Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81935
Title: การศึกษาความเป็นพิษและการศึกษาเอนไซม์ในพิษงูแมวเซา
Other Titles: Toxicity and enzymatic studies of russell's viper venom
Authors: ชัยฤทธิ์ โพธิสุข
Advisors: สรรเสริญ ทรัพยโตษก
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Subjects: งูแมวเซา -- พิษ
พิษงู
Russell's viper -- Venom
Poisonous snakes -- Venom
Issue Date: 2515
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาพิษงูแมวเซา ซึ่งได้ศึกษามาเป็นเวลานาน ทำให้เข้าใจว่าสวน ประกอบที่เป็นพิษของพิษงูแมวเซาน่าจะเป็นเอนไซม์มากกว่าจะเป็นโปลีเปปไทด์ทอกซินอย่างไรก็ดี ผลที่ได้จากการศึกษาความเป็นพิษและเอนไซม์ของพิษงูแมวเซา ได้จากการศึกษาโคยใช้พิษงูที่ยังไม่แยก หรือจากพิษงูที่เพียงกำจัดส่วนประกอบบางชนิดออกไป โดยใช้ความร้อนหรือการตกตะกอน มีรายงานการค้นคว้ากว่าจำนวนน้อยเหลือเกินที่แสดงผล ซึ่งได้จากการศึกษาส่วนประกอบที่แยกออกมาจากพิษงูแมวเซา การศึกษาครั้งนี้ ได้ทดลองแยกพิษงูแมวเซาออกเป็นส่วน ๆ แล้วศึกษาความเป็นพิษและเอนไซม์ของพิษงูแต่ละส่วนที่แยกได้เทียบกับพิษงูที่ยังไม่แยก พบว่า โปรตีนที่ได้จากการโครมาโตกราฟ พิษงูแมวเซาด้วยไดเอธิลามิโนเอธิล เซลลูโลสคอลัมน์ แบ่งออกเป็น 6 ส่วน ให้ชื่อว่า พิษงูสวนที่ I, II, III, IV, V และ VI ตามลำดับ ได้วัดคุณสมบัติของเอนไซม์ ในพิษงูแต่ละส่วนที่แยกได้ และในพิษงูที่ยังไม่แยก ได้แก่ นอนสเปซิฟิศ อัลคาไลน์ เมโนฟอสฟาเทส 5’ นิวคลีโอไทเดส เอกโซนิวคลีเอส ดีออกซีไรโบนิวคลีเอส ฟอสโฟไลเปส เอ ฟอสโฟไลเปส ปี อะมิโนแอซิดเอสเทอเรส โปรตีเนส เปปไทเดส อะมิโนแอซิคออกซิเดส และไฮยาลูโรไนเดส และได้วัดความเป็นพิษของพิษงูกับหนู โดยวัดความสามารถในการทำให้หนูตายหลังจากฉีดพิษงูเข้าเส้นเลือด พบว่า พิษงูทุกส่วนที่แยกได้ยังคงมีความเป็นพิษอยู่ พิษงูส่วนที่ II มีความเป็นพิษสูงสุด และ พิษงูส่วนนี้ แทบจะไม่มีคุณสมบัติของเอนไซมใด ๆ อยู่เลย พิษงูอีก ๓ ส่วน ที่มีความ เป็นพิษรองลงมาคือ พิษงูส่วนที่ I, III และ IV ต่างก็มีค่าของเอนไซม์ ฟอสโฟไลเปส เอ ดีออกซีไรโบนิวคลีเอส และเอกโซนิวคลีเอส สูง เข้าใจว่า ความเป็นพิษของพิษงูส่วนที่ I,III และ IV อาจมีความสัมพันธ์กับผลการกระทำของ เอนไซม์ทั้งสามนี้ และพบว่า พิษงูส่วนที่ V แสดงคุณสมบัติของอะมิโนแอซิดเอสเทอเรส สูงมาก ในขณะที่พิษงูที่แยกได้ ส่วนอื่นเกือบไม่แสดงคุณสมบัติของเอนไซม์นี้เลย เอนไซม์ที่พบว่ามีมากในพิษงูแมวเซา คือ ฟอสโฟไลเปล เอ ดีออกซีไรโบนิวกลีเอส 5-นิวคลีโอไทเดส และเอกโซนิวคลีเอส ได้วิจารณ์ความสำคัญของสวน ประกอบที่เป็นพิษกับปริมาณของสารนั้นในด้านความสัมพันธ์กับความเป็นพิษของพิษงูแมวเซา และความสัมพันธ์ระหว่างเอนไซม์กับความเป็นพิษของพิษงูแมวเขาไว้ด้วย ได้เสนอ แนะว่า ควรลด pH ของบัฟเฟอร์ที่ใช้ละลายพิษงูก่อนจะแยกให้เหลือประมาณ ๗.๔ หรือต่ำกว่า เพื่อให้พิษงูที่ใช้แยกละลายในบัฟเฟอร์ได้มากขึ้น และเพิ่มอัตราการไหล ของสารที่รองจากคอลัมน เพื่อให้สวนคาบเกี่ยวระหว่างพิษงูส่วนที่ I และ II ลดลงกว่าผลการทดลองนี้ และอีกสิ่งหนึ่งที่ควรจะทำก็คือ การวัด optical density ของสารที่รองจากคอลัมน์ทุกหลอก และของพิษงูแต่ละส่วนที่แยกได้รวมทั้งพิษงูที่ยังไม่แยก ที่ความยาวคลื่น ๒๖๐ และ ๒๘๐ nanometer ซึ่งอาจจะช่วยให้เข้าใจสมบัติ ของพิษงูส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
