Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9692
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างความคลาดเคลื่อนในการใช้ยากับการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา
Other Titles: Relationship between medication errors and adverse drug events in inpatients of Paholpolpayuhasena Hospital
Authors: สุชาดา เดชเดชะสุนันท์
Advisors: อภิฤดี เหมะจุฑา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะเภสัชศาสตร์
Advisor's Email: Aphirudee.H@Chula.ac.th
Subjects: การใช้ยา
โรงพยาบาล -- ระบบการจ่ายยา
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาและความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอในโรงพยาบาล อีกทั้งยังเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหาในการใช้ยา ส่งผลให้ผู้ป่วยเสียชีวิตหรือพิการได้รวมทั้ง เพิ่มค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาลและตัวผู้ป่วยเอง การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ระหว่างความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาและการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาในผู้ป่วยในของโรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ในระหว่างวันที่ 1 พฤศจิกายน 2544 ถึงวันที่ 31 มกราคม 2545 ศึกษาอัตราและชนิดของการเกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา อัตราและลักษณะของการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ประเภทของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาที่ทำการศึกษา ได้แก่ ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการสั่งใช้ยา ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการคัดลอกรายการยา ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการจ่ายยา ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการบริหารยา และศึกษาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาทั้งที่มีความสัมพันธ์และไม่มีความสัมพันธ์กับความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา จากการติดตามโดยการสังเกตผู้ป่วยทั้งหมด 225 ราย (2,766 ครั้งของการใช้ยาครั้งแรก) บนหอผู้ป่วยอายุรกรรม 2 หอ พบผู้ป่วย 196 ราย (ร้อยละ 87.11) เกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา (946 ครั้งจากการใช้ยาครั้งแรก 2,766 ครั้ง คิดเป็นร้อยละ 34.20) โดยเป็น ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการสั่งใช้ยา 165 ครั้ง (ร้อยละ 5.96) ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการคัดลอกรายการยา 367 ครั้ง (ร้อยละ13.27) ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการจ่ายยา 8 ครั้ง (ร้อยละ 0.29) ความคลาดเคลื่อนที่เกิดจากการบริหารยา 400 ครั้ง (ร้อยละ14.46) และพบอัตราการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาโดยวิธีค้นหาในเชิงลึก 60 ครั้ง พบเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 27 ครั้ง (ร้อยละ 45)เป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่มีความสัมพันธ์กับความคลาดเคลื่อนในการใช้ยา คิดเป็นร้อยละ 2.85 ของความคลาดเคลื่อนในการใช้ยาที่เกิดขึ้นทั้งหมด (946 ครั้ง) หรือคิดเป็นร้อยละ 0.98 ของการใช้ยาที่สังเกตทั้งหมด จากเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา 27 ครั้งเป็นเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยาที่สามารถป้องกันได้ 24 ครั้ง การเกิดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาเป็นสาเหตุของการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา ส่วนหนึ่งและเป็นส่วนที่ป้องกันได้จึงควรที่จะป้องกันการเกิดความคลาดเคลื่อนจากการใช้ยาเพื่อลดการเกิดเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา
Other Abstract: Adverse drug events (ADEs) and medication errors (MEs) during hospitalization are common. These result in patient morbidity and even mortality, as well as in increase in management expenses. The main objective of this study was to determine the relationship between MEs and ADEs in an inpatient department setting at Paholpolpayuhasena Hospital between November 1, 2001-January 31, 2002. The frequency and type of both MEs and ADEs were also studied. MEs were categorized into errors during prescribing, transcribing, dispensing, administration of medication. ADEs were considered as related to MEs and not-related to MEs. Of data obtained from direct observation of 225 patients (2,766 first dose) hospitalized in 2 medical wards, 196 patients (87.11%) were associated with MEs (946 of 2,766 first dose or 34.20%). 165 (5.96%) were due to error in prescribing, 367 (13.27%) to transcribing, 8 (0.29%) to dispensing and 400 (14.46%) to administration. 60 ADEs was found by intensive patient monitoring. Of these 27 ADEs (45%) were related to MEs, which accounted for 2.85% of all MEs (946) or 0.98% of all doses observed. Of 27 ADEs, 24 were considered preventable. MEs are common, although relatively few result in ADEs.However, those that do are preventable.
Description: วิทยานิพนธ์ (ภ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: เภสัชศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เภสัชกรรมคลินิก
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9692
ISBN: 9740317464
Type: Thesis
Appears in Collections:Pharm - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suchada_d.pdf3.04 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.