Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9780
Title: | ทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตและพฤติกรรมเสี่ยงของนิสิต นักศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาคที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิต |
Other Titles: | Attitude and risk behavior regarding blood donation of students in regional university |
Authors: | ธนิดา บุตรคล้าย |
Advisors: | องอาจ วิพุธศิริ สมรัตน์ เลิศมหาฤทธิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ong-arj.V@Chula.ac.th Somrat.L@Chula.ac.th |
Subjects: | นักศึกษา -- ทัศนคติ การบริจาคโลหิต -- ไทย ผู้บริจาคโลหิต |
Issue Date: | 2544 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทัศนคติต่อการบริจาคโลหิต พฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิต เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา โดยมี นิสิต นักศึกษา ที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรีของมหาวิทยาลัยในส่วนภูมิภาค จำนวน 8 แห่ง ใน 4 จังหวัด เป็นกลุ่มตัวอย่าง ที่สุ่มได้ตามหลักของความน่าจะเป็น จำนวน 2,511 คน มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 2,050 คน(ร้อยละ 81.6) เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม ระหว่างเดือน ธันวาคม 2544 ถึง มีนาคม 2545 ผลการศึกษาพบว่า นิสิต นักศึกษา มีอายุเฉลี่ย 20.74 ปี อัตราส่วนเพศชาย:หญิง เท่ากับ 1:2.1 เป็นผู้ที่เคยบริจาคโลหิต ร้อยละ 31.6 ในรอบ 1 ที่ผ่านมา มีผู้ที่บริจาคโลหิต ร้อยละ 17.7 ทั้งนี้ พบว่า นิสิต นักศึกษาส่วนใหญ่(ร้อยละ 33.4) จะบริจาคโลหิตเพียงแค่ครั้งเดียวและในอนาคตจะบริจาคต่อไป ร้อยละ 78.5 ผู้ที่ไม่เคยบริจาคโลหิต ให้เหตุผลว่า กลัวเข็ม กลัวเจ็บ ร้อยละ 48.4 กลัวติดเชื้อโรค ร้อยละ 14.8 ในอนาคตมีผู้ที่ไม่แน่ใจว่าจะบริจาคโลหิตหรือไม่ ร้อยละ 53.2 นิสิต นักศึกษา มีค่าเฉลี่ยทัศนคติต่อการบริจาคโลหิตต่ำที่สุด 3 ประการคือ การบริจาคโลหิต ทุก 3 เดือนบ่อยเกินไป การบริจาคโลหิตมีส่วนทำให้ติดเชื้อเอดส์ และ โลหิตที่ได้รับบริจาค ถ้าตรวจพบเชื้อโรคจะไม่สามารถนำไปใช้กับผู้ป่วยได้และทำให้สูญเสียงบประมาณในการตรวจ ด้านพฤติกรรมสี่ยง นิสิต นักศึกษา สูบบุหรี่ ร้อยละ 11.2 ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ร้อยละ 56.0 เคยเสพกัญชา ร้อยละ 4.8 ร้อยละ 21.6 เคยมีเพศสัมพันธ์ ร้อยละ 58.1 เคยเจาะหูหรือเจาะตามร่างกาย ร้อยละ 4.0 เคยสักหรือลบรอยสัก ทั้งนี้พฤติกรรมดังกล่าวมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p<0.05)ในนิสิต นักศึกษากลุ่มที่บริจาคและไม่บริจาคโลหิต นอกจากนี้ ยังพบว่านิสิต นักศึกษา ให้ความสำคัญกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิตในมหาวิทยาลัย 3 ลำดับแรกคือ ควรมีการจัดรับบริจาคโลหิตในโอกาสพิเศษ การให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับการบริจาคโลหิต และการให้ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติผู้บริจาคโลหิต จากผลการศึกษา จะเห็นว่า นิสิต นักศึกษา มีอัตราการบริจาคโลหิตลดลง นิสิต นักศึกษาส่วนหนึ่ง ได้รับทราบข้อมูลที่ไม่ถูกต้องและไม่กล้าตัดสินใจบริจาคโลหิต |
Other Abstract: | The objective of this study was to determine attitude and risk behavior regarding blood donation among students in regional university in 2001. The study design was cross-sectional study. According to probability sampling. The study was conducted with 2,511 students and 2,050 were respondents(81.6%). Data collection through self administration questionnaire during November 2001 to March 2002. The results of the study demonstrated that majority of students were 20.74 years old on average with male and female ratio of 1:2.1. The students used to donate blood 31.6 %. In 2001, the rate of respondents blood donation was 17.7 % and most of them donated once a year and 78.5 % would continue donation. The main reasons of non donated were, fear of needle/pain (48.4%) and infection (14.8%) and, 53.2% of them would not donate in the future. Top-three lowest mean scores of attitude were, every 3 month donation were too often, AIDS can be transmitted through blood donation, and infected bloods were wastage. About risk behavior, the students had alcohol consumption (56.0%), cigarette smoking (11.2%), cannabis smoking (4.8%), sexual intercourse (21.6%), Tattoo (4.0%), and ear puncture (58.1%). Statistically significant differences were found between donor and non donor in those factors mentioned. Top - three important activities related to blood donation in university were: promoting blood donation on special day, educating about risk behavior regarding blood donation, and providing the knowledge about qualification of blood donor. The findings revealed that the donation rate among students less than ever and half of them no courage and misconceptions. The trend and barriers should be concerned and provided intensive pre-donation education and counseling campaign to ensure the adequate safety blood donation for all. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | เวชศาสตร์ชุมชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9780 |
ISBN: | 9741704453 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Med - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Thanida.pdf | 1.45 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.