Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9567
Title: | ผลของเอทานอลต่อการหลั่งลูทิไนซิ่งฮอร์โมนจากเซลล์ต่อมใต้สมอง ของหนูแรทในหลอดทดลอง |
Other Titles: | Effect of ethanol on the secretion of luteinizing hormone from rat pituitary cells in vitro |
Authors: | อัมพร ทองกู้เกียรติกูล |
Advisors: | หรรษา อัศวเรืองชัย |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย |
Advisor's Email: | ไม่มีข้อมูล |
Subjects: | หนู เอทานอล แอลกอฮอล์ ลูทิไนซิงฮอร์โมน |
Issue Date: | 2531 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | เพื่อที่จะศึกษาผลของเอทานอล 0.4% และ 0.6% (เทียบได้เท่ากับ 0.13 กรัม/กิโลกรัม น้ำหนักตัว และ 0.2 กรัม/กิโลกรัมน้ำหนักตัว ตามลำดับ) ต่อความสามารถในการหลั่งลูทีไนซึ่งฮอร์โมน (rLH) โดยใช้วิธีเพาะเลี้ยงเซลล์ต่อมใต้สมองส่วนหน้าของหนูแรทเพศเมียอายุ 150-200 วัน ทำการทดลองภายหลังจากพรีอินคิวเบชัน (preincubation) 48 ชั่วโมง การทดลองทำเริ่มเลี้ยงเซลล์ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีเอทานอล 0.4% และ 0.6% ควบคู่ไปกับกลุ่มควบคุม จากนั้นเปลี่ยนอาหารเลี้ยงเซลล์ เมื่อครบ 24 ชั่วโมง แล้วเลี้ยงเซลล์ต่อไปในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่ไม่มีเอทานอลควบคู่ไปกับกลุ่มควบคุมอีก 2 วัน โดยเปลี่ยนอาหารเลี้ยงเซลล์ทุก 24 ชั่วโมง ตรวจหาระดับ rLH ในอาหารเลี้ยงเซลล์ด้วยวิธีไบโอแอสเลย์ (Bioassay) และเรดิโออิมมิวโนแอสเสย์ (Radioimmunoassay) ผลการทดลองพบว่าเอทานอลทั้ง 2 ปริมาณ 0.4% และ 0.6% ไม่มีผลทำให้ค่าอิมมิวโนแอคทิวิตีเปลี่ยนแปลงจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่มีผลทำให้ค่าไบโอแอคทิวิตีที่ตรวจได้ใน 24 ชั่วโมงแรกลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ โดยลดลงประมาณ 20% เมื่อให้เอทานอล 0.4% และลดลงประมาณ 50% เมื่อให้เอทานอล 0.6% และค่าไบโอแอคทิวิตีจะเพิ่มขึ้นภายหลังจากล้างเอทานอลออก 24 ชั่วโมง (ไม่แตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ) เพื่อตรวจสอบว่าเอทานอลจะมีผลลดไบโอแอคทิวิตีของ rLH อย่างต่อเนื่อง ถ้าให้เอทานอลต่อไปอีก 2 ครั้ง จึงทำการทดลองที่ 2 โดยเลี้ยงเซลล์ในอาหารเลี้ยงเซลล์ที่มีเอทานอล 0.4% และ 0.6% ควบคู่ไปกับกลุ่มควบคุมเช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 โดยกลุ่มทดลองจะให้เอทานอล 24 ชั่วโมง สลับกับการไม่ให้เอทานอล 24 ชั่วโมง จนครบทั้งหมด 6 ครั้ง แล้วตรวจหาระดับ rLH ในอาหารเลี้ยงเซลล์ทั้งในกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลองด้วยวิธีไบโอแอสเสย์ ผลการทดลองพบว่า เอทานอลมีผลลดค่าไบโอแอคทิวิตีแตกต่างจากกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และจะเพิ่มภายหลังจากล้างเอทานอลออก 24 ชั่วโมง เช่นเดียวกับการทดลองที่ 1 และค่าไบโอแอคทิวิตีมีแนวโน้มจะลดลงในวันที่ 4 และ 6 เมื่อให้เอทานอลซ้ำอีก 2 ครั้ง ผลการทดลองชี้ให้เห็นว่าเอทานอลปริมาณ 0.4% และ 0.6% มีผลโดยตรงต่อเซลล์ต่อมใต้สมองภายใน 24 ชั่วโมงแรกอย่างมีนัยสำคัญโดยไปลดค่าไบโอแอคทิวีตีของ rLH แต่ไม่มีผลต่อปริมาณฮอร์โมนทั้งหมดที่หลั่งออกมา (วัดโดยวิธีเรดิโออิมมิวโนแอสเสย์) และการให้เอทานอลสลับกับการไม่ให้เอทานอลให้ผลยืนยันว่าเอทานอลมีผลลดไบโอแอคทิวิตีประมาณ 11% (ให้เอทานอล 0.4%) และ 21% (ให้เอทานอล 0.6%) ผลการวิจัยครั้งนี้จึงอาจสรุปได้ว่า แม้ว่าปริมาณลูทิพนซึงฮอร์โมนที่หลั่งออกมาจากเซลล์ต่อมใต้สมองจะคงเดิม แต่คุณสมบัติทางชีวภาพของฮอร์โมนจะถูกเปลี่ยนไปอันเป็นผลเนื่องจากเอทานอล ทำให้ LH สูญเสียความสามารถในการกระตุ้นเซลล์เป้าหมาย |
