Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1013
Title: | การเข้าถึงสื่อสารมวลชนกระแสหลักของสำนักข่าวประชาธรรม |
Other Titles: | Accessing the mainstream media of the Prachadharma News Agency |
Authors: | อริน เจียจันทร์พงษ์, 2522- |
Advisors: | อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Ubonrat.S@chula.ac.th |
Subjects: | การบรรณาธิกรข่าว สื่อมวลชน สำนักข่าวประชาธรรม |
Issue Date: | 2546 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | บริบททางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจของไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าสื่อมวลชนมักถูกจำกัดเสรีภาพอยู่บ่อยครั้ง ไม่สามารถเป็นเวทีแห่งการแสดงความคิดเห็นอย่างแท้จริง ผู้ที่ต้องการจะสื่อสารระหว่างกันในกลุ่มหรือแสดงความคิดเห็นของตนสู่สาธารณะ จึงต้องรวมตัวผลิตสื่อของตนเองที่เรียกว่าเป็น สื่อทางเลือก สำนักข่าวประชาธรรมเป็นองค์กรสื่อทางเลือกที่มุ่งเสนอข่าวสารและข้อมูลจากภาคประชาชนไปสู่สาธารณชน โดยอาศัยวิธีการเป็นสื่อกลางระหว่างชาวบ้านกับผู้อ่าน การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบว่า ข่าวของสำนักข่าวประชาธรรมเข้าถึงพื้นที่ของสื่อสารมวลชนกระแสหลักได้หรือไม่อย่างไร ตรงกับวัตถุประสงค์และความคาดหวังของการจัดตั้งองค์กรสำนักข่าวขึ้นมากน้อยเพียงใด โดยอาศัยการศึกษาประวัติศาสตร์ของสื่อทางเลือกในประเทศไทยจากการวิจัยเอกสารและการศึกษาองค์กรสำนักข่าวประชาธรรมจากการสัมภาษณ์และการสังเกตการณ์ ประกอบกับการวิเคราะห์เนื้อหาข่าวเพื่อเปรียบเทียบกระบวนการบรรณาธิกรณ์ข่าวของสำนักข่าวประชาธรรมกับสมาชิกที่เป็นสื่อสารมวลชนกระแสหลักอันได้แก่ หนังสือพิมพ์ข่าวสด หนังสือพิมพ์มติชน หนังสือพิมพ์ผู้จัดการและหนังสือพิมพ์บางกอกโพสต์ ผลการวิจัยมีดังนี้ ภายหลังการเปลี่ยนแปลงการเมืองการปกครองในพุทธศักราช 2475 เป็นต้นมา ได้เปิดโอกาสให้สื่อกระแสหลักขยายตัว เช่นเดียวกับที่มีการก่อตั้งขึ้นของสื่อทางเลือก ซึ่งพัฒนาการสำคัญ 2 ประการของสื่อทางเลือกจากอดีตถึงปัจจุบันพบว่า ประการแรกได้แก่ รูปแบบการนำเสนอ โดยสื่อทางเลือกในยุคก่อนหน้านี้เป็นการตีพิมพ์ทฤษฎีการเมืองและการวิจารณ์รัฐบาล รวมถึงการวิพากษ์สังคมผ่านบทความ นวนิยายและเรื่องสั้นของตนเอง ขณะที่ปัจจุบันเช่นสำนักข่าวประชาธรรมมีความแตกต่างออกไป คือมีการเปิดพื้นที่ให้ประชาชนส่งเสียง รายงานเรื่องราวโดยตรง หรือคือการให้ประชาชนพูด ขณะที่สำนักข่าวประชาธรรมเป็นผู้รายงานเรื่องราว ประการที่สองได้แก่ การบริหารองค์กรที่อดีตเป็นการรวมหุ้นในหมู่ปัญญาชนผู้ทำสื่อ หรือมีทุนจากเอกชนสนับสนุนเปลี่ยนมาเป็นการกระจายให้ประชาชนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน สำนักข่าวประชาธรรมแม้จะมีจุดมุ่งหมายที่จะเป็นสำนักข่าวมืออาชีพ แต่ยังมีหลายๆ สิ่งที่แตกต่างจากสำนักข่าวแห่งอื่น สิ่งสำคัญประการหนึ่งคือการให้นิยามคำว่าข่าว ซึ่งมีความแตกต่างกับการนิยามคุณค่าข่าวของสื่อกระแสหลักเชิงพาณิชย์รวมถึงการบริหารจัดการและกระบวนการผลิตข่าวที่ยังไม่เข้มแข็ง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในขั้นแรก การเสนอขายสมาชิกที่เป็นสื่อกระแสหลักทั่วไปไม่มีการตอบรับมากนัก ในขั้นถัดมา การเปรียบเทียบการบรรณาธิกรณ์ข่าวระหว่างสำนักข่าวประชาธรรมและสมาชิกที่เป็นสื่อกระแสหลักพบว่า มีการทำงานโดยมีแรงกดดันจากสังคมที่แตกต่างกันอย่างมาก ตั้งแต่ปัจจัยภายใน ได้แก่ การจัดตั้งองค์กร แนวคิดนโยบายองค์กร การบริหารจัดการองค์กร การบริหารรายได้และบุคลากร รวมถึงมีความแตกต่างกันอย่างมากในด้านหลักเกณฑ์ทางวิชาชีพ ไม่ว่าจะเป็นมุมมองของบรรณาธิการและการคัดเลือกข่าว ภูมิหลังของนักข่าวซึ่งนิยามความเป็นมืออาชีพในการทำข่าวตามบรรทัดฐานขององค์กร และปัจจัยภายนอก ได้แก่ การแข่งขันในอุตสาหกรรมสื่อ รายได้จากการขายโฆษณา เจ้าของทุน ผู้อ่านและบริบททางสังคม การเมืองและเศรษฐกิจ เหล่านี้เป็นความแตกต่างกันระหว่างสื่อมวลชนเชิงพาณิชย์กับสื่อทางเลือก ด้วยลักษณะที่แตกต่างกันทั้งหมดข้างต้นนี้ ทำให้สำนักข่าวประชาธรรมไม่สามารถเข้าถึงสื่อสารมวลชนกระแสหลักได้มากนัก เนื่องจากสื่อกระแสหลักจะคัดเลือกข่าวเพื่อเผยแพร่ตามลักษณะและมาตรฐานทางวิชาชีพของตน ซึ่งไม่ตรงกับแนวคิดการทำข่าวทางเลือกของสำนักข่าวประชาธรรม |
