Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9613
Title: การเตรียมปุ๋ยชนิดควบคุมการปลดปล่อยไนโตรเจนจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตรที่ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
Other Titles: Preparation of controlled release nitrogen fertilizer from biodegradable agricultural waste
Authors: ศิริพร เชาว์เมธีวุฒิ
Advisors: อมร เพชรสม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Amorn.P@Chula.ac.th
Subjects: ปุ๋ยไนโตรเจน
ปุ๋ยไนโตรเจน -- การควบคุม
ของเสียทางการเกษตร
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารของปุ๋ย ไนโตรเจนชนิดควบคุมการปลดปล่อย ซึ่งมีการเตรียมปุ๋ยโดยใช้ชานอ้อยเป็นตัวดูดซับปุ๋ย หลังจากนั้นเคลือบปุ๋ยด้วยวัสดุพอลิเมอร์ 2 ชนิด คือ พอลิไวนิลอะซิเตตและชันสน อัตราส่วนโดยน้ำหนักของปุ๋ยต่อชานอ้อยต่อสารเคลือบแบ่งเป็น 6 อัตราส่วน และทำการศึกษาอิทธิพลของปัจจัยต่าง ๆ ที่มีต่ออัตราการปลดปล่อยธาตุอาหาร ซึ่งปัจจัยที่ทำการศึกษา ได้แก่ ปริมาณของสารเติมแต่งในสูตรผสม และสภาพความเป็นกรดหรือเบสของตัวกลาง รวมทั้งศึกษาอัตราการปลดปล่อย ธาตุอาหารของปุ๋ยที่เตรียมโดยการทำไมโครเอนแคปซูเลชันโดยใช้พอลิสไตรีนผลการ ศึกษาพบว่าปุ๋ยที่เคลือบด้วยพอลิไวนิลอะซิเตตมีอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหาร สูงกว่าปุ๋ยที่เคลือบด้วยชันสน โดยอัตราส่วนระหว่างปุ๋ยต่อชานอ้อยต่อชันสนที่ทำให้ปุ๋ยมีอัตราการปลดปล่อย ต่ำที่สุด คือ 20:20:60 (สูตร 6) ซึ่งมีค่าคงที่การปลดปล่อยและระยะเวลาในการปลดปล่อยสารประกอบไนโตรเจนออกมา 50% เท่ากับ 8.14% day[superscript -1/2] และ 37.7 วัน ตามลำดับ อัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารมีค่าลดลงเมื่อมีการเติมซีโอไลต์ในสูตรผสม (สูตร 10) โดยทำให้ปุ๋ยมีค่าคงที่การปลดปล่อยและระยะเวลาในการปลดปล่อย สารประกอบไนโตรเจนออกมา 50% เท่ากับ 7.85% day[superscript -1/2] และ 40.58 วัน ตามลำดับ ในขณะที่อัตราการ ปลดปล่อยธาตุอาหารมีค่าเพิ่มขึ้นเมื่อตัวกลางมีพีเอชเป็นเบส โดยทำให้ปุ๋ยมีค่าคงที่การปลดปล่อยเพิ่มขึ้น 1.47% day[superscript -1/2] และมีระยะเวลาในการปลดปล่อยสารประกอบไนโตรเจนออกมา 50 % ลดลง 5.03 วัน ปุ๋ย แคปซูลที่เตรียมจากพอลิสไตรีนมีอัตราการปลดปล่อยธาตุอาหารต่ำกว่าปุ๋ยที่ เตรียมจากชานอ้อย ซึ่งอัตราส่วนระหว่างปุ๋ยต่อพอลิสไตรีนต่อชันสนที่เหมาะสม คือ 40:40:20 และมีค่าคงที่การปลดปล่อยและระยะเวลาในการปลดปล่อยสารประกอบไนโตรเจนออกมา 50% เท่ากับ 6.7% day[superscript -1/2] และ 55.65 วัน ตามลำดับ
Other Abstract: The objective of this research work is to study the release rate of the controlled release nitrogen fertilizer, which was prepared by using bagasse as fertilizer absorbent. The fertilizer was then coated with 2 polymers: polyvinyl acetate and rosin. The weight ratio of fertilizer to bagasse to coating substance was divided into 6 ratios. The effects of the amount of the additive used in the formulations and the pH of the aqueous medium were investigated. The studied factors were the amount of additive used in the formulations and the pH of the aqueous medium. The study of the release rate of the fertilizer that was prepared by microencapsulation using polystyrene was also included. The results indicated that the polyvinyl acetate coated fertilizer gave higher release rate than the rosin coated fertilizer. The ratio of fertilizer to bagasse to rosin which provided the minimum release rate was 20:20:60, that is, formula 6 had the release rate constant and time for 50% nitrogen compound release at 8.14% day[superscript -1/2] and 37.7 days, respectively. The release rate was found to decrease with the additive of zeolite into the formulations, that is, formula 10 had the release rate constant and time for 50% nitrogen compound release at 7.85% day[superscript -1/2] and 40.58 days, respectively. The release rate was found to increase with the alkallanity of the aqueous medium, which had 1.47% day[superscript -1/2] increase in the release rate constant and 5.03 days decrease in time for 50% nitrogen compound release. The microcapsule fertilizer prepared from polystyrene gave less release rate than the fertilizer prepared from bagasse. The optimum ratio of fertilizer to polystyrene to rosin was 40:40:20, that is, formula 12 had the release rate constant and time for 50% nitrogen compound release at 6.7% day[superscript -1/2] and 55.65 days, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์สภาวะแวดล้อม (สหสาขาวิชา)
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9613
ISBN: 9741703708
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
SiripornChao.pdf1.22 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.