DSpace Repository

ทักษะการเขียนแบบเน้นกระบวนการ

Show simple item record

dc.contributor.author อดิศรา กาติ๊บ
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
dc.date.accessioned 2006-09-24T09:18:27Z
dc.date.available 2006-09-24T09:18:27Z
dc.date.issued 2544
dc.identifier.citation วารสารจุฬาวิจัย, 20, 3 (พฤษภาคม-มิถุนายน 2544) : 18-22 en
dc.identifier.issn 0857-9733
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/2782
dc.description.abstract งานวิจัยนี้มีจุดประสงค์หลัก 2 ประการ คือ 1) เพื่อทราบถึงเจตคติของพลวิจัยต่อวิชาการเขียนแบบเน้นกระบวนการ และ 2) เพื่อทราบว่าการฝึกทักษะการเขียนแบบเน้นกระบวนการจะช่วยให้พลวิจัยสามารถผลิตงานเขียนที่มีคุณภาพดีขึ้นหรือไม่ พลวิจัยในงานวิจัยประกอบด้วยนิสิตจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยทั้งสิ้น 19 คน ซึ่ง 11 คน ในจำนวนนี้เป็นนิสิตที่ผ่านการเรียนรู้วิชาการเขียนแบบเน้นกระบวนการตลอดภาคการศึกษา ส่วนอีก 8 คน ไม่ได้รับการสอนด้วยวิธีนี้ หลังจบภาคการศึกษา พลวิจัย 11 คน ตอบคำถามในแบบสอบถามจำนวน 20 ข้อ จากข้อมูลที่ได้รับจากแบบสอบถามสามารถสรุปได้ 3 ประเด็นใหญ่ ๆ คือ 1) พลวิจัยมีเจตคติที่ดีต่อวิชาการเขียนแบบเน้นกระบวนการโดยที่พลวิจัยมีความเห็นว่าขั้นตอนต่างๆ ในกระบวนการเขียนนี้ช่วยให้พลวิจัยสามารถจัดระเบียบความคิดและช่วยพัฒนาการเขียนของตนเองให้ดีขึ้น พลวิจัยตระหนักว่ากระบวนการเขียนเป็นหัวใจสำคัญของการเขียน 2) พลวิจัยมีเจตคติที่ดีต่อวิธีการสอนของผู้วิจัย โดยเฉพาะในส่วนของข้อมูลย้อนกลับ การตรวจแก้ไขงานเขียนพร้อมคำแนะนำ และการที่พลวิจัยมีโอกาสได้ปรึกษาหารือกับผู้วิจัยเป็นรายบุคคล และ 3) พลวิจัยสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ต่างๆ ค่อนข้างดี และมีเจตคติที่ดีต่อการใช้ข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของการเรียนวิชาการเขียน นอกจากนั้น ผลจากการเปรียบเทียบงานเขียนสอบชิ้นโดยใช้การคำนวณทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าคะแนนของงานเขียนชิ้นหลังของพลวิจัยกลุ่มที่ได้รับการสอนการเขียนแบบเน้นกระบวนการดีขึ้นกว่าคะแนนของงานชิ้นแรกอย่างมีนัยสำคัญ ในขณะที่งานเขียนสองครั้งของพลวิจัยกลุ่มที่ไม่ได้รับการสอนการเขียนแบบเน้นกระบวนการมีความแตกต่างอย่างไม่มีนัยสำคัญ en
dc.description.abstractalternative This study describes two aspects of the instruction of the process-oriented approach in writing. First, the study explored the attitudes of 11 Chulalongkorn University students from the Faculty of Education towards this approach. The students answered the 20-item questionnaire after attending the research for one term. The information received can be summarized into three main issues which are related to the attitudes of the students towards the process approach, the attitudes of the student towards the researcher's method of instruction and the attitudes of the students towards the use of the computer and Internet. The information reveals that the students had positive sttitudes towards the process approach in the way that it helped them organize their ideas, monitor their thoughts and improve their writing skills. They realized that each stage of the process which led them to the final piece of writing was beneficial to writers. They also had positive feelings towards the researcher's teaching method, particularly the in-class explanation, corrections and comments on the drafts, and individual consultation. The students were also quite efficient in using different computer programs and agreed that the Internet was a good complement to writing instruction. In addition, the students who attended the research and the students who did not attend the research were asked to write two essays: one before the commencement of the course and the other after the end of the course. The results of the statistics showed that the students the student who attended the research course gained a significant increase in their second while the students who did not attend the research did not have a significant gain. en
dc.format.extent 1185435 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ภาษาอังกฤษ--การเขียน en
dc.subject จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์--นิสิต en
dc.title ทักษะการเขียนแบบเน้นกระบวนการ en
dc.type Article en
dc.email.author kadisra@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record