Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9750
Title: | การสร้างสายพันธุ์กลายที่สะสมสารมัธยันต์จากการย่อยสลายอะซีแนพธิลีนและการติดฉลากด้วยโปรตีนเรืองแสงสีเขียวของ Rhizobium sp. CU-A1 |
Other Titles: | Construction of blocked mutants accumulating acenaphthylene degrading intermediates and green fluorescent protein labelling Rhizobium sp. CU-A1 |
Authors: | ธัญนุช เกรียงไกรพิพัฒน์ |
Advisors: | กอบชัย ภัทรกุลวณิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์ |
Advisor's Email: | kobchai@sc.chula.ac.th |
Subjects: | อะซีแนพธิลีน ไรโซเปียม |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | Rhizobium sp. สายพันธุ์ CU-A1 ที่คัดแยกได้จากตัวอย่างดินที่ปนเปื้อนน้ำมันปิโตรเลียมสามารถย่อยสลายอะซี แนพธิลีนหรือแนพธาลีนเพื่อใช้เป็นแหล่งคาร์บอนและพลังงาน เพื่อศึกษาวิถีการย่อยสลายอะซีแนพธิลีนของสายพันธุ์ CU-A1 ได้ใช้ทรานสโปซอนเพื่อเหนี่ยวนำให้เกิดการกลายพันธุ์ของสายพันธุ์นี้โดยคอน จูเกชัน กับ Eschericia coli สายพันธุ์ S17-1 ที่มีพลาสมิด pSUP2021 เมื่อใช้เซลล์ผู้ให้และเซลล์ผู้รับที่มีการเจริญอยู่ในช่วงต้นของระยะทวีคูณ มาผสมกันในอัตราส่วน 1:1 บ่มที่อุณหภูมิ 30 องศา ซ. เป็นเวลา 24 ชั่วโมงและคัดแยกทรานสคอนจูแกนต์บนอาหารแข็ง CFMM ที่มีกรดโปรโตคาทีคูอิก 1.0 กรัมต่อลิตรและสารปฏิชีวนะกานามัยซิน 50 ไมโครกรัมต่อมิลลิลิตร จะได้ประสิทธิภาพของการทรานสโพสิชันสูงที่สุดเท่ากับ 4.75x10-5 ต่อจำนวนเซลล์ผู้รับ เมื่อตรวจสอบด้วยวิธีเซาเธอร์นไฮบริไดเซชันพบว่าทรานสโปซอน Tn5 มีการแทรกสอดแบบสุ่มบนดีเอ็นเอของ Rhizobium จากทรานสคอนจูแกนต์ทั้งหมด 15,370 สายพันธุ์พบสายพันธุ์กลายที่มีความบกพร่องในการย่อยสลายหรือไม่เจริญในอะซี แนพธิลีนและแนพธาลีนจำนวน 21 สายพันธุ์ การศึกษาการเจริญของสายพันธุ์กลายต่าง ๆ ในอะซีแนพธิลีน แนพธาลีนและสารมัธยันต์และผลการวิเคราะห์โครมาโตกราฟีแบบแผ่นบาง (TLC) พบว่า Rhizobium ย่อยสลายอะซีแนพธิลีนเป็นอะซีแนพโธควิโนน กรดแนพธาลีน-1,8-ไดคาร์บอกซิลิกและกรดเจนทิสิกตามลำดับ และย่อยสลายแนพธาลีนเป็นกรดเจนทิสิก นอกจากนี้ยังประสบความสำเร็จในการสร้าง Rhizobium สายพันธุ์ CU-GFP2 ซึ่งมียีน gfp เป็นเครื่องหมายโดยใช้ภาวะในการคอนจูเกชันที่เหมาะสม สายพันธุ์ CU-GFP2 มีความสามารถในการย่อยสลายอะซีแนพธิลีนในอัตราเดียวกับสายพันธุ์ CU-A1 พร้อมทั้งแสดงการเรืองแสงสีเขียว |
Other Abstract: | Rhizobium sp. CU-A1, isolated from petroleum-contaminated soil in Thailand, is able to utilize acenaphthylene or naphthalene as sole carbon and energy sources. In order to elucidate the acenaphthylene catabolic pathways, transposon Tn5 was employed as inducer for mutagenesis in this strain via conjugation with Eschericia coli strain S17-1 harboring suicide plasmid pSUP2021. The highest transposition efficiency of 4.75 x 10-5 per recipient was obtained by mixing both donor and recipient at their early log phase with the ratio of 1 : 1, and incubating at 30 C for 24 hours, followed by selecting on CFMM agar containing 1.0 g/I protocatechuic acid and 50 ug/ml kanamycin. The random insertion of transposon Tn5 to the DNA of Rhizobium was verified bySouthern hybridization. From 15,370 transconjugants obtained, 21 mutants which are deficient in oxidation or inability to utilize acenaphthylene and naphthalene, were identified. Growth on acenaphthylene, naphthalene and other intermediates with subsequent TLC analysis of intermediates accumulated in Tn5-induced mutants revealed that strain CU-A1 may degraded acenaphthylene through acenaphthoquinone, naphthalene-1,8-dicarboxylic acid and gentisic acid respectively, and naphthalene was also oxidized to gentisic acid. Moreover, Rhizobium sp. strain CU-GFP2 containing gfp gene was successfully constructed by using the optimal conjugation conditions. The strain CU-GFP2 can degrade acenaphthylene at the same rate as strain CU-A1 and show green fluorescence. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จุลชีววิทยาทางอุตสาหกรรม |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9750 |
ISBN: | 9740305652 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Sci - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
thanyanuch.pdf | 1.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.