Other Abstract: The toxicity of Russell's viper venom has long been suggested to be due to some enzymes rather than polypeptide toxins. Hundreds of reports on the study of enzymes and toxicity of the venom have been published. Most of those reports, however, dealed with the crude venom or the whole venom after some components were destroyed by heat or precipitation. Only a few dealed with the fractionated components of the venom, This investigation is another attempt to study the toxicity and enzyme activities of the fractionated parts of the venom. Venom of Russell's viper of Thailand was chromatographed on DEAE-cellulose column and eluted with 2-amino-2-hydroxymethyl propane -1, 3-diol (tris) buffer. This resulted in 6 peaks, namely fraction I, II, III, IV, V and VI respectively. Crude and fractionated venom were determined for the following enzyme activities :- nonspecific alkaline monophosphatase, 5'-nucleo tidase, exonuclease, deoxyribonuclease, phospholipase A, phospholipase B, aminoacid esterase, proteinase, peptidase, L-amino acid oxidase and hyaluronidase, Toxicity (median lethal dose) of crude and fractionated venom was also determined by intravenous injection into mice. It was found that all venom fractions were toxic. Fraction II, almost void of all enzyme activities, had the most lethal effect. Three other fractions of the next lethality :- fraction I, II and IV were associated with phospholipase A, deoxyribonuclease and exonuclease activities. It is therefore suggested that their lethality might be correlated to the actions of these enzymes. Nearly all aminoacid esterase activity of the crude venom was recovered in fraction V. The crude venom was found to be rich in aminoacid esterase, phospholipase A, deoxyribonuclease, 5'-nucleotidase and exonuclease. Discussion on the possible relationship of toxicity of Russell's viper venom with the lethal effect, content of the lethal components and some enzyme activities was made. It was suggested that the tris buffer of lower pH (below 7.4) should yield a better dissolution of the venom used in the fractionation and increasing of flow rate of the effluent to 120 ml/h should result in a better separation between fraction I and II. It was also suggested that measurement of optical density of the crude venom solution, the effluent and the dialysed fractiona ted venom at 260 and 280 nanometer would give some knowledge of the nature of the venom.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.บ.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2515
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ชีวเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/81935
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chairit_po_front_p.pdfหน้าปก สารบัญ และบทคัดย่อ1.05 MBAdobe PDFView/Open
Chairit_po_ch1_p.pdfบทที่ 11.91 MBAdobe PDFView/Open
Chairit_po_ch2_p.pdfบทที่ 21.72 MBAdobe PDFView/Open
Chairit_po_ch3_p.pdfบทที่ 32.05 MBAdobe PDFView/Open
Chairit_po_ch4_p.pdfบทที่ 41.55 MBAdobe PDFView/Open
Chairit_po_ch5_p.pdfบทที่ 5711.57 kBAdobe PDFView/Open
Chairit_po_back_p.pdfรายการอ้างอิง และภาคผนวก1.25 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.