านสร้างความแปลกแยกระหว่างโรงเรียนกับชุมชน ชาวบ้านยินดีให้ความร่วมมือกับทางโรงเรียนในด้านแรงงานชาวบ้านไม่กล้าประเมินโรงเรียน เพราะชาวบ้านคิดว่าตนไม่มีความรู้ และถือว่าโรงเรียนกับชาวบ้านทำหน้าที่แตกต่างกัน 3) ในด้านครูใหญ่และการบริหารโรงเรียน ครูใหญ่มีบุคลิกภาพเอาใจใส่ต่อการทำงาน สามารถสร้างผลงานได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ครูในโรงเรียนและชาวบ้านศรัทธาในตัวครูใหญ่ แต่ครูใหญ่มักมีพฤติกรรมบริหารงานโดยยึดถือเอาความคิดเห็นส่วนตัวเป็นหลัก มีอคติกับครูบางคนในโรงเรียน ไม่เน้นงานวิชาการแต่เน้นอาคารสถานที่ ขาดการนิเทศงานอย่างเป็นระบบ ทำให้การบริหารงานในระยะหลังๆ ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร 4) ในด้านครูและการเรียนการสอน ครูที่ทำการสอนมานานจะมีอิทธิพลในด้านความคิดและการปฏิบัติงานกับครูใหม่ ครูส่วนใหญ่ขาดจิตสำนึกในการพัฒนาตนเองในด้านวิชาการ มีปัญหาทางเศรษฐกิจ ขาดขวัญและกำลังใจ มีปัญหาด้านความสัมพันธ์ในโรงเรียน ทำให้การบริหารงานในโรงเรียนไม่ราบรื่น ในขณะที่ครูมีพฤติกรรมไม่เตรียมการสอน สอนไม่เต็มที่ เต็มหลักสูตรและเวลา ขาดเทคนิคในการสอน มีระบบการวัดและประเมินผลไม่ชัดเจน ส่งผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน 5) ในด้านเด็กและผู้ปกครอง มีสภาพการอบรมเลี้ยงดูแบบปล่อยปละละเลยทำให้เด็กมีภาวะทุโภชนาการ มีปัญหาการใช้ภาษาถิ่น ส่งผลต่อความเข้าใจและการเรียนรู้ภาษาในโรงเรียน ผู้ปกครองคาดหวังโรงเรียนในด้านการอ่านออกเขียนได้ และการเรียนต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น เมื่อจบการศึกษาแล้วได้เข้ามาทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม จ่ายเงินเพื่อการศึกษาน้อย ต้องการความช่วยเหลือด้านอุปกรณ์การเรียนส่งผลต่อคุณภาพนักเรียน เด็กหนึ่งในสามมีปัญหาด้านการอ่านออกเขียนได้ คิดคำนวณไม่คล่อง ผลสัมฤทธิ์ต่ำ เมื่อเทียบกับโรงเรียนในกลุ่มเดียวกันen
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this research was to study the impacts of poverty to quality of education in Buri Ram rural area. A school under the Jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission was selected as a case study. The qualitative approach was employed involving field work, interview, participant observation and document analysis. Researcher was at the site for 11 month in selected school and surrounding community. The data were analyzed by inductive analysis and presented in descriptive format. The research finding were as following : 1) Community context; the community is in the wilds and dry environments. Most of villagers has less than elementary education. They are rice farmers, waged labors, and some are charcoal burners. The poor usually are living in isolation, accesses to rights and benefits are limited. Lacking of role model for strong leadership, most of villagers are still hold superstitious and unproofed beliefs, fond of drinkings and over spending as well as depending on buying food for everyday consumption have made this lives become poorer. Some are indebted and migrating to work as hired-labor in town or other places which interrupting their children education. 2) Relationship between school and community; the school is situated far away from community. None of teacher are residing in the community. They hold negative attitude toward villagers, so school and community are isolated. Villagers are willing to support school for their labor but dare not evaluate school for they considered themselves to be unknowledgeable and that the school has different function from the community. 3) The principle and school and ministration; the new principle's personality is working orientated and able to create school work effectively and has gained respect from teachers and community, at the beginning. But later, some of his behaviors such as self confident, bias toward certain teachers, focusing only on school buildings but not on school academic have made the work at school not as successful as it should. 4) Aspect of teachers and teaching; the older and experience teachers have influenced toward new teachers opinions and activities. Majority of teachers lack of academics interested, some are occupied with economics problems, low moral and conflicts among them have caused the school administration run unsmoothly. While majority of teachers do not devote time for lesson preparation, for real time teaching as well as covering the subject matters in the curriculum, some one lack of teaching teaching techniques and clear directors of evaluation, thus have directly effected to students achievement. 5) In relation to student and families; due to the negligence in child rearing practices majority of children are under nutritious. Family spoken dialects have encountered the learning language at school, couple with low expectation on ability to read and write as well as to quality their children for job in the industry, family contribution to education is very few but expecting school to help in providing educational materials have result in student low achievement when compare the other school group. One third of students can not read and write well and some can not solve arithmetic problems fluentlyen
dc.format.extent837407 bytes-
dc.format.extent793888 bytes-
dc.format.extent1074142 bytes-
dc.format.extent1086680 bytes-
dc.format.extent1375539 bytes-
dc.format.extent3463441 bytes-
dc.format.extent1132302 bytes-
dc.format.extent1294205 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothes
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.1999.480-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectโรงเรียนบ้านดงหาว -- การบริหารen
dc.subjectความจนen
dc.subjectคุณภาพชีวิตen
dc.subjectคุณภาพการศึกษาen
dc.subjectชุมชนกับโรงเรียน -- ไทย -- บุรีรัมย์en
dc.subjectหมู่บ้านดงหาว (บุรีรัมย์)en
dc.subjectหมู่บ้านดงกรวด (บุรีรัมย์)en
dc.titleคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแหงชาติ : กรณีศึกษาโรงเรียนในพื้นที่ชนบทยากจนของจังหวัดบุรีรัมย์en
dc.title.alternativeQuality of elementary education school under the Jurisdiction of the Office of the National Primary Education Commission : a case study of the school in poverty rural area, Changwat Buri Ramen
dc.typeThesises
dc.degree.nameครุศาสตรมหาบัณฑิตes
dc.degree.levelปริญญาโทes
dc.degree.disciplineวิจัยการศึกษาes
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorNisa.X@chula.ac.th-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.1999.480-
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supha_In_front.pdf817.78 kBAdobe PDFView/Open
Supha_In_ch1.pdf775.28 kBAdobe PDFView/Open
Supha_In_ch2.pdf1.05 MBAdobe PDFView/Open
Supha_In_ch3.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open
Supha_In_ch4.pdf1.34 MBAdobe PDFView/Open
Supha_In_ch5.pdf3.38 MBAdobe PDFView/Open
Supha_In_ch6.pdf1.11 MBAdobe PDFView/Open
Supha_In_back.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.