Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9566
Title: การพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาลโดยใช้การประเมินผลแบบพอร์ทโฟลิโอ
Other Titles: A development of mathematical ability of kindergarten children by using portfolio assessment
Authors: ปิยรัตน์ โพธิ์สอน
Advisors: ดวงเดือน อ่อนน่วม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Duangduen.O@chula.ac.th
Subjects: คณิตศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
เด็กวัยก่อนเข้าเรียน
ความสามารถทางคณิตศาสตร์
แฟ้มผลงานทางการศึกษา
Issue Date: 2542
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีจุดประสงค์ เพื่อพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์ของเด็กอนุบาลโดยใช้การประเมินผลแบบพอร์ทโฟลิโอ ตัวอย่างประชากร เป็นเด็กอนุบาลชั้นปีที่ 2 อายุ 5-6 ปี จำนวน 40 คน แบ่งออกเป็นกลุ่มทดลอง 20 คน กลุ่มควบคุม 20 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบความสามารถทางคณิตศาสตร์ นักเรียนในกลุ่มทดลองได้รับการบูรณาการการเรียนการสอนกับการประเมินผลแบบพอร์ทโฟลิโอ ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการบูรณาการการเรียนการสอนกับการประเมินผลแบบไม่ใช้พอร์ทโฟลิโอ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ t-test เพื่อเปรียบเทียบความสามารถทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม ผลการวิจัยพบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนในกลุ่มทดลอง มีค่าสูงกว่าค่าเฉลี่ยของคะแนนความสามารถทางคณิตศาสตร์ที่เพิ่มขึ้นของนักเรียนในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this study was to develop mathematical ability of kindergarten children by using portfolio assessment. The subjects of the study were 40 kindergarten children ages five to six, devided into 2 groups; 20 in the experimental group and 20 in the control group. The instrument used in this study was a mathematical ability test. Students in the experimental group were taught by using portfolio assessment integrated with mathematics teaching. In the control group, students were taught by using contemporary method of assessment integrated with mathematics teaching. Data were analyzed by using t-test to compare mathematical ability of students in the experimental group and control group. It was found that the difference between mathematical ability mean scores of students in the experimental group was greater than in the control group at .05 level of significance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาปฐมวัย
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9566
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.1999.451
ISBN: 9743337091
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.1999.451
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Piyarat_Po_front.pdf756.94 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_Po_ch1.pdf784.94 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_Po_ch2.pdf1.09 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_Po_ch3.pdf874.88 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_Po_ch4.pdf706.22 kBAdobe PDFView/Open
Piyarat_Po_ch5.pdf1.94 MBAdobe PDFView/Open
Piyarat_Po_back.pdf1.92 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.