Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10000
Title: การศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 และ 4 ในโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Other Titles: A study of state and problems of school-based curiculum development of science strand at keystage three and four in pilot schools implementing basic education curriculum
Authors: เชาวนี ผสมทรัพย์
Advisors: อลิศรา ชูชาติ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Alisara.C@chula.ac.th
Subjects: การศึกษา -- หลักสูตร
การศึกษาขั้นพื้นฐาน -- หลักสูตร
วิทยาศาสตร์ -- การศึกษาและการสอน
Issue Date: 2546
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ศึกษาสภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ช่วงชั้นที่ 3 และ 4 ในโรงเรียนนำร่องการใช้หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ให้ข้อมูลคือ ผู้รับผิดชอบการจัดทำหลักสูตรฯ จำนวน 40 คน และครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ จำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์เรื่องสภาพและปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์พบว่า โรงเรียน 72.50% จัดทำหลักสูตรทั้ง 2 ช่วงชั้นให้เสร็จในคราวเดียวกัน โดยใช้เวลา 1-3 เดือน ลักษณะและโครงสร้างหลักสูตรฯ ช่วงชั้นที่ 3 โรงเรียน 92.11% กำหนดให้เรียนอย่างน้อย 120 ชม./ปี สัปดาห์ละ 3 ชม. ช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียน 67.50% ที่จัดหลักสูตรเหมือนกันทั้งแผนการเรียนที่เน้นและไม่เน้นวิทยาศาสตร์ กำหนดให้เรียน 6 หน่วยกิต ภายใน 6 ภาคการศึกษา และการจัดเนื้อหารายวิชาของหลักสูตรทั้ง 2 ช่วงชั้นโรงเรียนส่วนใหญ่ ดำเนินการในลักษณะเดียวกันคือ นำสาระทั้ง 7 สาระที่มีความใกล้เคียงกัน จัดเป็น 4 กลุ่มคือ กลุ่มที่ 1 (สาระที่ 1, 2) กลุ่มที่ 2 (สาระที่ 3) กลุ่มที่ 3 (สาระที่ 4, 5) และกลุ่มที่ 4 (สาระที่ 6, 7) ส่วนสาระที่ 8 จัดให้สอดแทรกอยู่ในทุกกลุ่มวิชา การเตรียมความพร้อมให้กับครู พบว่าโรงเรียน 71.05% และ 78.95% ส่งครูเข้ารับการอบรมที่จัดโดยกรมวิชาการ และจัดเตรียมเอกสารหลักสูตรให้ครูศึกษาด้วยตนเองตามลำดับ ทั้งนี้โรงเรียน 42.50% ให้รองผู้อำนวยการฯ ฝ่ายวิชาการเป็นผู้มอบหมายงาน รวมทั้งการกำกับและติดตามงาน ทุกโรงเรียนมีการจัดทำส่วนนำและรายละเอียดของหลักสูตรครบทุกส่วน พบว่าในการจัดทำรายละเอียดของหลักสูตร โรงเรียน 75.00% ดำเนินการโดยอิงหลักสูตรเดิม และนำมาจากคู่มือการจัดสาระการเรียนรู้ฯ วิทยาศาสตร์ โรงเรียน 54.29% มีการตรวจสอบหลักสูตรฯ ก่อนนำไปใช้ โดยการตรวจสอบองค์ประกอบของหลักสูตรฯ โดยใช้แบบตรวจสอบรายการ ส่วนการตรวจสอบเนื้อหาของหลักสูตรฯ ใช้วิธีการประชุมร่วมกันระหว่างผู้เชี่ยวชาญกับครูในกลุ่มสาระ 2. ปัญหาการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาฯ ผู้รับผิดชอบการจัดทำหลักสูตรฯ ประเมินเรื่อง การเตรียมเอกสารหลักสูตรให้กับครู การเข้ารับการอบรมจากหน่วยงานต่างๆ การมอบหมายงานให้กับครู การกำกับและติดตามงาน การตรวจสอบหลักสูตรฯ ก่อนนำไปใช้ การทำงานของครูในการจัดทำหลักสูตรฯ เป็นปัญหาในระดับปานกลาง ส่วนครูวิทยาศาสตร์ประเมินตนเองว่า ความรู้ความเข้าใจ ความสามารถและประสบการณ์ในการพัฒนาหลักสูตรฯ และความลึกซึ้งในเนื้อหาต่อการจัดทำหลักสูตรฯ เป็นปัญหาสำหรับการพัฒนาหลักสูตรฯในระดับปานกลาง ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบการจัดทำหลักสูตรฯ ที่ประเมินเรื่องดังกล่าวของครูว่าเป็นปัญหาในระดับปานกลาง ยกเว้น 4 เรื่อง คือความรู้ความเข้าใจในการกำหนดจุดมุ่งหมายการเรียนรู้ที่คาดหวังฯ การกำหนดสาระการเรียนรู้ฯ และการจัดทำคำอธิบายรายวิชา ซึงผู้รับผิดชอบการจัดทำหลักสูตรฯประเมินว่าเป็นปัญหาในระดับค่อนข้างน้อย ด้านความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาหลักสูตรฯ พบว่าทั้ง ผู้รับผิดชอบการจัดทำหลักสูตรฯ และครู เห็นด้วยในเรื่องที่โรงเรียนจัดทำหลักสูตร สถานศึกษาฯ เอง และพึงพอใจต่อเอกสารหลักสูตรฯที่โรงเรียนพัฒนาในระดับปานกลาง และมีความคิดเห็นว่าครูมีความพร้อม มีความมั่นใจ และมีความสนใจในการจัดทำหลักสูตรฯ ในระดับปานกลางเช่นเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ครูวิทยาศาสตร์มีความเห็นว่า การจัดทำหลักสูตรฯ เป็นเรื่องค่อนข้างยาก
