Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/98
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธนิส เหมินทร์-
dc.contributor.advisorชุติมา ไตรรัตน์วรกุล-
dc.contributor.authorสุวรรณ ประสงค์ตันสกุล, 2511--
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะทันตแพทยศาสตร์-
dc.date.accessioned2006-05-27T07:25:45Z-
dc.date.available2006-05-27T07:25:45Z-
dc.date.issued2544-
dc.identifier.isbn9741701241-
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/98-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544en
dc.description.abstractการวิจัยทางคลินิกนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟัน เมื่อทำความสะอาดผิวฟันด้วยวิธีการที่ต่างกันในฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งของเด็กอายุ 7-8 ปี ทำการศึกษาภายในบุคคลเดียวกันโดย คัดเลือกตัวอย่างฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งที่มีลักษณะตามข้อบ่งชี้ในการเคลือบหลุมร่องฟัน และอยู่ในขากรรไกรเดียวกันจำนวน 188 คู่ฟัน จากเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ 2 โรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานครจำนวน 6 โรงเรียน รวมทั้งสิ้น 123 คน จัดตัวอย่างเข้าศึกษาด้วยวิธีการสุ่มแบบบล็อก (Block randomization) โดยฟันข้างหนึ่งได้รับการทำความสะอาดผิวฟันโดยการแปรงฟันด้วยตนเอง ส่วนฟันอีกข้างทำความสะอาดเสริมด้วยการใช้เครื่องมือขัดฟันภายหลังการแปรงฟัน ติดตามผลการยึดติดของวัสดุภายหลังการเคลือบหลุมร่องฟันที่ระยะเวลา 6 และ 12 เดือน เมื่อสิ้นสุดการศึกษาคงเหลือจำนวนตัวอย่าง 158 คู่ฟัน วิเคราะห์ความแตกต่างการยึดติดของวัสดุระหว่างวิธีการทำความสะอาดทั้งสองวิธีด้วยสถิตินอนพาราเมตริกชนิดวิลคอกซัน ไซนน์ แรงค์ เทสต์ (Wilcoxon signed rank test) ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ผลการศึกษาพบว่าที่ระยะเวลา 6 เดือน ฟันที่ได้รับการทำความสะอาดผิวฟันโดยการแปรงฟันด้วยตนเอง มีอัตราการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันสมบูรณ์ทั้งซี่ฟันร้อยละ 90.9 และมีอัตราการยึดติดตามตำแหน่งหลุมร่องฟัน ร้อยละ 96.3 ต่ำกว่าฟันที่ได้รับการทำความสะอาดเสริมด้วยเครื่องมือขัดฟันที่มีอัตราการยึดติดร้อยละ 95.1 และ 98.1 ตามลำดับ แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ ขณะที่ระยะเวลา 12 เดือนพบว่า ฟันที่ได้รับการทำความสะอาดผิวฟันโดยการแปรงฟันด้วยตนเอง มีอัตราการยึดติดสมบูรณ์ทั้งซี่ฟันร้อยละ 79.7 และมีอัตราการยึดติดตามตำแหน่งหลุมร่องฟันร้อยละ 92.1 ต่ำกว่าฟันที่ได้รับการทำความสะอาดเสริมด้วยเครื่องมือขัดฟันที่มีอัตราการยึดติดร้อยละ 88.6 และ 95.4 ตามลำดับอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p=0.020 และ p=0.035)en
dc.description.abstractalternativeThe purpose of this clinical study was to compare the sealant retention between different tooth-cleaning techniques on first permanent molars of 7-8 year-old children. One hundred and twenty-three students were studied by split-mouth method and collected from first and second graders from 6 primary schools in Bangkok. Each subject had at least a pair of first permanent molars in the same arch as indicated in the criteria of selection. One hundred and eighty-eight pairs of teeth were block-randomly-allocated; one tooth was cleaned only by self tooth-brushing, while the opposite tooth was supplemented with professional prophylaxis. Sealant retention was evaluated at 6 and 12 months. One hundred and fifty-eight pairs of teeth were available for recall at 12 months. The difference of sealant retention between both methods of cleaning was analyzed statistically by the Willcoxon signed rank test. The results at 6 months showed that the self tooth-brushing group had retention rates of 90.9 % by tooth and 96.3 % by pit and fissure sites, less than that of the professional prophylaxis group of 95.1% and 98.1% respectively. Such differences were not statistically significant. At 12 months, the self tooth-brushing group had retention rates of 79.7% by tooth and 92.1% by pit and fissure sites, while the retention rates of the professional prophylaxis group were 88.6% and 95.4% respectively. The differences in this case, though, were statistically significant (p = 0.020 and p = 0.035).en
dc.format.extent1083383 bytes-
dc.format.mimetypeapplication/pdf-
dc.language.isothen
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2001.508-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.subjectวัสดุผนึกหลุมร่องฟันen
dc.subjectฟันผุในเด็กen
dc.titleการเปรียบเทียบทางคลินิกระหว่างการยึดติดของวัสดุเคลือบหลุมร่องฟันเมื่อทำความสะอาดผิวฟันโดยการแปรงฟันด้วยตนเองกับการทำความสะอาดเสริมด้วยเครื่องมือขัดฟันในฟันกรามถาวรซี่ที่หนึ่งของเด็กอายุ 7-8 ปีen
dc.title.alternativeThe clinical sealant retention comparison between self-brushed and professional prophylaxis-supplemented first permanent molars of 7-8 year-old childrenen
dc.typeThesisen
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen
dc.degree.levelปริญญาโทen
dc.degree.disciplineทันตกรรมสำหรับเด็กen
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen
dc.email.advisorHdhanis@chula.ac.th-
dc.email.advisorctrairat@yahoo.com-
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2001.508-
Appears in Collections:Dent - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
suwan.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.