Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9976
Title: การเปรียบเทียบตัวสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากรหลายกลุ่ม
Other Titles: A Comparison on test statistics for testing the different among population means
Authors: กมลทิพย์ ปรัชญชรินกร
Advisors: มานพ วราภักดิ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: fcommva@acc.chula.ac.th
Subjects: สถิติ
การแจกแจงลอกนอร์มอล
การแจกแจงครัสคัล-วิลลิส
การวิเคราะห์ความแปรปรวน
Issue Date: 2541
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาเปรียบเทียบอำนาจของการทดสอบ (power of the test) ของตัวสถิติทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยของประชากร 3 และ 5 กลุ่ม ได้แก่ตัวสถิติทดสอบเอฟ (F) ตัวสถิติทดสอบครัสคัล-วัลลิส (KW) ตัวสถิติทดสอบนอร์มอลสกอร์ (NS) และตัวสถิติทดสอบแบบดัดแปลงอย่างต่อเนื่อง (CA) เมื่อสุ่มตัวอย่างมาจากประชากรที่มีการแจกแจงเหมือนกัน ได้แก่ การแจกแจงแลมดาของตูกีร์การแจกแจงปกติ การแจกแจงแกมมา และการแจกแจงลอกนอร์มอล ขนาดของตัวอย่างที่กำหนดเท่ากัน เท่ากับ 5, 10, 20, 30, 40 และ 50 ระดับนัยสำคัญเท่ากับ 0.01, 0.05 และ 0.10 ในการวิจัยครั้งนี้ ใช้เทคนิคการจำลองแบบมอนติคาร์โล กระทำซ้ำ 1,000 ครั้ง ในแต่ละกรณี ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ อำนาจการทดสอบพิจารณา 2 กรณี คือ กรณีแรก ประชากรมีการแจกแจงปกติ พบว่าที่ระดับนัยสำคัญ 0.01 และ 0.05 ตัวสถิติทดสอบเอฟมีอำนาจการทดสอบสูงสุด และที่ระดับนัยสำคัญ 0.10 ตัวสถิติทดสอบนอร์มอลสกอร์มีอำนาจการทดสอบสุงสุด กรณีที่สอง การแจกแจงของประชากรไม่ใช่แบบปกติ โดยทั่วไป ตัวสถิติทดสอบครัสคัล-วัลลิสมีอำนาจการทดสอบสูงสุด ยกเว้น กรณีความเบ้อยู่ระหว่าง 0.0-0.5 และความโด่งอยู่ในระดับต่ำและปานกลาง พบว่า ตัวสถิติทดสอบเอฟมีอำนาจการทดสอบสูงกว่า เมื่อ n<10 และตัวสถิติทดสอบนอร์มอลสกอร์มีอำนาจการทดสอบสูงกว่า เมื่อ n>10 ค่าอำนาจการทดสอบจะแปรผันตามความเบ้ ความโด่ง จำนวนกลุ่มตัวอย่าง ขนาดตัวอย่างและระดับนัยสำคัญ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย
Other Abstract: The purpose of this research is to compare the power of the test of F test (F), Kruskal-Wallis test (KW), Normal Score test (NS), and Continuously Adaptive test (CA) in testing population means of 3 and 5 groups. The population, Normal Distribution, Gamma Distribution, and Lognormal Distribution. All groups have the sample sizes which are 5, 10, 20, 30, 40 and 50. The levels of significance are 0.01, 0.05, and 0.10. The Monte Carlo simulation method was uesd in this rearch. Results of the study are as follows: Under the normal population, F test has the highest power at alpha = 0.01 and 0.05, and Normal Score test has the highest power at alpha = 0.10. Under the non-normal population, Kruskal-Wallis test has the highest power in all situlations, except the skewenss is in range 0.0 to 0.5 and the kurtosis is platykurtic or moderate, the F test will have the more power for n<10 and the Normal Score test will have more power for n>10. Power of the test varies directly to skewenss, kurtosis, number of sample groups, sample size and level of significance, most to least, respectively.
Description: วิทยานิพนธ์ (สต.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2541
Degree Name: สถิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สถิติ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/9976
ISBN: 9743319751
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Kamontip_Pr_front.pdf1.4 MBAdobe PDFView/Open
Kamontip_Pr_ch1.pdf754.28 kBAdobe PDFView/Open
Kamontip_Pr_ch2.pdf783.82 kBAdobe PDFView/Open
Kamontip_Pr_ch3.pdf826.26 kBAdobe PDFView/Open
Kamontip_Pr_ch4.pdf3.44 MBAdobe PDFView/Open
Kamontip_Pr_ch5.pdf763.37 kBAdobe PDFView/Open
Kamontip_Pr_back.pdf1.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.