Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9554
Title: | กลยุทธการใช้สื่อเพื่อปลูกฝังโภชนศึกษาแก่สตรีชนบท จังหวัดสุพรรณบุรี |
Other Titles: | Media utilization strategies in establishing nutrition education concept in the rural women of Suphan Buri province |
Authors: | ดวงทิพย์ วรพันธุ์ |
Advisors: | อรวรรณ ปิลันธน์โอวาท |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Orawan.P@Chula.ac.th |
Subjects: | การสื่อสาร โรคขาดอาหาร โภชนาการ การเปิดรับสื่อมวลชน สตรีชนบท -- ไทย -- สุพรรณบุรี |
Issue Date: | 2525 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การปลูกฝังโภชนศึกษาหรือการให้ความรู้ การส่งเสริมทัศนคติและการปฏิบัติตนด้านโภชนาการอย่างถูกต้องเพื่อให้มีภาวะโภชนาการดีโดยการใช้สื่อบุคคล สื่อมวลชน และสื่อเฉพาะกิจ เป็นวิธีการที่ดีวิธีการหนึ่งที่จะช่วยลดหรือแก้ไขปัญหาทุพโภชนาการ การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ทั่วไปคือ ต้องการศึกษากลยุทธการใช้สื่อเพื่อสนับสนุนโครงการโภชนาการตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2525-2529) และมีวัตถุประสงค์เฉพาะ 1. เพื่อทราบผลเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมการเปิดรับและการไม่เปิดรับสื่อจากการปลูกฝังโภชนศึกษาของสตรีชนบท 2. เพื่อทราบผลเปรียบเทียบระหว่างการใช้สื่อผสมผสานและการใช้สื่อเพียงประเภทเดียวในการปลูกฝังโภชนศึกษาแก่สตรีชนบท 3. เพื่อหาความแตกต่างของการใช้สื่อต่างประเภทกันคือ สื่อบุคคล สื่อมวลชน สื่อเฉพาะกิจ ในการปลูกฝังโภชนศึกษาแก่สตรีชนบท 4. เพื่อสำรวจความรู้ ทัศนคติ และการปฏิบัติตนด้านโภชนาการของสตรีชนบท ซึ่งมีลักษณะทางเศรษฐกิจและสังคมแตกต่างกัน โดยศึกษาจากสตรีวัยเจริญพันธุ์อายุ 15-45 ปี โสดหรือสมรสแล้ว ยังไม่มีบุตร กำลังตั้งครรภ์ อำเภอศรีประจันต์ จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน 128 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มที่ได้เคยได้รับการปลูกฝังโภชนศึกษาโดยสื่อมี 68 คน และกลุ่มไม่เคย 60 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. การปลูกฝังโภชนศึกษาสามารถใช้สื่อประเภทใดประเภทหนึ่งใน 3 ประเภทคือ สื่อบุคคล สื่อมวลชน หรือ สื่อเฉพาะกิจ 2. การปลูกฝังโภชนศึกษาไม่จำเป็นต้องใช้สื่อผสมผสานเสมอไป 3. การใช้สื่อเพื่อปลูกฝังโภชนศึกษาให้สตรีชนบทได้มีความรู้ ทัศนคติที่ดีและการปฏิบัติตนด้านโภชนาการที่ถูกต้องควรคำนึงถึงความแตกต่างด้านสถานภาพสมรส, ระดับการศึกษา, ความสามารถในการอ่านเขียน และลักษณะครัวเรือน 4. การใช้สื่อมวลชนโดยเฉพาะวิทยุกระจายเสียง สามารถเข้าถึงสตรีชนบทได้มากกว่าสื่อโทรทัศน์ แต่การใช้วิทยุเพื่อปลูกฝังโภชนศึกษาอาจต้องมีรูปแบบของรายการสอดคล้องกับนิสัยการใช้สื่อหรือความนิยมของสตรีกลุ่มเป้าหมาย เช่น เพลงลูกทุ่ง ละครวิทยุ และ 5. การใช้สื่อทุกประเภทเพื่อปลูกฝังโภชนศึกษาแก่สตรีชนบทควรคำนึงถึงความบ่อยครั้งในการเปิดรับสื่อแต่ละประเภทได้อย่างสม่ำเสมอ |
Other Abstract: | The malnutrition problem among some groups of the Thai population is the important and most urgent nutritional problem of the nation. As a matter of fact, the people who either suffer from or die of malnutrition are certainly a loss in human resources. Thus it renders direct effects to national development especially economic development. Hereupon, one of the best avenues to mininize or solve the malnutrition problem is to establish nutritional education, to educate, to advocate the right attitudes and to have the right nutritional practice. These can be carried out by means of interpersonal media, mass media and specialized media. Consequently the study of "Media Utilization sTrategies in Establishing Nutrition Education Concept in the Rural Women of Suphan Buri province" is a matter of interest and need in order to know the different media officiency in promoting nutritional education. The thesis investigates the accessibility of different types of media of the target audience as well as to find out the media strategies to obtain the optimum results. Thereby, the findings on media utillisation will be applied to establish nutritional education among the people in other regions of the country following the main social goals as declared by the World Health Organization : Health for all by the year 2000. The general objective of this research is to study the media utilization strategies in support of the fifth Five-Year Developemtn Plan (1982-1986) while the specific objectives are as follows: 1. to examine the knowledge, attitude, and practice of the women exposed and not exposed to the media on nutritional education. 2. to compare the utilization of integrated media and one particular type of media in establishing nutritional edcation among the rural women. 3. to determine the differences of utilizing various types of media i.e. interpersonal media, mass media and specialized media in establishing nutritional education among the rural women. 4. to conduct a survey on the nutritional knowledge, attitudes and practice among the rural women who have different economic and social characteristics. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2525 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การประชาสัมพันธ์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9554 |
ISBN: | 9745609897 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Duangthip.pdf | 15.11 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.