Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10212
Title: ตัวแปรที่สัมพันธ์กับการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร
Other Titles: Variables related to the adoption of computer-assisted instruction of secondary school teachers under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis
Authors: สุภาพร บุญปล้อง
Advisors: อรจรีย์ ณ ตะกั่วทุ่ง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Onjaree.N@Chula.ac.th
Subjects: คอมพิวเตอร์ช่วยการสอน
ครูมัธยมศึกษา
การยอมรับนวัตกรรม
นวัตกรรมทางการศึกษา
Issue Date: 2540
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของครูโรงเรียนมัธยมศึกษา (2) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของครูโรงเรียนมัธยม ศึกษา กับตัวแปร 3 ด้านคือ ด้านสถานภาพของครู ด้านการแสวงหาความรู้ และด้านการรับรู้ลักษณะและระบบการใช้งานของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และ (3) ศึกษาตัวแปรที่ร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนของ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างเป็นครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร จำนวน 392 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดกรมสามัญศึกษา กรุงเทพมหานคร มีการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนในระดับปานกลาง 2. ในการหาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทั้ง 3 ด้านกับการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง 5 ขั้น พบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 31 ตัว 3 อันดับแรกได้แก่ การขอคำแนะนำจากผู้อื่นหลังจากศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประโยชน์ด้านการเรียนการสอน และคอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีความกลมกลืนกับสภาพการเรียนการสอนแบบเดิม และพบตัวแปรที่มีความสัมพันธ์ทางลบอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 8 ตัว 3 อันดับแรก ได้แก่ การไม่มีประสบการณ์ด้านคอมพิวเตอร์ การไม่เคยศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน และการมีวุฒิการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า 3. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบปกติ (Enter Method) พบตัวแปรที่สามารถอธิบายการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนขั้นการรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้ และขั้นการยืนยัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 1, 2, 2, 3 และ 1 ตัว ตามลำดับ โดยตัวแปรทั้งหมดทุกตัวในแต่ละขั้นสามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนทั้ง 5 ขั้น ได้เท่ากับ 51.62%, 56.65%, 68.02%, 65.39 และ 51.7% ตามลำดับ และพบตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้ 3 ขั้น จำนวน 1 ตัว คือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีประโยชน์ด้านการเรียนการสอน 4. การวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบเพิ่มตัวแปรเป็นขั้น (Stepwise Method) พบตัวแปรที่สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอมรับคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ขั้นการรับรู้ ขั้นการจูงใจ ขั้นการตัดสินใจ ขั้นการนำไปใช้ และขั้นการยืนยัน ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 จำนวน 7, 5, 10, 9 และ 6 ตัว ตามลำดับโดยตัวแปรที่พบในแต่ละขั้นสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของการยอม รับคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้เท่ากับ 31.38%, 35.77%, 54.4%, 50.37% และ 38.45% ตามลำดับ และพบตัวแปรที่สามารถอธิบายความแปร
Other Abstract: The purposes of this research were (1) to study the adoption of computer-assisted instruction (CAI) of secondary school teachers (2) to study the relationships between the adoption of CAI of secondary school teachers and three categories of selected variables : teacher socioeconomic characteristics, acquisition of knowledge and perception of characteristics and systems of CAI and (3) to identify predictor variables in the adoption of CAI. The samples were 392 secondary school teachers under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis. The findings revealed that: 1. The secondary school teachers under the jurisdiction of the Department of General Education, Bangkok Metropolis adopted CAI in moderate level. 2. There were statistically significant positive relationships at .01 level between the adoption of CAI in five stages and 31 selected variables. The first three variables were: seek advice from others, usefulness of CAI in instruction and compatibility of CAI with traditional instruction. There were statistically significant negative relationships at .01 level between the adoption of CAI in five stages and 8 selected variables. The first three variables were: lack of computer experiences, no previous study about CAI and teachers with bachelor degree. 3. In multiple regression analysis (Enter Method) at .01 level, in knowledge stage, persuasion stage, decision stage, implementation stage, and comfirmation stage, there were 1, 2, 2, 3, 1 predictor variables together were able to account for 51.62%, 56.65%, 68.02%, 65.39% and 51.76% of the variance. The variables found in three stages were usefulness of CAI in instruction. 4. In stepwise multiple regression analysis at .01 level, in knowledge stage, persuasion stage, decision stage, implementation stage, and confirmation stage, there were 7, 5, 10, 9, 6 predictor variables together were able to account for 31.38%, 35.77%, 54.47%, 50.37% and 38.45% of the variance. The variables found in four stages were study CAI from journal or magazine paid by themselves, seek advice from others and usefulness of CAI in instruction.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2540
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: โสตทัศนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/10212
ISBN: 9746381148
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Supaporn_Bu_front.pdf909.9 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Bu_ch1.pdf1.02 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Bu_ch2.pdf1.74 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Bu_ch3.pdf895.23 kBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Bu_ch4.pdf3.33 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Bu_ch5.pdf1.26 MBAdobe PDFView/Open
Supaporn_Bu_back.pdf1.35 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.