Abstract:
การศึกษาพิษงูแมวเซา ซึ่งได้ศึกษามาเป็นเวลานาน ทำให้เข้าใจว่าสวน ประกอบที่เป็นพิษของพิษงูแมวเซาน่าจะเป็นเอนไซม์มากกว่าจะเป็นโปลีเปปไทด์ทอกซินอย่างไรก็ดี ผลที่ได้จากการศึกษาความเป็นพิษและเอนไซม์ของพิษงูแมวเซา ได้จากการศึกษาโคยใช้พิษงูที่ยังไม่แยก หรือจากพิษงูที่เพียงกำจัดส่วนประกอบบางชนิดออกไป โดยใช้ความร้อนหรือการตกตะกอน มีรายงานการค้นคว้ากว่าจำนวนน้อยเหลือเกินที่แสดงผล ซึ่งได้จากการศึกษาส่วนประกอบที่แยกออกมาจากพิษงูแมวเซา การศึกษาครั้งนี้ ได้ทดลองแยกพิษงูแมวเซาออกเป็นส่วน ๆ แล้วศึกษาความเป็นพิษและเอนไซม์ของพิษงูแต่ละส่วนที่แยกได้เทียบกับพิษงูที่ยังไม่แยก พบว่า โปรตีนที่ได้จากการโครมาโตกราฟ พิษงูแมวเซาด้วยไดเอธิลามิโนเอธิล เซลลูโลสคอลัมน์ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ให้ชื่อว่า พิษงูสวนที่ I, II, III, IV, V และ VI ตามลำดับ ได้วัดคุณสมบัติของเอนไซม์ ในพิษงูแต่ละส่วนที่แยกได้ และในพิษงูที่ยังไม่แยก ได้แก่ นอนสเปซิฟิศ อัลคาไลน์ เมโนฟอสฟาเทส 5’ นิวคลีโอไทเดส เอกโซนิวคลีเอส ดีออกซีไรโบนิวคลีเอส ฟอสโฟไลเปส เอ ฟอสโฟไลเปส ปี อะมิโนแอซิดเอสเทอเรส โปรตีเนส เปปไทเดส อะมิโนแอซิคออกซิเดส และไฮยาลูโรไนเดส และได้วัดความเป็นพิษของพิษงูกับหนู โดยวัดความสามารถในการทำให้หนูตายหลังจากฉีดพิษงูเข้าเส้นเลือด พบว่า พิษงูทุกส่วนที่แยกได้ยังคงมีความเป็นพิษอยู่ พิษงูส่วนที่ II มีความเป็นพิษสูงสุด และ พิษงูส่วนนี้ แทบจะไม่มีคุณสมบัติของเอนไซมใด ๆ อยู่เลย พิษงูอีก ๓ ส่วน ที่มีความ เป็นพิษรองลงมาคือ พิษงูส่วนที่ I, III และ IV ต่างก็มีค่าของเอนไซม์ ฟอสโฟไลเปส เอ ดีออกซีไรโบนิวคลีเอส และเอกโซนิวคลีเอส สูง เข้าใจว่า ความเป็นพิษของพิษงูส่วนที่ I,III และ IV อาจมีความสัมพันธ์กับผลการกระทำของ เอนไซม์ทั้งสามนี้ และพบว่า พิษงูส่วนที่ V แสดงคุณสมบัติของอะมิโนแอซิดเอสเทอเรส สูงมาก ในขณะที่พิษงูที่แยกได้ ส่วนอื่นเกือบไม่แสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นี้เลย เอนไซม์ที่พบว่ามีมากในพิษงูแมวเซา คือ ฟอสโฟไลเปล เอ ดีออกซีไรโบนิวกลีเอส 5-นิวคลีโอไทเดส และเอกโซนิวคลีเอส ได้วิจารณ์ความสำคัญของสวน ประกอบที่เป็นพิษกับปริมาณของสารนั้นในด้านความสัมพันธ์กับความเป็นพิษของพิษงูแมวเซา และความสัมพันธ์ระหว่างเอนไซม์กับความเป็นพิษของพิษงูแมวเขาไว้ด้วย ได้เสนอ แนะว่า ควรลด pH ของบัฟเฟอร์ที่ใช้ละลายพิษงูก่อนจะแยกให้เหลือประมาณ ๗.๔ หรือต่ำกว่า เพื่อให้พิษงูที่ใช้แยกละลายในบัฟเฟอร์ได้มากขึ้น และเพิ่มอัตราการไหล ของสารที่รองจากคอลัมน เพื่อให้สวนคาบเกี่ยวระหว่างพิษงูส่วนที่ I และ II ลดลงกว่าผลการทดลองนี้ และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะทำก็คือ การวัด optical density ของสารที่รองจากคอลัมน์ทุกหลอก และของพิษงูแต่ละส่วนที่แยกได้รวมทั้งพิษงูที่ยังไม่แยก ที่ความยาวคลื่น ๒๖๐ และ ๒๘๐ nanometer ซึ่งอาจจะช่วยให้เข้าใจสมบัติ ของพิษงูส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น