Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9615
Title: การพัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพชิ้นส่วนใหม่จากการจัดซื้อชิ้นส่วนยานยนต์ : กรณีศึกษาโรงงานผลิตเครื่องปรับอากาศรถยนต์
Other Titles: Development of new part quality approval process for purchasing automotive parts : a case study of automotive air condition factory
Authors: สุพจน์ ชุนรัตนชัย
Advisors: ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Damrong.T@chula.ac.th
Subjects: รถยนต์ -- ชิ้นส่วน
การควบคุมคุณภาพ
ประกันคุณภาพ
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพชิ้นส่วนยานยนต์ สำหรับชิ้นส่วนที่จัดซื้อจากผู้ผลิตชิ้นส่วนภายในประเทศ โดยทางผู้ประกอบการรถยนต์ตัวอย่างมีนโยบายที่จะพัฒนากระบวนการรับรองคุณภาพ ชิ้นส่วน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพ ชิ้นส่วนที่จัดซื้อจากผู้ส่งมอบในประเทศ การพัฒนาระบบการรับรองคุณภาพชิ้นส่วน จะพิจารณาจากสภาพการรับรองคุณภาพชิ้นส่วนในปัจจุบัน ว่ามีปัญหาหรือข้อบกพร่องใดบ้างที่ควรปรับปรุงแก้ไข จากการวิเคราะห์กระบวนการรับรองคุณภาพชิ้นส่วนในปัจจุบันพบว่า กระบวนการรับรองคุณภาพชิ้นส่วนปัจจุบันยังไม่มีการกำหนดให้ผู้ส่งมอบสร้าง ระบบประกันคุณภาพโดยอาศัยเครื่องมือด้านคุณภาพต่างๆ มาประยุกต์ เช่น การวิเคราะห์ลักษณะข้อบกพร่องและผลกระทบ (PFMEA), การศึกษาความสามารถของกระบวนการ (CP), การวิเคราะห์ระบบการวัด (MSA) เป็นต้น ซึ่งการนำเครื่องมือด้านคุณภาพดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับผู้ส่งมอบในการ เสนออนุมัติรับรองคุณภาพชิ้นส่วน ซึ่งจะจัดทำเป็นคู่มือกระบวนการรับรองคุณภาพชิ้นส่วน โดยกำหนดเป็นเงื่อนไขต่างๆ ที่ผู้ส่งมอบต้องปฏิบัติตามในการเสนออนุมัติรับรองคุณภาพชิ้นส่วน การทดลองใช้คู่มือกระบวนการรับรองคุณภาพชิ้นส่วนใหม่ที่จัดทำขึ้นกับผู้ผลิต ชิ้นส่วนเครื่องปรับอากาศรถยนต์พบว่าผู้ส่งมอบรายนี้สามารถปฏิบัติตาม เงื่อนไขกระบวนการรับรองคุณภาพชิ้นส่วนได้ โดยได้สร้างระบบประกันคุณภาพตามข้อกำหนดของกระบวนการรับรองคุณภาพชิ้นส่วน ของผู้ประกกอบการรถยนต์ เช่น การจัดทำ PFMEA, CPk, MSA เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เชื่อมั่นได้ว่าชิ้นส่วนที่ผ่านการรับรองคุณภาพแล้วจะมีจำนวน ชิ้นส่วนบกพร่องที่ลดน้อยลง พิจารณาจำนวนชิ้นส่วนบกพร่องภายหลังชิ้นส่วนผ่านการอนุมัติรับรองคุณภาพแล้ว พบว่าจำนวนชิ้นส่วนบกพร่องมีแนวโน้มลดลง โดยเปรียบเทียบจำนวนชิ้นส่วนบกพร่องในช่วง 4 เดือนก่อนและหลังการปรับปรุงพบว่าจำนวนชิ้นส่วนบกพร่องลดลงจาก 148, 135, 143, 152 PPM ในช่วงเดือน ก.ค.-ต.ค. เหลือ 124, 108, 110, 102 PPM ในช่วงเดือน พ.ย.-ก.พ.
Other Abstract: The main objective of this study is to develop the quality of part approval process for purchasing automotive parts. The sample automotive company has policies for improving the quality of purchasing parts from local suppliers. In order to develop the part quality approval process will analyze the current of this process. We found the current part quality approval process does not have the requirements of the supplier's quality assurance system reparation and apply quality tools such as Failure Mode and Effective Analysis (FMEA), Capability Process study (CP), Measurement System Analysis (MSA), etc. In order to apply thesis requirement, it must make the manual of part quality approval process and add thesis requirement on it. The supplier must follow the manual when they submit parts for quality approval. The result of trial use the part approval process manual with air condition part supplier. The supplier can follow part aproval manual. Teh supplier has made the quality assurance system such as PFMEA, CPK, MSA etc. The tendency of defective part is reduced after approval. In conclusion, the defect significantly reduced from 148, 135, 143, 152 PPM (between July and October) to 124, 108, 110, 102 PPM (between November and February)
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9615
ISBN: 9740302297
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
supoj.pdf4.45 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.