Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10059
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เหมือนเดือน พิศาลพงศ์ | - |
dc.contributor.author | วันวิสา แสงรุ่งเรืองโรจน์ | - |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | - |
dc.date.accessioned | 2009-08-14T01:54:48Z | - |
dc.date.available | 2009-08-14T01:54:48Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.isbn | 9741744951 | - |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10059 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 | en |
dc.description.abstract | วุ้นมะพร้าวเป็นผลิตภัณฑ์จากการหมักน้ำมะพร้าวกับเชื้อแบคทีเรีย Acetobacter โดยวุ้นมะพร้าว มีองค์ประกอบเป็นเป็นเซลลูโลสบริสุทธิ์และมีสมบัติที่เป็นประโยชน์หลายอย่าง ปัจจุบันวุ้นมะพร้าว ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ในหลายด้าน ได้แก่ อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง อุตสาหกรรมสิ่งทอ กระบวนการบำบัดของเสีย อุตสาหกรรมกระดาษ อุตสาหกรรมอาหาร ใช้ในทางการแพทย์ และใช้ในกระบวนการแยกด้วยเยื่อแผ่น วิทยานิพนธ์นี้ ได้ศึกษาการพัฒนาการขึ้นรูปเยื่อแผ่นเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าว และทำการทดสอบวิเคราะห์ โครงสร้าง ความสามารถในการให้สารแพร่ผ่านและสมบัติอื่นๆ โดยพบว่าขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางรูพรุนของเยื่อแผ่น มีค่าประมาณ 0.2 ไมครอน การทดสอบค่าการแพร่ผ่าน ทำโดยใช้สารละลายในน้ำของสารไม่มีประจุ (แซคคาไรด์ ที่ขนาดโมเลกุลต่างๆ) และเกลือ (โซเดียมคลอไรด์และแคลเซียมคลอไรด์) พบว่า สัมประสิทธิ์การกักกันเท่ากับ 0-0.1, 0-0.2 และ 0.1-0.99 สำหรับการแยกเกลือ, น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยวหรือคู่ และน้ำตาลหลายโมเลกุลตามลำดับ โดยค่าการกักกันจะเพิ่มขึ้นและอัตราเร็วในการแพร่ผ่านจะลดลง เมื่อขนาดโมเลกุลของตัวถูกละลายเพิ่มขึ้นหรือความหนาของเยื่อแผ่นเพิ่มขึ้น ค่าความต้านทานแรงดึง เฉลี่ยของฟิล์มที่ความหนา 0.0402 มิลลิเมตร เท่ากับ 4252.07 นิวตันต่อเมตร และค่าความต้านทาน แรงดึงเฉลี่ยของฟิล์มที่ความหนา 0.1212 มิลลิเมตร เท่ากับ 5208.97 นิวตันต่อตารางเมตร | en |
dc.description.abstractalternative | Nata-de-coco is product from fermentation of coconut water with Acetobacter bacteria. It composed of pure cellulose and displays many useful properties. The attractiveness of nata de coco has increased recently due to the possibilities to use in many applications such as cosmetics, textile industry, sewage purification, paper industry, food industry, medicine and membrane separation. In this research study, the procedures for cellulose membrane fabrication from nata-de-coco has been developed, and membrane's structure, permeability and some other properties were determined. The pore diameter of membrane was estimated to 0.2 micrometer. Permeability experiments of aqueous solutions of neutral solutes (saccharides with different molecular weights) and salts (sodium chloride and calcium chloride) were carried out. The rejection coefficients of 0-0.1, 0-0.2 and 0-0.99 were observed in the separation of salts, mono and di saccharides and dextrans respectively. Rejection increased and permeate flux decreased when molecular weight of solute increased or the thickness of membrane increased. Average tensile strength of 0.0402 mm. film thickness was 4252.07 N/m and average tensile strength of 0.1212 mm. film thickness was 5208.97 N/m. | en |
dc.format.extent | 4297396 bytes | - |
dc.format.mimetype | application/pdf | - |
dc.language.iso | th | es |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.subject | การแยก (เทคโนโลยี) | en |
dc.subject | เซลลูโลส | en |
dc.subject | วุ้นมะพร้าว | en |
dc.subject | การแยกด้วยเมมเบรน | en |
dc.title | การพัฒนาเยื่อแผ่นเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าวสำหรับการแยกสาร | en |
dc.title.alternative | Development of cellulose membrane from nata-de-coco for material separation | en |
dc.type | Thesis | es |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | es |
dc.degree.level | ปริญญาโท | es |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมเคมี | es |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en |
dc.email.advisor | muenduen.p@chula.ac.th | - |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Wunwisa.pdf | 4.2 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.