dc.contributor.advisor | พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ | |
dc.contributor.advisor | ชญาพิมพ์ อุสาโห | |
dc.contributor.author | ปิยนัฐ ธนะบุตร | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T09:54:07Z | |
dc.date.available | 2024-02-05T09:54:07Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84123 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษากรอบแนวคิดสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนและการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) วิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน และ 3) พัฒนากลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ ตัวอย่างคือโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 292 โรงเรียน ผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 3 กลุ่ม ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียน รวมจำนวน 876 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบประเมินกรอบแนวคิด แบบสอบถาม แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของกลยุทธ์ แบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องระหว่างข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ ค่าความเที่ยงแบบความสอดคล้องภายใน ค่าดัชนีความต้องการจำเป็น การทดสอบความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กรอบแนวคิดสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียนและการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 2 กรอบแนวคิด ได้แก่ 1.1) กรอบแนวคิดสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1.1.1) ด้านการสร้างสรรค์คุณค่าใหม่ 1.1.2) ด้านการรับมือกับความตึงเครียดและภาวะวิกฤต และ 1.1.3) ด้านการแสดงความรับผิดชอบ 1.2) กรอบแนวคิดการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1.2.1) ด้านการออกแบบหลักสูตร 1.2.2) ด้านการจัดการเรียนรู้ 1.2.3) ด้านการวัดและประเมินผล และ 1.2.4) ด้านสนับสนุนสื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ 2) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และภาวะคุกคามของการบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ประกอบด้วย 2 ประเด็น ได้แก่ 2.1) สมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน 2.1.1) จุดแข็งรายด้านคือ ด้านการแสดงความรับผิดชอบ 2.1.2) จุดอ่อนรายด้าน ประกอบด้วย 2 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการสร้างคุณค่าใหม่ และ (2) ด้านการรับมือกับความตึงเครียดและภาวะวิกฤต ตามลำดับ 2.1.3) จุดแข็งรายข้อ ประกอบด้วย 5 ข้อ ได้แก่ (1) ความสามารถในการปรับตัว (2) การยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรม (3) ความสามารถในการแก้ปัญหา (4) การตระหนักรู้ในตนเอง และ (5) ความคิดสร้างสรรค์ ตามลำดับ 2.1.4) จุดอ่อนรายข้อ ประกอบด้วย 5 ข้อ ได้แก่ (1) ความร่วมมือ (2) การสะท้อนคิด (3) ความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น (4) ความยืดหยุ่นทางความคิดและจิตใจ และ (5) ความอยากรู้อยากเห็น ตามลำดับ 2.2) การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษา 2.2.1) จุดแข็งรายด้าน ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านการจัดการเรียนรู้ (2) ด้านการสนับสนุนสื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ และ (3) ด้านการวัดและประเมินผล ตามลำดับ 2.2.2) จุดอ่อนรายด้าน คือด้านการออกแบบหลักสูตร 2.2.3) จุดแข็งรายข้อ ประกอบด้วย 6 ข้อ ได้แก่ (1) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้เสริมหลักสูตร (2) การสนับสนุนสื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ภายนอกสถานศึกษา (3) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้กิจกรรมเสริมหลักสูตร (4) การสนับสนุนสื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ภายในสถานศึกษา (5) การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามหลักสูตร และ (6) การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร ตามลำดับ 2.2.4) จุดอ่อนรายข้อ ประกอบด้วย 2 ข้อ ได้แก่ (1) การกำหนดจุดมุ่งหมายของหลักสูตร และ (2) การกำหนดเนื้อหาของหลักสูตร ตามลำดับ 2.2.5) โอกาสคือ ด้านเทคโนโลยี และ 2.2.6) ภาวะคุกคาม ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ (1) ด้านสภาพเศรษฐกิจ (2) ด้านสภาพสังคม และ (3) ด้านการเมืองและนโยบายของรัฐ ตามลำดับ และ 3) กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ประกอบด้วย 4 กลยุทธ์หลัก 8 กลยุทธ์รอง และ 32 วิธีการ ได้แก่ 3.1) กลยุทธ์หลักที่ 1 พลิกโฉมการออกแบบหลักสูตรสถานศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ด้านการรับมือกับความตึงเครียดและภาวะวิกฤตและด้านการแสดงความรับผิดชอบ 3.2) กลยุทธ์หลักที่ 2 ยกระดับการจัดการเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ด้านการสร้างคุณค่าใหม่ ด้านการรับมือกับความตึงเครียดและภาวะวิกฤต และด้านการแสดงความรับผิดชอบ 3.3) กลยุทธ์หลักที่ 3 ปรับกระบวนทัศน์การวัดและประเมินผลที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน ด้านการสร้างคุณค่าใหม่และด้านการแสดงความรับผิดชอบ และ 3.4) กลยุทธ์ที่ 4 สร้างระบบนิเวศสื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรม และแหล่งเรียนรู้ที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนของนักเรียน ด้านการสร้างคุณค่าใหม่ ด้านการรับมือกับความตึงเครียดและภาวะวิกฤต และด้านการแสดงความรับผิดชอบ | |
