Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/960
Title: การใช้สัญญะและรหัสในการสื่อความหมายของบริการข้อความสั้นจากโทรศัพท์เคลื่อนที่
Other Titles: Sign and code usage for signification of short message service (SMS) in mobile phone
Authors: กมลวรรณ พรหมพิทักษ์, 2518-
Advisors: ศิริชัย ศิริกายะ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์
Advisor's Email: Sirichai.S@chula.ac.th
Subjects: โทรศัพท์เคลื่อนที่
บริการส่งข้อความทางโทรศัพท์
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเรื่อง การใช้สัญญะและรหัสในการสื่อความหมายของบริการข้อความสั้นจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้เข้าใจถึงวิธีการประกอบสร้างความหมายของสัญญะและรหัสภาษาในข้อความสั้น และเพื่อให้เข้าใจถึงการเข้ารหัสความหมายของข้อความสั้นในการสื่อสารด้วยโทรศัพท์เคลื่อนที่ในแต่ละวาระโอกาสทางการสื่อสารคือ วันคริสต์มาส วันปีใหม่ วันวาเลนไทน์และวันครบรอบวันเกิด โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับการใช้คำย่อในกลุ่มผู้ใช้คอมพิวเตอร์ด้วยกัน แนวคิดเกี่ยวกับรหัสของการ์ตูน แนวคิดเกี่ยวกับอสัญรูปและแนวคิดเกี่ยวกับมุขของการ์ตูนมาเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า การประกอบสร้างความหมายของสัญญะ อสัญรูปและรหัสภาษาที่เป็นภาพนั้น เป็นการนำคุณลักษณะร่วมบางประการของแบบแผนจากประสบการณ์จริง มาประกอบสร้างเป็นภาพการ์ตูน แล้วจึงนำภาพการ์ตูนมาเป็นแม่แบบในการประกอบสร้างเป็นภาพ โดยใช้ตัวอักษรและเครื่องหมายในโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวมาประกอบกัน ส่วนการประกอบสร้างความหมายของสัญญะ อสัญรูปและรหัสภาษาที่เป็นข้อความนั้น มีการประกอบสร้างตามรหัสไวยากรณ์ภาษาอังกฤษ สัญลักษณ์และอสัญรูปที่กำหนดขึ้นมาใช้เฉพาะคือ คำย่อ ภาษาคาราโอเกะ เครื่องหมายที่แสดงออกถึงอารมณ์ ความรู้สึกและสัญรูปอารมณ์ เมื่อนำภาพและข้อความที่ได้มาเข้ารหัสความหมายภายใต้ปริบทวาระและโอกาสทางการสื่อสารดังกล่าวพบว่า มีการใช้ภาพและข้อความร่วมกันได้
Other Abstract: The research of sign and code usage for signification of short message service (SMS) in mobile phone is to find out the construction of sign and code which are graphic and words and encoded together in different occasions such as Christmas Day, New Year's Day, Valentine's Day and Birthday Anniversary. This research employs the qualitative method and the concepts of Acronyms used in the Computer Coummunity, Cartoon Code, "Greeking" concept and Gags. The research results show that the construction of the graphic uses patterns recognition to identifying shape and characteristics then creates the cartoon in order to be a model for construction of the graphic. It uses a set of capital and small letters, numerals, punctuation marks and special symbols available in mobile phone that have special identify to make a new meaning. The construction of words is done by two methods : (1) by the use of grammar in English and (2) by the use of special symbols such as acronyms, karaoke language, expression symbols and emoticons. Finally when the user encodes by using the combinations of both graphic and words in different occasions it shows that, they can be substituted.
Description: วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การสื่อสารมวลชน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/960
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2002.555
ISBN: 9741718306
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2002.555
Type: Thesis
Appears in Collections:Comm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamonwan.pdf8.63 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.