Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/947
Title: การวิเคราะห์วาทกรรมเรื่องเสรีภาพทางเพศ ในการตอบปัญหาทางเพศของสื่อมวลชนไทย
Other Titles: A discourse analysis of sexual freedom in Q&A column/program of Thai mass media
Authors: จิณณ์นภัส แสงมา, 2520-
Advisors: กาญจนา แก้วเทพ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Kanjana.K@chula.ac.th
Subjects: วจนะวิเคราะห์
สื่อมวลชน
เพศในสื่อมวลชน
สตรีนิยม
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ค้นหาความหมายของวาทกรรมเรื่องเสรีภาพทางเพศในสื่อมวลชนไทย ศึกษากระบวนการสร้างวาทกรรมเรื่องเสรีภาพทางเพศดังกล่าว และวิเคราะห์เปรียบเทียบเนื้อหาและรูปแบบของวาทกรรม เรื่องเสรีภาพทางเพศในสื่อมวลชนไทยแต่ละประเภท สำหรับวิธีการวิจัยนั้นใช้การวิเคราะห์เนื้อหาของ "การตอบปัญหาทางเพศ" ในสื่อมวลชนไทย 5 สื่อ ได้แก่ สื่อหนังสือพิมพ์ สื่อนิตยสาร สื่อวิทยุ สื่อโทรทัศน์และสื่ออินเตอร์เน็ต และใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้ผลิตสาร โดยใช้แนวคิดเรื่องการวิเคราะห์วาทกรรม ทฤษฎีการศึกษาสื่อมวลชนแนวสตรีนิยม แนวคิดเรื่องเพศวิถี และแนวคิดเรื่องคุณลักษณะของสื่อแต่ละประเภท มาเป็นกรอบในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยปรากฏว่า 1.) ความหมายเรื่องเสรีภาพทางเพศของสื่อมวลชนไทยในประเด็นทั้งสองคือ การเป็นฝ่ายเริ่มต้นในการแสดงความสัมพันธ์ระหว่างเพศ และการสำส่อนทางเพศ แบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ ลักษณะอนุรักษ์ ลักษณะปฏิรูปและลักษณะก้าวหน้า ซึ่งการสร้างความหมายดังกล่าวจะส่งผลต่อการสร้างอัตลักษณ์ และความสัมพันธ์ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายในสังคมไทย 2.) กระบวนการสร้างวาทกรรมเรื่องเสรีภาพทางเพศ มีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างปฏิบัติการทางวาทกรรม อันได้แก่ ผู้นำเสนอตัวบท การคัดเลือกคำถาม รูปแบบการสื่อสารและกลุ่มเป้าหมาย กับปฏิบัติการทางสังคมวัฒนธรรม โดยการผลิตวาทกรรมบางส่วนในการตอบปัญหาทางเพศ มีลักษณะสอดคล้องกับวาทกรรมกระแสหลัก ได้แก่ วาทกรรมในระบบสังคม-วัฒนธรรม วาทกรรมในระบบกฎหมาย และวาทกรรมในระบบศาสนา ซึ่งสนับสนุนอุดมการณ์ผัวเดียว เมียเดียว ในขณะที่วาทกรรมบางส่วนมีลักษณะสอดคล้องกับวาทกรรมทวนกระแส ได้แก่ วาทกรรมของกลุ่มสตรีนิยม 3.) วาทกรรมเรื่องเสรีภาพทางเพศที่ปรากฏในแต่ละสื่อ จะมีเนื้อหาที่คล้ายคลึงกัน นั่นคือ ยังคงมีเนื้อหาในลักษณะการอนุรักษ์ มากกว่าลักษณะความก้าวหน้าในเรื่องเสรีภาพทางเพศ ทั้งนี้เนื่องมาจากลักษณะของสังคมไทยที่ยึดเกณฑ์มาตรฐานซ้อน ในการประเมินพฤติกรรมระหว่างผู้หญิงและผู้ชาย แต่จะมีรูปแบบในการนำเสนอเนื้อหาที่แตกต่างกันในแต่ละสื่อ อันเนื่องมาจากคุณลักษณะของสื่อที่มีความแตกต่างกัน
Other Abstract: To find the meaning of the discourse of sexual freedom in Thai mass media; to study the construction of that discourse and to compare the content and format of that discourse in each Thai mass media. The research method relied on 1.) a textual analysis of q&a column / program in five Thai mass media which are Newspaper, Magazine, Radio, Television, and Internet 2.) an in-depth interview with mass communicators. This research based on four theoretical frameworks : The discourse analysis concept, The feminist media theory, The sexuality concept and The media's characteristics concept. The findings are as follow : 1.) According to the sexual freedom in two points which are the active in sexual relation and promiscuity, there are three types of meaning toward sexual freedom in Thai mass media : Conservative, Reform and Progressive. That construction of meanings effect to the construction of identities and relations of men and women in Thai society. 2.) The construction of the discourse of sexual freedom have interrelation between the discourse practice; producers, the selection of questions, pattern of communication, target groups, and the sociocultural practice. Some discourses in q&a column/ program are coherent with the mainstream discourses that are the discourses in sociocultural, in law and in religion whereas some discourses are coherent with the counter-mainstream discourse that is the Feminist's discourse. 3.) The content of discourse toward sexual freedom in each media is in the same direction; conservative more than progressive, that is due to the double standard in Thai society. For the format, there are the differences between each media because the difference of media's characteristics.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/947
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.551
ISBN: 9741709668
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.551
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Jinnapat.pdf2.3 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.