Other Abstract: | This investiqation was carried out to determine the effect of ethanol at the concentration of 0.4% and 0.6%, equivalent to 0.13 and 0.2 gm./kgB.W. accordingly, on the ability of anterior pituitary cells to secrete luteinizing hormone (rLH). The experiment employed rat pituitary cells culture system harvested from 150-200 day old rat. Ethanol treatment was started after 48 hr. preincubation of pituitary cells in the plain medium. Experiment I, after 24 hr. incubation of the cells with ethanol, culture medium was collected along with the controls. The fresh medium was then added to all dishes. This incubation without ethanol was carried on for two more days with medium collected every 24 hr. rLH level in the medium was measured by mouse Leydig cells in vitro bioassay and double antibody radioimmunoassay. After 24 hr. exposure to ethanol, the result showed that ethanol did not cause any significant changes in radioimmunoactivity of rLH whereas it significantly decreased bioactivity by 20% and 50% for 0.4% and 0.6% ethanol respectively. LH bioactivity came back to the control level at the 24 hr. after removing ethanol. To check whether the decrease in bioactivity of rLH caused by ethanol could be further suppressed if ethanol treatment was repeated for a few successions. The experiment II was designed for having pituitary cells exposed to ethanol at the same concentration used in experiment I. The treatment was repeated at every alternating day of medium change for the total of 3 treatments. Bioactivity of rLH in the medium was then measured in both the control and the treatment groups. Suppression on LH bioactivity was evidenced again as in the experiment I. Bioactivity of rLH still returned to the same level as in the control group within 24 hr. However it was noticed that there was a tendency of further bioactivity suppression on day 4 and 6 after repeating the treatments. The finding indicated that ethanol has the direct effect on the pituitary cells' function by lowering bioactivity of rLH secreted at the first 24 hr. of exposure. Although the amount of rLH secreted was not changed, this was indicated by no change in radioimmunoactivity of the hormone. Repeat the ethanol exposure for 3 consecutive rounds of with and without ethanol still confirmed the effect of ethanol on lowering rLH bioactivity by 11% and 21% for 0.4% and 0.6% ethanol by the end of 6 days. In conclusion this study has shown that although pituitary cells secreted luteinizing hormone with constant amount in the presence of ethanol as indicated by radioimmunoassay, the bioactivity of this hormone was suppressed as shown by loosing the ability to stimulate its target cells. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2531 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | สัตววิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9567 |
ISBN: | 9745693499 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Grad - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Amporn.pdf | 7.96 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.