Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9493
Title: | การวิเคราะห์ความไม่คงตัวของข้อมูลอุทกวิทยา |
Other Titles: | Nonstationarity analysis of hydrologic data |
Authors: | อมราพร จิตประไพ |
Advisors: | ชัยยุทธ สุขศรี วีระพล แต้สมบัติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | fengcsk@chulkn.car.chula.ac.th, Chaiyuth.S@chula.ac.th ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | น้ำฝน -- การวัด อุทกวิทยา ฝน -- ไทย การวิเคราะห์อนุกรมเวลา ลุ่มน้ำปิง |
Issue Date: | 2541 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิเคราะห์ความไม่คงตัว (Nonstationarity Analysis) ของข้อมูลอุทกวิทยา มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ลักษณะการเปลี่ยนแปลงตามเวลาและวิเคราะห์แนวโน้ม (Trend Analysis) ของข้อมูล โดยเลือกใช้การวิเคราะห์ข้อมูลปริมาณน้ำฝนในลุ่มน้ำปิงซึ่งตั้งอยู่ในภาคเหนือของประเทศไทย เนื่องจากมีการเก็บบันทึกข้อมูลมาเป็นเวลานาน และมีสถานีวัดน้ำฝนตั้งกระจายอยู่ในพื้นที่ โดยใช้วิธี Moving Average การวิเคราะห์ด้วยกราฟค่าสะสมเฉลี่ย การตรวจสอบด้วยค่าสหสัมพันธ์ภายในตัวแปร (Autocorrelation) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบใช้ตัวพารามิเตอร์ (Parametric Analysis) และการตรวจสอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ตามตำแหน่งของ Spearman (Spearman Rank-Correlation Coefficient) ซึ่งเป็นการวิเคราะห์แบบไม่ใช้ตัวพารามิเตอร์ (Non-Parametric Analysis) และเปรียบเทียบผลการวิเคราะห์แนวโน้มจากวิธีการต่างๆ ทั้ง 2 แบบ ข้อมูลที่ใช้เป็นข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายปีและข้อมูลปริมาณน้ำฝนรายเดือนบางเดือนของสถานีตัวแทน โดยเลือกสถานีในลุ่มน้ำปิงที่มีการเก็บบันทึกข้อมูลยาวนานประมาณ 40 ปี ขึ้นไป และตรวจสอบสถานีวัดน้ำฝนโดยการสำรวจภาคสนาม รวมทั้งตรวจสอบข้อมูลเพื่อกำจัดความคลาดเคลื่อน (Errors) ด้วยการวิเคราะห์กราฟอนุกรมเวลา (Time Series Plot) และ Double Mass Analysis จากนั้นจึงวิเคราะห์ความไม่คงตัว และแนวโน้มโดยใช้วิธีการต่างๆ ทั้ง 2 แบบดังกล่าว ข้อสรุปที่ได้จากการวิเคราะห์ด้วยวิธีต่างๆ พบว่า ข้อมูลน้ำฝนเป็นอนุกรมเวลาที่มีลักษณะความไม่คงตัว โดยพบแนวโน้มลักษณะวงจรที่ชัดเจน การวิเคราะห์แนวโน้มฝนของลุ่มน้ำปิง โดยแบ่งพื้นที่ลุ่มน้ำออกเป็นส่วนๆ ตามสภาพที่ตั้งและกลุ่มข้อมูล พบว่าไม่สามารถสรุปได้ว่าลุ่มน้ำปิงมีแนวโน้มฝนลดลงหรือไม่ เนื่องจากผลการวิเคราะห์ของแต่ละจุดโดยหลายวิธีให้ผลสรุปเกี่ยวกับแนวโน้มที่ไม่ตรงกัน แสดงให้เห็นว่าในพื้นที่ลุ่มน้ำปิงไม่ได้มีแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงทั้งพื้นที่รวมทั้งผลการวิเคราะห์แนวโน้มโดยรวมแล้วพบว่า ข้อมูลฝนรายปียังไม่มีแนวโน้มลดลงที่ชัดเจน ส่วนผลการวิเคราะห์แนวโน้มของฝนรายเดือนส่วนใหญ่พบว่าไม่มีแนวโน้มลดลง ทางด้านวิธีการวิเคราะห์แนวโน้ม ทุกวิธีที่เลือกใช้ต่างมีประสิทธิภาพดีในการวิเคราะห์ความไม่คงตัวของข้อมูลปริมาณน้ำฝน โดยวิธีแบบใช้ตัวพารามิเตอร์ซึ่งคุ้นเคยและนิยมใช้ แต่จำเป็นต้องตั้งสมมติฐานเกี่ยวกับชนิดและการกระจายของชุดข้อมูล และใช้การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อคำนวณหาค่าพารามิเตอร์ที่เหมาะสม เพื่อให้ได้ผลการวิเคราะห์ที่ยอมรับได้ตามสมมติฐาน รวมทั้งสรุปผลการวิเคราะห์ที่ได้จากการอ่านกราฟซึ่งต้องตั้งอยู่บนสมมติฐานและการตัดสินใจของผู้วิเคราะห์ ในขณะที่การวิเคราะห์แบบไม่ใช้ตัวพารามิเตอร์ซึ่งยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนั้นไม่ขึ้นกับสมมติฐานและการตัดสินใจของผู้วิเคราะห์ รวมทั้งสามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน ไม่ว่าชุดของข้อมูลจะมีแนวโน้มเป็นแบบเส้นตรง หรือแนวโน้มแบบไม่เป็นเส้นตรง การตรวจสอบด้วยค่าสัมประสิทธิ์ความสัมพันธ์ตามตำแหน่งของ Spearman โดยการเปรียบเทียบค่าลำดับของข้อมูลตามเวลาที่บันทึกไว้กับค่าลำดับโดยเรียงค่าของข้อมูลจากน้อยไปมาก และสามารถทดสอบข้อมูลทั้งชุดข้อมูลและทดสอบข้อมูลเป็นช่วง ๆ เพียงบางช่วงได้ ดังนั้นเพื่อให้เกิดความมั่นใจ และมีเหตุผลในการสรุปผลมากขึ้น ในการวิเคราะห์แวโน้มการเปลี่ยนแปลงใด ๆ จึงควรใช้การวิเคราะห์แบบไม่ใช้ตัวพารามิเตอร์ เพื่อประกอบ และเปรียบเทียบกับวิธีการอื่นหลาย ๆ วิธี ก่อนที่จะสรุปผล |