Other Abstract: | The socio-political and economic contexts showed that freedom of the press in Thailand has often been curtailed. There was no true market place of ideas. Those who wish to communicate among themselves or express their ideas to the public must set up their own 'alternative press'. Today, Prachadharma News Agency (PNN) is one of the 'alternative press' whose aim is to disseminate news and information from the people's sector to the public in general. PNN acts as the mediator between the grassroots and its readers. The objectives of this research are two-fold. Firstly, the research investigates how and in what ways could PNN access the mainstream media. Secondly, the research evaluates how PNN attempt to achieve its objectives and expections. The research is a historical and organization research. The methods employed are documentation, interview and observation. In addition, content analysis of 4 major daily newspapers who subscribe to PNN were carried out to analyze how news produced by PNN were used in these papers. These are, Khao Sod, Matichon, Manager Daily and the Bangkok Post. After the revolution in 1932 (BE 2475) the political change opened the way for an expansion of the mainstream press as well as for the establishment of an 'alternative press'. The study showed that there are two major developments of the 'alternative press' during the past decades. 1. The previous generations of alternative press mainly published political theories and commentaries critical of the governments. They also expounded social realism in their literary columns, novels and short stories. The present alternative press, such as PNN, however, took a different step to open the space directly for the voice of the people in its news reports. Thus, the people speak while PNN narrates. 2. The set up of the news organizations in the past were based on contributions from intellectuals who published the journal or from business funding. PNN, on the contrary, employed a public co-operative strategy to set up the organization. The research finding showed that although PNN's aim is to be a professional news agency it has several short-comings. The principle one is in its definition on news which differs from the news values of the mainstream commercial press. In addition, there are weaknesses in the administration and the process of news production. As a result, there are few subscribers from the mainstream newspapers. In comparing between PNN and the 4 major dailies the research found that they differed a great deal in their organization set up, policy, administration, finance and personnel. The editorial and news selection, the background of the journalists which define how 'professional' a news organization is also differed tremendously. Finally, the externalities, such as, industrial competition, advertising revenue, publisher / owner, readers and the general socio-political and economic contexts also vary between the commercial press and the alternative press. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2546 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | การสื่อสารมวลชน |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/1013 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2003.742 |
ISBN: | 9741751826 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2003.742 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.