Abstract:
วัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระสวนของผลการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษต่าง ๆของนิสิตที่ได้รับการยกเว้นการเรียนรายวิชา EF I และที่ไม่ได้รับการยกเว้นจำนวน 3 รุ่น ในระหว่างปี 2528-2530 และเพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆที่สูงขึ้น กลุ่มพลวิจัยของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นิสิตรุ่นปีการศึกษา 2528-2530 จำนวน 3,053 3,051 และ 2,902 คนตามลำดับ ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่าง ๆจำนวนแตกต่างกันแต่ละรุ่นแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ พวกที่ได้รับการยกเว้นการเรียนรายวิชา FE I และพวกที่ไม่ได้รับการยกเว้นซึ่งแต่ละปีมีจำนวนประมาณ 250 และ 2,750 คนตามลำดับ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบชุดต่าง ๆ ที่ใช้จริงในการวัดและประเมินผลแต่ละรายวิชา จำนวนทั้งสิ้น 36 แบบทดสอบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า Xbar, S.D., t-test, Peasron Correlation และ Multiple Regression ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระสวนของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆ โดยเฉลี่ยของนิสิตทั้ง 3 รุ่น และทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก และแต่ละวิชามีค่าใกล้เคียงกันมาก มัชฌิมของสัมฤทธิผลในการเรียนมีค่าประมาณ 56%-67% 2. กระสวนของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆ โดยเฉลี่ยของนิสิตทั้ง 3 รุ่น ที่ไม่ได้รับการยกเว้น กาเรียนรายวิชา FE I มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก และในแต่ละรายวิชามีค่าใกล้เคียงกัน มัชฌิมของสัมฤทธิผลในการเรียนมีค่าประมาณ 57-67% 3. กระสวนของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆ โดยเฉลี่ยของนิสิตทั้ง 3 รุ่นที่ได้รับการยกเว้นการเรียนรายวิชา FE I มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากและในแต่ละรายวิชามีค่าใกล้เคียงกัน มัชฌิมของสัมฤทธิผลในการเรียนมรค่าประมาณ 70%-82% 4. ผลการเรียนโดยเฉลี่ยของแต่ละรายวิชาของนิสิตแต่ละรุ่นที่ได้รับการยกเว้น การเรียนรายวิชา FE I สูงกว่าผลการเรียนของผู้ที่ไม่ได้รับการยกเว้นอย่างมีนัยสำคัญ 5. สัมประสิทธิ์ของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆ กับผลการสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. และ กขค. และผลการสอบจัดระดับและยกเว้นการเรียน เมื่อนิสิตเรียนปีที่ 1 แล้ว มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เมื่อนิสิตเรียนรายวิชาที่สูงขึ้นในปีต่อมา คือมีค่าประมาณ .83-.45 สำหรับนิสิตทั้งหมดของแต่ละปี มีค่าประมาณ .77-.41 สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการยกเว้นการเรียน และมีค่า .67-.32 สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นการเรียน 6. พื้นความรู้ของภาษาอังกฤษ กข. และ PET มีผลต่อการเรียนการสอนรายวิชา FE I อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับนิสิตทั้ง 3 รุ่น และสามารถทำนายผลการเรียนได้ประมาณ 37% ภาษาอังกฤษ กข. กขค. PET และ FE I มีผลต่อการเรียนวิชา FE I ประมาณ 48% ภาษาอังกฤษ กข. FE I และ FE II มีผลต่อการเรียนวิชา EAP I ประมาณ 54% พื้นความรู้ PET FE I มีผลต่อการเรียนวิชา EAP I ประมาณ 54% พื้นความรู้ PET FE I FE II และ EAP I มีผลต่อการเรียนวิชา EAP II ประมาณ 37% ภาษาอังกฤษ กข. FE II และ EAP II มีผลต่อการเรียนวิชา AE I ประมาณ 55% และภาษาอังกฤษ EAP II และ AE I มีผลต่อการเรียนรายวิชา AE II ประมาณ 44 % 7. พื้นความรู้ภาษาอังกฤษของนิสิตซึ่งวัดจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคือ ภาษาอังกฤษ กข. และ กขค. มีผลต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนิสิตเรียนอยู่ปีที่ 1 แล้วมีผลน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเรียนในปีที่ 3