Other Abstract: | The nonstationarity analysis of hydrologic data is amimed at analysing changes and trends in the time series data. Rainfall data from the Ping River Basin, located in the northern part of Thailand, was used since it had considerable length of records and rather high number of recording stations distributed over the watershed. The "Parametric Analysis" methods such as: the Moving Average, the Analysis of Mean Accumulated Rainfall and the Autocorrelation Analysis; together with one of the "Non-parametric Analysis," i.e. the Spearman Rank-Correlation Coefficient were employed, the outcomes were then also compared. Annual and selected monthly rainfall data from the "representative" stations which have sufficient of record, over 40 years, were used. Field observations on the conditions of the recording stations including data testing to eliminate errors with the Time Series Plot and the Double Mass Analysis were performed to check the quality and the consistency of the compiled data before carrying out the nonstationarity and trend analyses. The results of these various analyses indicated that the rainfall data of the Ping Basin can be characterized as a time series with nonstationarity and acute cyclic/periodic trend. By dividing the watershed into sub-watersheds according to the geographical location and data groups, and using various techniques to detect a negative trend, i.e., a persistent reduction in rainfall, the analyses gave inconclusive results. Since the analyses of each particular station with different methods rendered different conclusions on trend, these indicates that the watershed's rainfall does not have the negative trend all over the whole area. Furthermore, the overall analysis of trend showed that the annual rainfall data did not have significant negative trend, while the monthly rainfall data did not present any negative trend. Though all the "parametric analysis" methods employed in this study do provide efficient way for analysing and detecting trends and they are also well-known and popular, yet they require the analyzer to make a critical assumption on the type and the distribution function of data, and require the statistical technique for determining the proper parameters. Furthermore, they rely, subjectively, on the interpretation of the graphical results which are also based upon assumptions and decisions of the analyzer. While the non-parametric analysis one, though not yet well-known, does not depend upon the assumption on the distribution function, it can be independently analyze, easy and precise, and can be used on the data set which containing both linear and non-linear trends. Therefore, in any nonstationarity analysis of hydrologic data before making any conclusion about the nonstationarity and the trend, various methods both parametric and non-parametric should be used to increase the reliability and to provide more logical reasons for making conclusions and the non-parametric "Spearman Rank-Correlation Coefficient" method was recommended. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมแหล่งน้ำ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9493 |
ISBN: | 9746395718 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amraporn_Ji_front.pdf | 1.59 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amraporn_Ji_ch1.pdf | 901.96 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amraporn_Ji_ch2.pdf | 1.2 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amraporn_Ji_ch3.pdf | 973 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amraporn_Ji_ch4.pdf | 1.18 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amraporn_Ji_ch5.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amraporn_Ji_ch6.pdf | 996.87 kB | Adobe PDF | View/Open | |
Amraporn_Ji_ch7.pdf | 3.13 MB | Adobe PDF | View/Open | |
Amraporn_Ji_back.pdf | 6.86 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.