dc.description.abstractalternative | The objectives of this research were 1) to study the conceptual framework of secondary schools academic management and transformative competencies of students, 2) to analyze the strengths, weaknesses, opportunities and threats of secondary schools academic management to enhance transformative competencies of students, and 3) to develop secondary schools academic management strategies to enhance transformative competencies of students. The methodology used in this research was the multiphase mixed methods design. The samples were 292 secondary schools under the Office of the Basic Education Commission, the Ministry of Education. The informants consisted of 3 groups: school administrators, teachers and students, totaling 876 people. The research instruments were comprised of the conceptual framework evaluation form, questionnaire, suitability and feasibility of strategies evaluation form and focus group discussion recording form. The collected data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation, index of item-objective congruence, internal consistency reliability, PNImodified, analysis of variance and content analysis. The results were as follow: 1) The conceptual framework of transformative competencies of students and the secondary schools academic management consisted of 2 conceptual frameworks; 1.1) the conceptual framework of transformative competencies of students consisted of 3 elements; 1.1.1) creating new value, 1.1.2) reconciling tensions and dilemmas, and 1.1.3) taking responsibility, 1.2) the conceptual framework of secondary schools academic management consisted of 4 elements; 1.2.1) curriculum design, 1.2.2) learning management, 1.2.3) measurement and evaluation, and 1.2.4) supporting media, technology, innovation, and learning resources. 2) The strengths, weaknesses, opportunities and threats of secondary schools academic management to enhance transformative competencies of students consisted of 2 issues; 2.1) transformative competencies of students; 2.1.1) the strength consisted of 1 element; (1) taking responsibility, 2.1.2) the weaknesses consisted of 2 elements; (1) creating new value, and (2) reconciling tensions and dilemmas, respectively, 2.1.3) the strengths consisted of 5 items; (1) adaptability, (2) integrity, (3) problem solving, (4) self-awareness, and (5) creativity, respectively, 2.1.4) the weaknesses consisted of 5 items; (1) collaboration, (2) reflection thinking, (3) empathy, (4) cognitive flexibility and resilience, and (5) curiosity, respectively, 2.2) secondary schools academic management; 2.2.1) the strengths consisted of 3 elements; (1) learning management, (2) supporting media, technology, innovation, and learning resources, and (3) measurement and evaluation, respectively, 2.2.2) the weakness consisted of 1 element; (1) the curriculum design, 2.2.3) the strengths consisted of 6 items; (1) organizing extra-curricular learning activities, (2) supporting media, technology, innovation, and learning resources outside the schools, (3) measuring and evaluating learning outcomes in extra-curricular activities, (4) supporting media, technology, innovation and learning resources within the schools, (5) organizing learning activities according to the curriculum, and (6) measuring and evaluating learning outcomes according to the curriculum, respectively, 2.2.4) the weaknesses consisted of 2 items; (1) determining the objectives of the curriculum, and (2) determining the content of the curriculum, respectively, 2.2.5) the opportunity consisted of 1 element; (1) the technological environment, 2.2.6) the threats consisted of 3 elements; (1) economic environment, (2) social environment, and (3) political-legal environment, respectively. 3) The secondary schools academic management strategies to enhance transformative competencies of students consisted of 4 main strategies, 8 sub-strategies, and 32 methods; (1) transforms the school curriculum design that focuses on the transformative competencies of students: reconciling tensions and dilemmas, and taking responsibility, (2) enhance learning management that focuses on the transformative competencies of students: creating new value, reconciling tensions and dilemmas, and taking responsibility, (3) adjust the measurement and evaluation paradigm that focuses on the transformative competencies of students: creating new value, and taking responsibility, and (4) build an ecosystem of media, technology, innovation, and learning resources that focuses on the transformative competencies of students: creating new value, reconciling tensions and dilemmas, and taking responsibility. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.title | กลยุทธ์การบริหารวิชาการโรงเรียนมัธยมศึกษาที่เสริมสร้างสมรรถนะการเปลี่ยนแปลงของนักเรียน | |
dc.title.alternative | Secondary schools academic management strategies to enhance transformative competencies of students | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |