Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9909
Title: การวิเคราะห์และลดของเสียในกระบวนการ ขึ้นรูปชิ้นส่วนโครงร่างยานยนต์ โดยใช้เทคนิค FMEA
Other Titles: Analysis and defect reduction for automotive body press part by FMEA technic
Authors: กิตติศักดิ์ อนุรักษสกุล
Advisors: ดำรงค์ ทวีแสงสกุลไทย
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Damrong.T@Chula.ac.th
Issue Date: 2545
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: อุตสาหกรรมผลิตชิ้นส่วนยานยนต์เป็นอุตสาหกรรมหนึ่งในประเทศไทย ที่มีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง เพื่อพัฒนาขีดความสามารถในด้านคุณภาพของสินค้าและกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้สินค้าที่มีคุณภาพตรงตามความต้องการของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพและต้นทุนของสินค้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความอยู่รอดของลูกค้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งคุณภาพและต้นทุนของสินค้า เป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลต่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรม ดังนั้นของเสียที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิต จึงเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งที่บอกถึงขีดความสามารถของบริษัทดังกล่าว จากการศึกษาระบบการผลิตตลอดจตของเสียที่เกิดขึ้นในกระบวนการ โดยการรวบรวมและวิเคราะห์ข้อมูล พบว่าของเสียส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการ DRAW, TRIM/PIERCE และ SEPARATE โดยของเสียที่เกิดขึ้น ได้แก่ ชิ้นงานย่น เสียรูป แตก บุบตุงและมีครีบคม โดยมีสาเหตุดังนี้ ชิ้นงานมีครีบ เกิดจากสภาพแม่พิมพ์ไม่สมบูรณ์ Pressure ที่ใช้ของเครื่องจักรไม่สม่ำเสมอ ชิ้นงานบุบตุง เกิดจากแม่พิมพ์สกปรกและพนักงานนำชิ้นงานออกไม่ถูกวิธี ชิ้นงานย่น เกิดจาก Pressure Cushion น้อย พนักงานวางชิ้นงานไม่ชน Stopper ค่า Die Height ไม่ได้มาตรฐาน ชิ้นงานแตก เกิดจาก Pressure Cushion มีค่าสูง ชิ้นงานไหม้ เกิดจากแม่พิมพ์ชำรุด ดังนั้นวัตถุประสงค์ของวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ จึงมุ่งวิเคราะห์และลดของเสียโดยใช้เทคนิค FMEA ซึ่งสามารถมองของเสียได้หลายมิติ เช่น ระดับความรุนแรงของของเสีย ผลกระทบที่เกิดขึ้น ความถี่หรือโอกาสในการเกิด และความสามารถในการตรวจจับของเสียดังกล่าว จากการปรับปรุงและลดของเสียตามขั้นตอนการวิจัย พบว่า 1. กระบวนการ DRAW มีของเสียก่อนปรับปรุง 2.02% และหลังการปรับปรุงเป็น 0.79%, 0.24% และ .022% ตามลำดับ 2. กระบวนการ TRIM/PIERCE มีของเสียก่อนปรับปรุง 2.20% และหลังการปรับปรุงเป็น 0.70%, 0.25% และ 0.22% ตามลำดับ 3. กระบวนการ SEPARATE มีของเสียก่อนปรับปรุง 2.25% และหลังการปรับปรุงเป็น 1.06%, 0.20% และ 0.18% ตามลำดับ
Other Abstract: Automotive industry is the one of the most high continuous growth in Thailand's industries, so they have more competitively for develop their ability in the quality of product and process to achieved the quality of product and the customer requirements. Cost is one of the factors, which effect the company growth, and defective parts can be one of the indicators, which reflexes the organization ability and performance. From process and part defect study by collection and analysis of data me fond out the most defect occur from the draw, trim/pierce and separate processes. Which defect can be separated into the following category shrink, deform, crack, swell, sharp fin. For the shrink defect the cause is low pressure cushion, part shift out the location and the die height is not standard. For the sharp fin defect root cause is the die is breakdown and unsuibability machine pressure. For the swell defect root cause is the die dirtiness and wrong method for part removal. For the part crack defect root cause is hight pressure cushion. For the part deforms defect root cause is damage of die. The objective of this thesis is analy and reduces the defect by using the FMEA technique, it's use for defect reduction gives consideration to the severity, the occurrence and the detection. By using such technique for improve and reducing of defects result can be shown as the following below. 1. The draw process the percentage of defects before improve is 2.02% after improve is 0.79%, 0.24% and 0.22% on December 2002, January and February 2003. 2. The trim/pierce the percentage of defects before improve is 2.20% after improve is 0.70%, 0.25% and 0.22% on December 2002, January and February 2003. 3. The separate process the percentage of defects before improve is 2.25% after improve is 1.06%, 0.20% and 0.18% on December 2002, January and February 2003
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2545
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมอุตสาหการ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9909
ISBN: 9741721536
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kittisak.pdf8.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.