DSpace Repository

แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กอนุบาล : การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ

Show simple item record

dc.contributor.advisor สุชาดา บวรกิติวงศ์
dc.contributor.author ยุทธชัย ศิลาแลง
dc.contributor.other จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
dc.date.accessioned 2024-02-05T09:54:06Z
dc.date.available 2024-02-05T09:54:06Z
dc.date.issued 2566
dc.identifier.uri https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84121
dc.description วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566
dc.description.abstract การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อวิเคราะห์และเปรียบเทียบการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กอนุบาลที่มีภูมิหลังแตกต่างกัน 2) เพื่อวิเคราะห์โมเดลสมการเชิงโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มของเด็กอนุบาลและตรวจสอบความสอดคล้องข้อมูลเชิงประจักษ์ 3) เพื่อวิเคราะห์อิทธิพลของตัวแปรในระดับห้องเรียนที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กอนุบาล 4) เพื่อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มของเด็กอนุบาลสำหรับผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์ ตัวอย่างประกอบด้วยนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 2864 คน และครูที่สอนนักเรียนระดับชั้นอนุบาลปีที่ 3 จำนวน 53 คน ซึ่งเก็บข้อมูลจากโรงเรียนจำนวน 35 แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร สุ่มตัวอย่างโดยใช้วิธีการแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลนักเรียน แบบสอบถามสำหรับครู การวิเคราะห์สถิติบรรยายด้วยโปรแกรม SPSS และการวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ ด้วยโปรแกรม Mplus ผลการวิจัยพบว่า 1) เด็กอนุบาลที่มาจากครอบครัวที่มีภูมิหลังด้านเศรษฐานะต่างกันส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มต่างกัน 2) โมเดลสมการเชิงโครงสร้างพหุระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มของเด็กอนุบาลที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์  (χ2 = 258.664, p = .00, χ2/df = 2.694, CFI = 0.847, TLI = 0.751, RMSEA = .024, SRMRw= 0.242, SRMRb= 0.062) โดยระดับนักเรียนพบว่า สภาพแวดล้อมทางด้านภาษาที่บ้านมีอิทธิพลทางตรงเชิงลบและพัฒนาการของเด็กมีอิทธิพลเชิงบวกต่อการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มของเด็กอนุบาล 3) ตัวแปรในระดับห้องเรียนที่มีผลต่อการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กอนุบาล พบว่า การจัดสภาพแวดล้อมทางภาษาในห้องเรียน และสมรรถนะการสอนภาษาของครูมีอิทธิพลทางตรงเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ตัวแปรทำนายทั้งหมดในระดับนักเรียนและระดับห้องเรียนสามารถอธิบายความแปรปรวนของการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กอนุบาลได้ร้อยละ 24 และ 95 ตามลำดับ 4) ผลการวิเคราะห์จากโมเดลการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาในห้องเรียนอนุบาล นำไปสู่ข้อเสนอแนะ 3 แนวทาง ดังนี้ (1) ผู้ปกครองไม่ควรเคร่งครัดด้านวิชาการที่บ้านกับเด็กมากเกินไปแต่ควรตระหนักถึงพัฒนาการที่สมวัยของเด็ก (2) ครูควรตระหนักถึงการจัดสภาพแวดล้อมในห้องเรียนให้มีความน่าสนใจด้วยการเปิดโอกาสให้มีประสบการณ์ทางภาษาที่หลากหลาย การอ่านหนังสือกับเด็กและการมีแหล่งทรัพยากรทางภาษาในห้องเรียน สำหรับตัวครูผู้สอนควรจะมีพื้นฐานด้านการสอนภาษาสำหรับเด็กอนุบาลและครูควรมีความถนัดและรักในการสอนภาษา (3) ผู้บริหารและต้นสังกัดควรกำหนดนโยบายส่งเสริม สนับสนุน และสร้างความเข้าใจให้ผู้ปกครอง ครู ผู้บริหารและศึกษานิเทศก์เข้าใจถึงการจัดการเรียนการสอนภาษาสำหรับเด็กปฐมวัยให้ตรงกัน
dc.description.abstractalternative The purpose of this study was to 1) Examine the differences in emergent literacy among children from different socioeconomic backgrounds. 2) Using multilevel structural equation modeling (MSEM) analysis, analyze concepts and theories related to emergent literacy learning approaches, validate empirical data, and test the invariance of the antecedent and subsequent models. 3) Analyze the latent variables in classroom level that effect the emergent literacy approaches model and 4) give guidelines for enhancing kindergarten literacy from the analysis of the model for parents, educators and children. The participants were 2864 kindergarten 3 students and 53 kindergarten teachers working with children aged 5-6 (kindergarten 3) from 35 schools under Bangkok Primary service area office and selected by the Multi-stage Random Sampling. The research instrument consisted of the record form and a survey of the enhancing for kindergarten literacy was completed by these participants. Data were analyzed using descriptive statistics by SPSS and multilevel structural equation model (MSEM) by Mplus. The findings were as follows: 1) Preschoolers from different socioeconomic backgrounds have different effects on emergent literacy. 2) The antecedent and consequent models of emergent literacy approaches are based on a theoretical and literature review fitted with emperical data (χ2 = 258.664, p = .00, χ2/df = 2.694, CFI = 0.847, TLI = 0.751, RMSEA = .024, SRMRw= 0.242, SRMRb= 0.062). In the student level shown home literacy environment had the negative direct effect and child development had positive on emergent literacy. 3) the latent variable in the classroom level shown that classroom literacy environment and teacher literacy aptitude had the direct effect on emergent literacy and the variance could be explained by all predictor variables at the student and classroom levels R-square as follows 24 and 95. 4) In order to enhance kindergarten classroom literacy, there were four main ideas suggested by the analysis of the model. First, Parents should be mindful of providing opportunities for diverse language experiences in order to create an engaging home environment. Reading to children and having language resources at home and in the community are both important. Second, it was important for teachers to aware of the literacy environment of the classroom. This could be achieved by offering diverse literacy opportunities, reading aloud to students, and making available enriching literacy materials. The teacher should have fundamental abilities to instruct early literacy and possess both excellent proficiency and passion to teach languages. The last, the school director and the affiliation should develop policies that promote, support, and increase understanding of emergent literacy teaching for preschoolers among parents, teachers, administrators, and educational supervisors.
dc.language.iso th
dc.publisher จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.rights จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
dc.title แนวทางการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาระยะแรกเริ่มสำหรับเด็กอนุบาล : การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างพหุระดับ
dc.title.alternative Guidelines for enhancing emergent literacy learning approaches for preschoolers : multilevel structural equation model analysis
dc.type Thesis
dc.degree.name ครุศาสตรมหาบัณฑิต
dc.degree.level ปริญญาโท
dc.degree.discipline สถิติและสารสนเทศการศึกษา
dc.degree.grantor จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


Files in this item

This item appears in the following Collection(s)

Show simple item record