DSpace Repository

การสำรวจความต้องการและเจตคติของบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ เกี่ยวกับความสำคัญของภาษาอังกฤษในงานอาชีพและชีวิตประจำวัน

Show simple item record

dc.contributor.author มาลินี จันทวิมล
dc.contributor.author อ้อยทิพย์ กรมกูล
dc.contributor.author กิ่งกมน ทวิชชาติวิทยากุล
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. สถาบันภาษา
dc.date.accessioned 2006-07-14T03:05:54Z
dc.date.available 2006-07-14T03:05:54Z
dc.date.issued 2541
dc.identifier.uri http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/787
dc.description.abstract งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความต้องการและเจตคติของบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ ต่อการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพและในชีวิตประจำวัน กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลในกลุ่มสาชาอาชีพ แพทย์ วิศวกร อาจารย์ พนักงานธนาคาร และพนักงานโรงแรม จำนวนรวม 574 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบเสอบถามความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพและในชีวิตประจำวัน และแบบสอบถามเจตคติเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพและในชีวิตประจำวัน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS PC หาค่ามัชฌิมเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เปรียบเทียบด้วยค่า t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1. กลุ่มบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ มีแนวโน้มความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพโดยเฉลี่ยเหมือนกัน โดยความต้องการในทักษะการอ่านมากที่สุด รองลงมาคือ ทักษะการฟัง และทักษะที่มีความต้องการใช้น้อยที่สุดคือ ทักษะการพูด ส่วนกิจกรรมต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มว่ามีความต้องการใช้มากทีสุดในชีวิตประจำวันของทักษะการอ่านคือ การอ่านข่าว รองลงมาคือ การอ่านตำราในงานอาชีพและอ่านบทความ และกิจกรรมต่าง ๆที่มีความต้องการใช้มากที่สุดในงานอาชีพ ของทักษะการอ่านคือ การอ่านตำราเกี่ยวกับสาขาอาชีพ รองลงมาคือ อ่านบทความและคู่มือ ส่วนกิจกรรมต่า ๆ ที่มีแนวโน้มว่ามีความต้องการใช้มากที่สุดในชีวิตประจำวันของทักษะการฟัง คือ การฟังภาพยนต์ รองลงมา คือ การฟังเพลง และการฟังข่าว และกิจกรรมที่มีแนวโน้มว่ามีความต้องการมากที่สุดในงานอาชีพของทักษะการฟัง คือ การฟังสนทนา รองลงมาคือ การฟังรายงานและการฟังบรรยาย/สอน 2. เมื่อเปรียบเทียบความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันกับความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในงานอาชีพของกลุ่มบุคคลในสาขาอาชีพแพทย์ วิศวกร อาจารย์ และการโรงแรมมีแนวโน้มว่ามีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ทุกทักษะ ส่วนกลุ่มบุคคลในสาขาอาชีพธนาคารมีแนวโน้มว่าความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ใน 3 ทักษะ คือทักษะการฟัง การพูด และการแปล 3. เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มบุคคลทุกสาขาอาชีพมีแนวโน้มว่ามีความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ใน 4 ทักษะ คือ ทักษะการฟัง ทักษะการพูด ทักษะการเขียน และทักษะการแปล 4. เมื่อเปรียบเทียบกันระหว่างกลุ่ม พบว่า กลุ่มบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ มีความต้องการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ในทุกทักษะ 5. กลุ่มบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ มีแนวโน้มว่ามีเจตคติเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพอยู่ในระดับดี 6. เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่าบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ มีแนวโน้มว่ามีเจตคติเกี่ยวกับการใช้ภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันและในงานอาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 en
dc.description.abstractalternative The purpose of this research was to study compare the needs and attitudes of peple holding different careers towards the use of everyday English and professional English. The subjects were 574 people working in the fields of medicine, engineering, education, banking, and hotel. Questionnaires were used for data collection. The data was then analized by means of t-test and One-way ANOVA, using the SPSS PC program. The findings were as follow: 1. The needs of people in all careers for everyday English and professional English, in average, were the same. The needs for all skills were ranked as reading, listening, writing and speaking. The activity requiring the use of everyday English the most was reading news, followed by reading text books and articles while reading professional texts, articles, and manuals were respectively needed for professional English. As for listening, the activities needed professional English were ranked as listening to the sound-track of films, songs, and news while those requiringeveryday English were listening to people's talks, reports and lectures. 2. When comparing the needs of everyday English with professional English of people in all careers, except hotels, there was significant difference (p<.05) in all akills. While people in the field of hotels had a statistical difference (p<.05) in listening, speaking andn translation.3. Concerning the differences among groups of people in all careers, they all had significant difference (p<.05) towards the use of everyday English in 4 skills: listening, speaking, writing and translation. 4. Regarding the differences among groups of people in all careers, they all had significant difference (p<.05) towards the use of professional English in all skills. 5. People in all careers had good attitude towards the use of everyday English and professional English. 6. With respect to the differences among group of people in all careers, the attitudes towards the use of everyday English and professional English were statistically significant. en
dc.format.extent 14895324 bytes
dc.format.mimetype application/pdf
dc.language.iso th en
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย en
dc.subject ภาษาอังกฤษ--การใช้ภาษา en
dc.title การสำรวจความต้องการและเจตคติของบุคคลในสาขาอาชีพต่าง ๆ เกี่ยวกับความสำคัญของภาษาอังกฤษในงานอาชีพและชีวิตประจำวัน en
dc.title.alternative A survey study of needs and attitudes of various professional on the importance of English language in their profession and daily life
dc.type Technical Report en
dc.email.author koythip@chula.ac.th


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record