Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10062
Title: ตัวแปรคัดสรรที่ส่งผลต่อลักษณะพลวัตการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ
Other Titles: Selected variables affecting the learning dynamics characteristics of teachers in learning process reform leading schools under the Office of the National Primary Education Commission
Authors: ศุภมาส อติไพบูลย์
Advisors: ประศักดิ์ หอมสนิท
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Prasak.h@car.chula.ac.th
Subjects: การเรียนรู้
Issue Date: 2544
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) ศึกษาลักษณะพลวัตการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ 2.) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพลวัตการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ ิ กับตัวแปรคัดสรรด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ด้านสภาพแวดล้อมการทำงานและความพึงพอใจในการทำงาน 3.) ศึกษาตัวแปรคัดสรรที่ร่วมอธิบายความแปรปรวนของลักษณะพลวัตการเรียนรู้ของครูในโรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ครูในโรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ จำนวน 2,299 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูในโรงเรียนแกนนำปฏิรูปกระบวนการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติมีลักษณะพลวัตการเรียนรู้อยู่ในระดับมาก ลักษณะที่พบมากที่สุด 3 อันดับแรกคือ 1) ครูในโรงเรียนทุกคนสามารถทำงานร่วมกันได้เป็นอย่างดี ทำให้โรงเรียนเจริญก้าวหน้า 2) ครูกระตือรือร้น สนใจ ใฝ่หาความรู้ต่างๆ ที่ทันสมัย เพื่อพัฒนางานสอน และ 3) ครูจำเป็นต้องศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมอยู่เสมอ 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างลักษณะพลวัตการเรียนรู้กับตัวแปรคัดสรรทั้ง 3 ด้าน พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 จำนวน 71 ตัว 3 อันดับแรกได้แก่ 1)ผู้บริหารเปิดโอกาสให้ครูได้คิดค้นวิธีการสอนอย่างอิสระ 2) นักเรียนเป็นส่วนสำคัญให้ครูพัฒนาการสอน 3) กิจกรรมต่างๆ ภายในโรงเรียนส่งเสริมให้ครูทำงานร่วมกับผู้อื่นได้ดีขึ้น และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 11 ตัว 2 อันดับแรกได้แก่ ผู้นำแบบเผด็จการและวิชาที่สอน คือ ภาษาไทยและสร้างเสริมลักษณะนิสัย 3. การวิเคราะห์ถดถอยแบบพหุคูณแบบปกติ มีตัวแปรที่สามารถอธิบายลักษณะพลวัตการเรียนรู้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 44 ตัวโดยตัวแปรทั้งหมดที่พบสามารถอธิบายความแปรปรวนของลักษณะพลวัตการเรียนรู้ได้เท่ากับ 73.8% 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น มีตัวแปรที่สามารถอธิบายลักษณะพลวัตการเรียนรู้ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 จำนวน 47 ตัว โดยตัวแปรที่พบในแต่ละขั้นสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของลักษณะพลวัตการเรียนรู้ได้เท่ากับ 73.3%
Other Abstract: The purpose of this research were 1) to study the learning dynamics characteristics of the teachers in learning reform leading schools under the jurisdiction of the office of the national primary education commission 2) to study the relationship between the characteristics of teachers in learning reform leading schools and three categories of selected variable : personal characteristics, work environment and job satisfaction and 3) to identify predictor variables affecting the learning dynamics characteristics of teachers in learning reform leading schools. The samples consisted of 2,299 teachers in learning reform leading schools. The finding revealed that : 1.) Teachers in learning reform leading schools rated their own learning dynamics characteristics as high. The first three high rated characteristics were (1) teachers be able to work in collaboration make school in progress (2) teachers active and have interests in acquiring new knowledge in order to develop instruction and (3) teachers need to obtain extra study. 2.) There were statistically significant positive relationships at .05 level between the learning dynamics characteristics and 71 selected variables. The first three characteristics were 1) administrators offered a chance for teachers to create new teaching methods 2) students were key factors for teachers to develop instruction and 3) school activities supported teacher to work with other. There were statistically significant negative relationships at .05 level between the learning dynamics characteristics and 11 variables. The two variables were (1) autocratic leader and (2) field of teaching : Thai language and character development area. 3.) In multiple regression analysis at .05 level with enter method, there were 44 predictor variables that affected learning dynamics characteristics. These 44 predictor variables together were account for 73.8% of the variance. 4.) In multiple regression analysis at .05 level with Stepwise method, there were 47 predictor variables that affected learning dynamics characteristics. These 47 predictor variables together were able to account for 73.3% of the variance.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2544
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10062
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2001.571
ISBN: 9470305326
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2001.571
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supamas.pdf2.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.