Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9656
Title: | ผลของการเรียนการสอนวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมโดยวิธีการวิจัยปฏิบัติการ ที่มีต่อมโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม และความสามารถในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 |
Other Titles: | Effects of environmental science instruction by using action research on environmental science concept and environmental problem solving ability of mathayom suksa four students |
Authors: | สุวัฒน์ ไกรมาก |
Advisors: | อลิศรา ชูชาติ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Alisara.C@chula.ac.th |
Subjects: | นิเวศวิทยา -- การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา) วิจัยปฏิบัติการ ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษามโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความสามารถในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม และเพื่อเปรียบเทียบมโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและความสามารถในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างกลุ่มที่เรียนโดยวิธีการวิจัยปฏิบัติการและกลุ่มที่เรียนโดยวิธีปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบทดสอบมโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมและแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. นักเรียนที่เรียนโดยวิธีการวิจัยปฏิบัติการมีมโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีมโนทัศน์เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อมหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 2. นักเรียนที่เรียนโดยวิธีการวิจัยปฏิบัติการมีความสามารถในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และมีความสามารถในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมหลังการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนโดยวิธีปกติอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01 |
Other Abstract: | This study was a quasi-experimental research. The purpose were to study and compare the concepts of environmental science and ability to solve environmental problems. The samples were mathayom suksa four students. The samples were divided into two groups: experimental group learning by action research method and comparative group learning by conventional method. The research instruments were environmental science concept test and the test measurng environmental problems solving ability. The collected data were analyzed by means of arithmetic means, standard deviation and t-test. The research findings were summarized as follows: 1. The students learning by action research method had the post-test score on environmental science concepts higher thanthe pre-test at the .01 level of significance and higher than the post-test of the students learning by conventional method at the .01 level of significance. 2. The students learning by action research method had the post-test score on environmental problems solving ability higher than the pre-test at the .01 level of significance and higher than the post-test of the students learning by conventional method at the .01 level of significance. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | ครุศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การศึกษาวิทยาศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9656 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.580 |
ISBN: | 9741704291 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2001.580 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.