dc.contributor.advisor | เพ็ญวรา ชูประวัติ | |
dc.contributor.advisor | อภิรดี จริยารังษีโรจน์ | |
dc.contributor.author | รุ่งทิพย์ มานะกิจ | |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | |
dc.date.accessioned | 2024-02-05T09:54:13Z | |
dc.date.available | 2024-02-05T09:54:13Z | |
dc.date.issued | 2566 | |
dc.identifier.uri | https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/84140 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2566 | |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษากรอบแนวคิดของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน และสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ 2. ศึกษาระดับสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพของผู้บริหารโรงเรียน 3. ศึกษาความต้องการจำเป็นของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ และ 4. พัฒนานวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสมวิธีพหุระยะ แบ่งเป็น 4 ระยะ กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนที่มีการจัดการศึกษาในระดับปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 394 โรงเรียน จากประชากรทั้งหมดจำนวน 25,893 โรงเรียน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ผู้ให้ข้อมูลในการตอบแบบประเมินและแบบสอบถาม คือ ผู้อำนวยการสถานศึกษา จำนวน 330 คน และ 320 คน ตามลำดับ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมิน แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการคำนวณความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา และความต้องการจำเป็น ผลการวิจัย พบว่า 1. กรอบแนวคิดของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียน ประกอบด้วย 2 รูปแบบการพัฒนาคือ 1) การพัฒนาระหว่างเวลาการปฏิบัติงาน ได้แก่ การเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง การมอบหมายงาน การหมุนเวียนงาน การทำงานร่วมกับองค์กรหรือชุมชนอื่น ๆ การสอนงานและการเป็นพี่เลี้ยง และ 2) การพัฒนานอกเวลาการปฏิบัติงาน ได้แก่ การเรียนในชั้นเรียนหรือคอร์สเรียนต่าง ๆ การเรียนรู้ด้วยตนเอง การเข้าร่วมประชุม/ฝึกอบรม/สัมมนา สถานการณ์จำลอง/บทบาทสมมติ การทัศนศึกษา/การเยี่ยมชม การแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากชุมชนแห่งการปฏิบัติ กรอบแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ ประกอบด้วย 1) ความสามารถด้านการส่งเสริมการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย 2) ความสามารถด้านการพัฒนาหลักสูตรและสภาพแวดล้อมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 3) ความสามารถด้านการจัดการระบบการสังเกต คัดกรอง การวัดและประเมินผล และการจัดทำสารนิทัศน์สำหรับเด็กปฐมวัย 4) ความสามารถด้านการส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย 5) ความสามารถด้านการเสริมสร้างความสัมพันธ์ ปฏิสัมพันธ์ และการแนะแนวเด็กปฐมวัยและครอบครัว 6) ความสามารถด้านการสร้างการมีส่วนร่วมของครอบครัวและชุมชนในการพัฒนาเด็กปฐมวัย 7) ความสามารถด้านการมีภาวะผู้นำทางการศึกษาปฐมวัย 8) ความสามารถด้านการพัฒนาทางวิชาชีพปฐมวัย 9) ความสามารถด้านการบริหารจัดการและการนิเทศด้านปฐมวัย 2. ระดับสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ พบว่า ความสามารถด้านการส่งเสริมสุขภาพ ความปลอดภัย และโภชนาการสำหรับเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยสูงสุด และความสามารถด้านการส่งเสริมการดูแลและพัฒนาเด็กปฐมวัย มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด 3. ความต้องการจำเป็นของการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ พบว่า รูปแบบการพัฒนานอกเวลาการปฏิบัติงานมีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุด และวิธีการพัฒนาที่มีค่าความต้องการจำเป็นสูงสุดคือ การเข้าร่วมประชุม ฝึกอบรม สัมมนา 4. นวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ มีชื่อว่า “นวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนแบบผสมผสานระหว่างการพัฒนานอกเวลาการปฏิบัติงานและการพัฒนาระหว่างเวลาการปฏิบัติงานเพื่อเสริมสร้างสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ” ประกอบด้วย 5 โมดูล ซึ่งแต่ละโมดูลประกอบด้วย หลักการ จุดมุ่งหมาย เนื้อหา ระยะเวลา รูปแบบและวิธีการพัฒนา และการวัดและประเมินผล | |
dc.description.abstractalternative | This research aimed to 1. study the conceptual framework of development of school administrators and professional early childhood educator competencies. 2. study the competency level of professional early childhood educator. 3. study the priority needs of development of school administrators based on the concept of professional early childhood educator’s competencies. 4. design school administrator development innovation based on the concept of professional early childhood educator’s competencies. A multiphase mixed-methods research design was conducted. The sample was 394 schools that provide early childhood education under the Office of the Basic Education Commission by employing a multi-stage random sampling method from a total population of 25,893 schools. The informants in answering assessment and questionnaire forms were 330 and 320 school directors, respectively. The research tools were assessment, questionnaire, and interview forms. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, content analysis, and modified priority need index. The results showed as follows 1. the conceptual framework of development of school administrators consists of 1) on the job development: action learning, assignment, job rotation, working with other organizations or communities, and coaching and mentoring, and 2) off the job development: classes or courses, self-learning, conference/training/seminar, simulation/role playing, field trip/visiting, and learning exchange from communities of practice. The conceptual framework of professional early childhood educator competencies consists of 1) promotion of early childhood care and development, 2) development of curriculum and learning environment for early childhood, 3) system management of observation, screening, assessment, and documentation for early childhood, 4) promotion of health, safety, and nutrition for early childhood, 5) enhancing relationship, interaction, and guidance for early childhood and family, 6) engagement building of family and community in early childhood development, 7) leadership in early childhood education, 8) early childhood professional development, and 9) early childhood administration and supervision. 2. The competency level of professional early childhood educator indicated that the promotion of health, safety, and nutrition for early childhood was the highest level whereas the promotion of early childhood care and development was the least level. 3. the priority needs of development of school administrators based on the concept of professional early childhood educator’s competencies presented that the highest priority needs index was off the job development. The development method presented that the highest priority needs index was conference/training/seminar. 4. school administrator development innovation based on the concept of professional early childhood educator’s competencies was called “School Administrator Development Innovation by Blending between Off the Job Development and On the Job Development for Enhancing Professional Early Childhood Educator’s Competencies” that consists of 5 modules. The 5 modules consisted of principle, purpose, duration time, content, development methods, and measurement and evaluation. | |
dc.language.iso | th | |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | |
dc.subject.classification | Social Sciences | |
dc.subject.classification | Education | |
dc.subject.classification | Education science | |
dc.title | นวัตกรรมการพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนตามแนวคิดสมรรถนะนักการศึกษาปฐมวัยมืออาชีพ | |
dc.title.alternative | School administrator development innovation based on the concept of professional early childhood educator's competencies | |
dc.type | Thesis | |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | |
dc.degree.discipline | บริหารการศึกษา | |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |