dc.contributor.author |
สุพัฒน์ สุกมลสันต์ |
|
dc.contributor.author |
กรองแก้ว กรรณสูต |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา |
|
dc.contributor.other |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา |
|
dc.date.accessioned |
2006-07-13T12:29:36Z |
|
dc.date.available |
2006-07-13T12:29:36Z |
|
dc.date.issued |
2533 |
|
dc.identifier.uri |
http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/769 |
|
dc.description.abstract |
วัตถุประสงค์สำคัญในการศึกษาครั้งนี้เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกระสวนของผลการเรียนรายวิชาภาษาอังกฤษต่าง ๆของนิสิตที่ได้รับการยกเว้นการเรียนรายวิชา EF I และที่ไม่ได้รับการยกเว้นจำนวน 3 รุ่น ในระหว่างปี 2528-2530 และเพื่อค้นหาตัวพยากรณ์ของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆที่สูงขึ้น กลุ่มพลวิจัยของการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่นิสิตรุ่นปีการศึกษา 2528-2530 จำนวน 3,053 3,051 และ 2,902 คนตามลำดับ ซึ่งลงทะเบียนเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่าง ๆจำนวนแตกต่างกันแต่ละรุ่นแบ่งออกเป็น 2 พวกคือ พวกที่ได้รับการยกเว้นการเรียนรายวิชา FE I และพวกที่ไม่ได้รับการยกเว้นซึ่งแต่ละปีมีจำนวนประมาณ 250 และ 2,750 คนตามลำดับ เครื่องมือในการวิจัยได้แก่ แบบทดสอบชุดต่าง ๆ ที่ใช้จริงในการวัดและประเมินผลแต่ละรายวิชา จำนวนทั้งสิ้น 36 แบบทดสอบการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า Xbar, S.D., t-test, Peasron Correlation และ Multiple Regression ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระสวนของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆ โดยเฉลี่ยของนิสิตทั้ง 3 รุ่น และทั้ง 2 กลุ่มมีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก และแต่ละวิชามีค่าใกล้เคียงกันมาก มัชฌิมของสัมฤทธิผลในการเรียนมีค่าประมาณ 56%-67% 2. กระสวนของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆ โดยเฉลี่ยของนิสิตทั้ง 3 รุ่น ที่ไม่ได้รับการยกเว้น กาเรียนรายวิชา FE I มีลักษณะคล้ายคลึงกันมาก และในแต่ละรายวิชามีค่าใกล้เคียงกัน มัชฌิมของสัมฤทธิผลในการเรียนมีค่าประมาณ 57-67% 3. กระสวนของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆ โดยเฉลี่ยของนิสิตทั้ง 3 รุ่นที่ได้รับการยกเว้นการเรียนรายวิชา FE I มีลักษณะคล้ายคลึงกันมากและในแต่ละรายวิชามีค่าใกล้เคียงกัน มัชฌิมของสัมฤทธิผลในการเรียนมรค่าประมาณ 70%-82% 4. ผลการเรียนโดยเฉลี่ยของแต่ละรายวิชาของนิสิตแต่ละรุ่นที่ได้รับการยกเว้น การเรียนรายวิชา FE I สูงกว่าผลการเรียนของผู้ที่ไม่ได้รับการยกเว้นอย่างมีนัยสำคัญ 5. สัมประสิทธิ์ของผลการเรียนรายวิชาต่าง ๆ กับผลการสอบภาษาอังกฤษเข้ามหาวิทยาลัย ชุด กข. และ กขค. และผลการสอบจัดระดับและยกเว้นการเรียน เมื่อนิสิตเรียนปีที่ 1 แล้ว มีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เมื่อนิสิตเรียนรายวิชาที่สูงขึ้นในปีต่อมา คือมีค่าประมาณ .83-.45 สำหรับนิสิตทั้งหมดของแต่ละปี มีค่าประมาณ .77-.41 สำหรับผู้ที่ไม่ได้รับการยกเว้นการเรียน และมีค่า .67-.32 สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้นการเรียน 6. พื้นความรู้ของภาษาอังกฤษ กข. และ PET มีผลต่อการเรียนการสอนรายวิชา FE I อย่างมีนัยสำคัญ สำหรับนิสิตทั้ง 3 รุ่น และสามารถทำนายผลการเรียนได้ประมาณ 37% ภาษาอังกฤษ กข. กขค. PET และ FE I มีผลต่อการเรียนวิชา FE I ประมาณ 48% ภาษาอังกฤษ กข. FE I และ FE II มีผลต่อการเรียนวิชา EAP I ประมาณ 54% พื้นความรู้ PET FE I มีผลต่อการเรียนวิชา EAP I ประมาณ 54% พื้นความรู้ PET FE I FE II และ EAP I มีผลต่อการเรียนวิชา EAP II ประมาณ 37% ภาษาอังกฤษ กข. FE II และ EAP II มีผลต่อการเรียนวิชา AE I ประมาณ 55% และภาษาอังกฤษ EAP II และ AE I มีผลต่อการเรียนรายวิชา AE II ประมาณ 44 % 7. พื้นความรู้ภาษาอังกฤษของนิสิตซึ่งวัดจากการสอบเข้ามหาวิทยาลัยคือ ภาษาอังกฤษ กข. และ กขค. มีผลต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนิสิตอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อนิสิตเรียนอยู่ปีที่ 1 แล้วมีผลน้อยลงเรื่อย ๆ จนไม่มีผลอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเรียนในปีที่ 3 |
en |
dc.description.abstractalternative |
The main purposes of this study were to compare the exampted and non-exempted students achievement patterns resulted from learning various English courses during 1985-1987, and to investigate significant predictors in learning different courses in the later years. The subjects of the study were 3,053, 3,051 and 2,902 students studying in the years 1985-1987 respectively. They learned various English courses but a number of the registered students varied. Each group was divided into 2 categories: exempted and non-exempted students. The former were exempted from learning FE I while the later were required to learn it, and their numbers were approximately 250 and 2,750 respectively. The instruments used were 36 actual tests given to them previously for real assessment purposes. The data were then analyzed by mean of Xbar, S.D., t-test, Pearson Correlation and Multiple Regression. Its findings can be summarized as follows: 1. The achievement patterns of the student in the 3 groups and the 2 categories were much similar. Their means of each course were rather to each other, and ranged between 57%-67%. 2. The learning achievement patterns of the non-exempted students in the 3 groups were very much similar. Their means of each course were rather close to each other and ranged between 55%-66%. 3. The learning achievement patterns of the exempted students in the 3 groups were also very much similar. Their means of each course were rather close to each other and ranged between 70%-82%. 4. On average, the achievement of the exempted students in the 3 groups in learning each course were significantly higher than that of the non-exempted ones. 5. The correlation between the student's scores gained from the university entrance English examination (UEEE) forms AB and, ABC, PET (Placement/Exempted test) and those from various courses were rather high when they were in the first year and then steadily decreased in the later years. They ranged approximately .83-.45 for all students, .77-.41 for the non-exempted students and .67-.32 for the exempted ones. 6. The students' English background from UEEE: AB and PET had significant effects on their learning FE I and could explain its variance approximately 37%, UEEE: AB, ABC, PET and FE I had significant effects on their learning FE I and could explain its variance approximately 48%, UEEE: ABC,FE I and FE II affected significantly on learning EAP I approximately 54%. PET,EF I, EF II and EAP I affected significantly on learning EAP II approximately 37%. Only UEEE: AB, FE II and EAP II affected significantly on learning AE I approximately 55%. Besides, only EAP II and AE I had significant effects approximately 44% on their learning AE II. 7. The students' English background measured by UEEE: AB and ABC had moderately significant effects on the students' achievements in learning some courses in the first year and such effects decreased gradually in the later years. They became eventually insignificant when they were in the third year. |
en |
dc.description.sponsorship |
ทุนอุดหนุนจากงบประมาณเงินทุนสถาบันภาษาเพื่อการวิจัยประจำปี พ.ศ. 2532 |
en |
dc.format.extent |
19882663 bytes |
|
dc.format.mimetype |
application/pdf |
|
dc.language.iso |
th |
en |
dc.publisher |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.rights |
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
en |
dc.subject |
ภาษาอังกฤษ--การศึกษาและการสอน (อุดมศึกษา) |
en |
dc.subject |
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
en |
dc.title |
การศึกษาติดตามสัมฤทธิผลในการเรียนวิชาภาษาอังกฤษต่างๆ ของนิสิตที่ได้รับการยกเว้นการเรียนรายวิชา FE I และที่ไม่ได้รับการยกเว้นในระหว่างปี พ.ศ. 2528-2530 : รายงานการวิจัย |
en |
dc.title.alternative |
Follow-up study of th eexempted and non-exempted students' achievements in learning various English courses during 1985-1987 |
en |
dc.type |
Technical Report |
en |
dc.email.author |
suphat.s@chula.ac.th |
|
dc.email.author |
kronggaew@yahoo.com |
|