Other Abstract: To study state and problems of schoolbased curriculum development of science strand at key stage three and four in pilot schools in basic education curriculum implementation. The samples used in this research were 40 responsible persons in developing school-based curriculum and 224 science teachers. The research instruments were questionnaires and interview guideline concerning state and problems of school-based curriculum development of science strand at key stage three and four. The collected data were analyzed by means of arithmetic mean and standard deviation. The research findings were as follows 1. State in developing school-based curriculum : It was found that 72.50% of schools developed science curriculum on both key stages at the same time and finished it within 1-3 months. The feature and structure of the curriculum, at key stage 3, 92.11% of schools designed the curriculum that students had to learn at least 120 hrs per year and 3 hours per week. At key stage 4, 67.50% of schools designed the same structure for students in the emphasis and non-emphasis science learning program, that was students had to register at least 6 credits for the period of 6 semesters. The assignment of the subject content, it was found most schools had the same direction in arranging the content for both key stage 3 and 4 by categorizing 7 science strands into 4 subject groups, group 1 (strand 1, 2), group 2 (strand 3), group 3 (strand 4, 5) and group 4 (strand 6, 7) and strand 8 was integrated into those 4 groups. 71.05% and 78.95% of schools prepared the teachers by sending representative to be trained by the department of academic, Ministry of Education and provided curriculum document for self-study respectively. 42.50% of schools assigned assistant principle on academic to be responsible and to be the ones who distributed the work as well as supervising and monitoring. In writing details of each part of the curriculum, 75.00% of schools did it by referring to the previous curriculum and the new handbook on instruction activity of science strand. 54.29% of schools evaluated the curriculum before implementation by using the check list for checking the completeness of the components and using the assembling among the experts and the science teachers to evaluate the subject content. 2. Problems in developing schoolbased curriculum : The responsible persons appraised that the issues concerning the curriculum document for teachers to study, the training by various organizations, assigning work to teachers, supervising and monitoring and curriculum evaluation before implementation, the working of teachers and time for curriculum development were moderate problems. Meanwhile, science teachers self appraised themselves that their ability in, experience of curriculum development and the depth of curriculum content arrangement were the moderate problems. That was conformed to the opinions of responsible persons in appraising teachers. Concerning the opinion towards the curriculum development, it was found that both responsible persons in curriculum development and science teachers agreed with the responsible of school to develop school-based curriculum, and they were satisfied with curriculum document the schools developed at moderate level. The responsible persons thought that their teachers were ready, had confidence and interest in school-based curriculum development at moderate level. However, science teachers themselves still thought that curriculum development were rather difficult task for them.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การศึกษาวิทยาศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10000
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.471
ISBN: 9741758316
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2003.471
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Chawanee.pdf1.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.