Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9419
Title: | เครื่องรับแบบกำจัดการแทรกสอดแบบขนานโดยใช้ฟังก์ชันไม่เชิงเส้น แบบไฮเปอร์โบลิกแทนเจนต์และค่าถ่วงน้ำหนักเหมาะที่สุด ในระบบสื่อสารเคลื่อนที่ซีดีเด็มเอ |
Other Titles: | Parallel interference cancellation receiver using nonlinear function of hyperbolic tangent and optimum weight in CDMA mobile communication system |
Authors: | กวิน นิ่มไศละ |
Advisors: | วาทิต เบญจพลกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Watit.B@chula.ac.th |
Subjects: | การเข้าถึงแบบหลายทางด้วยการแบ่งรหัส ระบบสื่อสารเคลื่อนที่ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เสนอวิธีการปรับปรุงเครื่องรับแบบกำจัดการแทรกสอดแบบขนาน ที่สถานีฐานในระบบสื่อสารเคลื่อนที่ซีดีเอ็มเอ โดยได้เพิ่มค่าถ่วงน้ำหนักและเปลี่ยนการประมาณบิต ของสัญญาณแทรกสอดโดยใช้ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิกแทนเจนต์ แทนการใช้ฟังก์ชันเครื่องหมาย ข้อดีของการประมาณบิตของสัญญาณแทรกสอด โดยใช้ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิกแทนเจนต์ คือทำให้ค่าความผิดพลาดกำลังสองระหว่างสัญญาณแทรกสอดที่แท้จริง และสัญญาณแทรกสอดที่ประมาณขึ้นมีค่าต่ำที่สุด แต่ทั้งนี้เมื่อจำนวนผู้ใช้งานมีค่ามาก การใช้ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิกแทนเจนต์เพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอ ที่จะทำให้อัตราบิตผิดพลาดของเครื่องรับมีค่าต่ำ ดังนั้นจึงต้องมีการนำค่าถ่วงน้ำหนักมาช่วย ในการทำให้สัญญาณมีความเชื่อถือได้ ช่วงของค่าถ่วงน้ำหนักที่ทำให้อัตราบิตผิดพลาดมีค่าต่ำนั้น ขึ้นอยู่กับค่าเจาะจง (Eigenvalue) ของเมตริกซ์สหสัมพันธ์ข้าม (Cross Correlation Matrix) ของผู้ใช้งานในระบบ จากผลการจำลองแบบพบว่าเครื่องรับที่นำเสนอให้อัตราบิตผิดพลาด ที่ต่ำกว่าเครื่องรับแบบกำจัดการแทรกสอดแบบขนาน ที่ใช้ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิกแทนเจนต์เพียงอย่างเดียว ทั้งกรณีการควบคุมกำลังส่งแบบสมบูรณ์ และกรณีการควบคุมกำลังส่งแบบไม่สมบูรณ์ โดยเมื่อพิจารณาจำนวนผู้ใช้งาน 30 คนในระบบอะซิงโครนัสที่มีการควบคุมกำลังส่งแบบสมบูรณ์พบว่า เครื่องรับที่นำเสนอในตอนที่ 1 ของเครื่องรับให้อัตราบิตผิดพลาดที่ค่า SNR 10 dB อยู่ที่ประมาณ 1.2x10-1 ขณะที่เครื่องรับที่ใช้ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิกแทนเจนต์เพียงอย่างเดียว มีอัตราบิตผิดพลาดที่ประมาณ 2.4x10-1 และเมื่อเพิ่มจำนวนตอนของเครื่องรับให้มากขึ้น อัตราบิตผิดพลาดยิ่งลดลง และเมื่อพิจารณาในแง่ความจุของระบบ ที่อัตราบิตผิดพลาด 10-2 ในกรณีการส่งข้อมูลแบบซิงโครนัส ที่มีการควบคุมกำลังส่งแบบสมบูรณ์เครื่องรับที่นำเสนอ สามารถรองรับผู้ใช้งานประมาณ 27 คน ขณะที่เครื่องรับแบบกำจัดการแทรกสอดแบบขนาน ที่ใช้ฟังก์ชันไฮเปอร์โบลิกแทนเจนต์เพียงอย่างเดียว รองรับผู้ใช้งานได้ประมาณ 19 คน |
Other Abstract: | To present a scheme for improving Bit Error Rate (BER) of Parallel Interference Cancellation (PIC) receiver in CDMA mobile communication system. The proposed method is to add a weight and change signum function to hyperbolic tangent function in estimation of interference. By replacing signum function with hyperbolic tangent function, the error between actual interference and estimated interference is minimized. But when the number of users is increased, using only hyperbolic tangent function cannot give low BER. One way to reduce BER is to add a weight into a receiver. Using a weight with hyperbolic tangent function gives a reliable signal from receiver. The value of weight which gives low BER depends on eigenvalue of cross correlation matrix of spreading codes of users in the system. The result from simulation shows that the proposed receiver gives lower BER than the PIC receiver that uses only hyperbolic tangent function for both cases of power control and no power control cases. For example, when the number of users is 30 users in asynchronous data transfer and power control mode, the proposed receiver at stage 1 gives BER of about 1.2x10-1 while the PIC receiver that uses only hyperbolic tangent function gives BER of about 2.4x10-1. With the number of stages increased, BER in each stage is reduced. Considering capacity performance, the proposed receiver gives the number of users more than the PIC receiver using hyperbolic tangent function at BER of 10-2. For example, in synchronous data transfer and power control mode, the proposed receiver supports about 27 users while the PIC using hyperbolic tangent can only support about 19 users |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมไฟฟ้า |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9419 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
KawinNim.pdf | 1.1 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.